xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามจับตา “มรกต” สตาร์ตแรงไต้ฝุ่นเต็มกำลัง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#3366FF>ภาพเอเอฟพีวันที่ 7 ส.ค.2552 ชายชาวไต้หวันในกรุงไทเป พยายามเดินฝ่ากระแสลมแรง อันเป็นอิทธิพลของไต้ฝุ่นมรกต ที่เดินหน้าเต็มสตีมผ่านเกาะแห่งนี้มุ่งเข้าาสู่แผ่นดินใหญ่จีน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาทุกแห่งในภูมิภาคได้ออกเตือนภัยระดับสูงสุด ขณะที่เวียดนามกำลังจับตาอย่างใกล้ชิดติดตามทิศทางการเคลื่อนตัว </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- หลายพื้นที่ของสองจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเวียดนามจมน้ำ อันเป็นผลพวงจากดีเปรสชัน “โกนิ” (Goni) พายุโซนร้อนที่อ่อนกำลังลง ประสานกับ “มรกต” (Morakot) ที่ออกตัวด้วยความเร็วลมระดับ CAT1 (Category 1) และกำลังถล่มเกาะไต้หวันในขณะนี้

องค์การความเสี่ยงจากพายุโซนร้อน (Tropical Storm Risk) ได้ออกคำเตือนถึงระดับ “แดง” (Red Alert) ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ให้ท้องถิ่นต่างๆ ตามทางผ่านของพายุมรกต เตรียมรับมือกับฝนตกหนักและลมแรง ซึ่งจะมีอำนาจการทำลายล้างสูง

ขณะเดียวกัน TSR พยากรณ์ว่า มรกตจะพัดขึ้นฝั่งจีนแผ่นดินใหญ่ในเช้าวันเสาร์ (8 ส.ค.) นี้ และมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

สำหรับเวียดนามศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทุกศาสตร์กลาง กำลังเฝ้าจับตามทิศทางการเคลื่อนตัวของไต้ฝุ่นมรกตอย่างใกล้ชิด สถานการณ์จะรุนแรงยิ่งขึ้นหากไต้ฝุ่นลูกนี้ยังไม่อ่อนกำลังลงหรือเคลื่อนตัวต่ำลงมุ่งสู่ชายทะเลภาคใต้ของจีนเข้าสู่เวียดนาม

วันพุธกับวันพฤหัสบดี (5-6 ส.ค.) ที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนักในหลายจังหวัดภาคเหนือเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสองจังหวัดที่อยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศ คือ กว๋างนีง (Quang Ninh) กับ นครหายฟ่อง (Hai Phong) ฝนได้ทำให้เกิดอุทกภัยขึ้นในเขตเมือง และกำลังอยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย รวมทั้งเรือหาปลาที่อยู่ในทะเลแถบนั้น

เจ้าหน้าที่กู้ภัยกำลังสำรวจความเสียหายรอบนอกของนครและจังหวัดดังกล่าว รวมทั้งความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในจังหวัดอื่นๆ ที่อยู่ติดชายแดนจีนด้วย
<br><FONT color=#cc00cc>อย่างบังเอิญ-- ภาพดาวเทียมจำลองขององค์การสมุทรศาสตร์และห้วงอวกาศแห่งชาติ (NOAA) ของสหรัฐฯ วันที่ 4 ส.ค.2546 แสดงให้เห็นพายุอีกลูกหนึ่งใช้ชื่อ มรกต เหมือนกัน กำลังอาละวาดเหนือเกาะไต้หวันในช่วงเดือนเดียวกันและวันเวลาไล่เลี่ยกัน มรกต ลูกนั้นพัดเข้าทำลายล้างแผ้นดินใหญ่จีนเสียหายยับ </FONT></bR>
เวียดนามกำลังได้รับอิทธิพลจากพายุทั้งสองลูกในแปซิฟิก แม้ว่า พายุโกนิ จะอ่อนกำลังลงกลายสภาพเป็นดีเปรสชันไปแล้วก็ตาม แต่มวลอากาศเย็นจากทางเหนือที่เคลื่อนตัวลงใต้ปะทะกับมวลอากาศร้อนในช่วงเดียวกันได้ทำให้เกิดฝนตกปกคลุมทั่วภาคเหนือตั้งแต่คืนวันที่ 4 ส.ค.เป็นต้นมา

ตามรายงานทางอีเมลของ TSR ที่ “ASTVผู้จัดการออนไลน์” ได้รับนั้น เวลา 09:36 น.วันศุกร์ที่ 7 ส.ค.นี้ พายุมรกตได้ทวีความเร็วที่ศูนย์กลางกว่า 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ ความเร็วลมในทะเลกว่า 80 น็อต ซึ่งเป็นความรุนแรงในระดับ 1 (CAT1)

ไต้ฝุ่นมรกตกำลังพัดถล่มเกาะไต้หวัน โดยมีเส้นเคลื่อนตัวมุ่งหน้าสู่แผ่นดินใหญ่จีน ซึ่งคาดว่าจะเข้าถึงฝั่งในอีกประมาณ 24 ชั่วโมงข้างหน้า

ที่ผ่านมา มีไต้ฝุ่นหลายลูกในทะเลจีนเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัว ทำให้แผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวียดนาม ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากไต้ฝุ่นมรกต

ไต้ฝุ่นอีกลูกหนึ่งที่ใช้ชื่อ “มรกต” เหมือนกัน และเกิดขึ้นในอาณาบริเวณเดียวกัน ในต้นเดือน ส.ค.2546 เช่นเดียวกีน ได้พัดเข้าถล่มภาคตะวันออกของจีน สร้างความเสียหายสุดคณานับ

แต่เดือน ก.ย.ปีที่แล้วไต้ฝุ่นฮาจูปิ๊ต (Hagupit) จากแปซิฟิก ได้อ่อนกำลังลงพัดเข้าสู่แผ่นดินใหญ่จีนก่อนจะหันหัวลงทิศตะวันตกเฉียงใต้ พัดกระหน่ำเข้ากรุงฮานอยเต็มๆ ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเมืองหลวงของเวียดนาม สร้างความเสียหายอย่างหนัก
<br><FONT color=#cc00cc>ภาพโดย VNExpress ฝนตกหนักคืนวันที่ 4 และวันที่ 5 ส.ค.ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตเมืองกว๋างนีง (Quang Ninh) --บน -- และ ในนครหายฟ่อง (Hai Phong) --ล่าง-- ทางตะวันออกสุดของประเทศ ซึ่งเป็นอิทธิพลโดยตรงจากพายุโกนิกับมรกต </FONT></bR>
เดือน พ.ย.2550 ไต้ฝุ่นฮาจีบีส์ (Hagibis) หันหัวกลับแบบ 180 องศา ขณะอยู่ห่างจากฝั่งไม่ถึง 200 กม.ตั้งหน้าจะเข้าถล่มภาคใต้เวียดนาม ทั้งนี้ เป็นอิทธิพลของไต้ฝุ่นอีกลูกหนึ่งที่กำลังก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของฟิลิปปินส์

เดือน พ.ย.2549 ไต้ฝุ่นทุเรียน (Durian) เปลี่ยนทิศทางกะทันหันบ่ายหน้าลงใต้อย่างฉับพลันขณะที่กำลังจะพัดถล่มเข้าภาคกลางตอนล่างเวียดนาม สร้างความเสียหายแก่เขตอู่ข้าวที่ราบปากแม่น้ำโขงอย่างรุนแรง เนื่องจากเตรียมรับไม่ทัน

ทุเรียนพัดทะลุทะลวงเข้าสู่อ่าวไทย ตีวงโค้งผ่านเขต จ.ชุมพร ไปสิ้นฤทธิ์ในใจกลางทะเลอันดามัน รวมเป็นระยะทางที่เคลื่อนตัวหลายพัน กม.และเต็มไปด้วยความน่าฉงนอย่างสุดคาดเดา จนถูกเรียกขานเป็น “เพอร์เฟกต์สตอร์ม” (Perfect Storm) อีกลูกหนึ่ง

ความรุนแรงและการทำลายล้างของพายุลูกนี้ ทำให้ไทยต้องถอดชื่อ “ทุเรียน” ออกสารบบชื่อของไต้ฝุ่น เนื่องจากเกรงว่าจะส่งภาพลบต่อผลไม้ส่งออกที่มีชื่อเสียงของไทย
กำลังโหลดความคิดเห็น