xs
xsm
sm
md
lg

รัสเซียเซ็นตกลงช่วยเวียดนามสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณู

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00cc>กลับถิ่นเก่า-- รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียกับเวียดนาม นายเซอร์เก ราฟลอฟ (Sergei Lavrov) กับ นายฝั่มซยาเคียม (Pham Gia Khiem) ร่วมเป็นสักขีพยานการเซ็นความตกลงความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติระหว่างหน่วยของสองประเทศ ในวันเสาร์ (25 ก.ค.) ที่ผ่านมาในกรุงฮานอย ระหว่างการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการเป็นเวลา 2 วันขชองฝ่ายรัสเซีย.</FONT></bR>

ASTVผู้จัดการรายวัน—รัฐบาลรัสเซียได้ตกลงให้ความช่วยเหลือเวียดนามอย่างเป็นทางการ ในการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขณะที่เวียดนามมีความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี และยังไม่สามารถผลิตได้พอกับความต้องการ นับเป็นครั้งแรกที่มีการตกลงเรื่องนี้ในระดับรัฐบาล นับตั้งแต่เวียดนามยอมถอนเตาปฏิกรณ์ของอดีตสหภาพโซเวียตออกไปจากศูนย์พลังงานปรมาณูเพื่อสันติเมืองดาลัท (Dalat) เมื่อสองปีก่อน

รัสเซียซึ่งหรือสหภาพโซเวียตในอดีตได้เคยเป็นกำลังสนับสนุนหลักของเวียดนาม ในการทำสงครามกับสหรัฐฯ ได้พยายามมาหลายปี ที่จะกลับเข้าไปมีบทบาทในประเทศนี้ในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์เวียดนาม ที่มีมูลค่ามหาศาล ขณะที่เวียดนาม กำลังอยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูสองหน่วยแรก ที่มีกำลังผลิตรวมกัน 4,000 เมกะวัตต์

สองฝ่ายได้ตกลงร่วมมือกันในหลายด้านในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของนายเซอร์เก ราฟลอฟ (Sergei Lavrov) รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งได้นำคณะเข้าพบหารือข้อราชการกับนายฝั่มยาเคียม (Pham Gia Khiem) รัฐมนตรีของฝ่ายเวียดนามในกรุงฮานอย ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวทางการ

อย่างไรก็ตาม "ทั้งฝ่ายเจ้าภาพและแขกกล่าวว่า ความร่วมมือด้านพลังงานมีความสัมพันธ์เป็นอันดับแรกในช่วงปีข้างหน้านี้" สถานีวิทยุกระจายเสียงเวียดนามรายงานผลการพบเจรจาบนเว็บไซต์ เมื่อวันอาทิตย์ (26 ก.ค.)

นายลาฟรอฟกับนายเคียมได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงในความตกลงร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเวียดนามกับหน่วยงานความร่วมมือด้านพลังงาน หรือ ROASATOM (Russia Atomic Energy Cooperation) ของรัสเซีย

หน่วยงาน ROSATOM ได้ออกแถลงใน เดือน พ.ค.2549 ระหว่างไปร่วมงานแสดงเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในกรุงฮานอย แสดงเจตนารมณ์ จะเข้าร่วมพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเวียดนาม รวมทั้งช่วยเวียดนามวิจัยศึกษาการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติต่อไป
<br><FONT color=#cc00cc>เหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 23 ปีความเสียหายทุกอย่างได้รับการแก้ไข ประเทศเกี่ยวข้องได้บทเรียน แต่เมื่อพูดถึงโรงไฟฟ้าปรมาณูโดยรัสเซียก็อดไม่ได้ที่จะต้องนึกถึงโรงไฟฟ่าเชรโนบีล (Chernobyl) ซึ่งเตาปฏิกรณ์หน่วยที่ 4 ระเบิดเมื่อปี 2529 พื้นที่สีแดงในแผนที่คือ อาณาบริเวณที่คนจะต้องไม่เข้าไปอยู่อาศัยชั่วนิจนิรันดร์ พื้นที่อื่นๆ เป็นเขตควบคุมลดหลั่นกันไปลงตามความรุนแรงของพิษกัมมันตะรังสี </FONT></bR>
"เราให้ความสนใจและพร้อมที่จะพิจารณาในภาคพลังงานนิวเคลียร์ของเวียดนาม รวมถึงข้อเสนอการก่อสร้างทางเทคนิค สำหรับศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ พร้อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทดลองขนาด 10 เมกะวัตต์"

หน่วยงาน ROSATOM ระบุในคำแถลง หลังจากเวียดนามได้เปิดเผยยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านพลังงานนิวเคลียร์และแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรกในอีก 5-6 ปีข้างหน้าโดยจะเปิดให้ต่างชาติเข้าประกวดราคาเพื่อเสนอลงทุนในโครงการ

เจ้าหน้าที่ของรัสเซียประกาศจะยื่นข้อเสนอทางด้านเทคนิคและวิชาการ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แห่งแรกของเวียดนาม ซึ่งกำลังจะเป็นแห่งแรกบนแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงจะร่วมมือช่วยเหลือหาแหล่งเงินทุนในการก่อสร้างอีกด้วย

ในงานแสดงดังกล่าวยังมีกลุ่มบริษัท Atomstroiexport จากรัสเซียเข้าร่วมด้วย นี่คือบริษัทลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย และในอิหร่าน สำนักข่าวเวียดนามกล่าว

ในเดือน ก.ย.2548 อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศ นายอเล็กซานเดอร์ เล็กเซเยฟ (Alexander Alexeyev) ได้ไปเยือนเวียดนามและประกาศผ่านคำแถลงฉบับหนึ่งของกระทรวง ระบุว่า ฝ่ายรัสเซียอาจจะให้ความช่วยเหลือเวียดนามในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

โครงการโรงไฟฟ้าปรมาณูของเวียดนามยังได้รับความสนใจจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่นกับฝรั่งเศส ซึ่งต่างก็มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า

<br><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายจากมุมบนเตาปฏิกรณ์หน่วยที่ 4 โรงไฟฟ้าเชรโนบีลหลังระเบิดไม่นานและหลังเพลิงสงบ มีผู้เสียชีวิตที่นั่น 56 คน แต่มีผู้ได้รับกัมมันตะรังสีราว 600,000 คน สภาพแวดล้อมเสียหายหนัก ฝนนิวเคลียร์ ส่งผลกระทบไกลถึงยุโรปเหนือและยุโรปตะวันออก นั่นคือเหตุการณ์ในเดือน เม.ย.2529 ที่ยังคงหลอกหลอนคนทั้งโลก</FONT></bR>
ก่อนหน้านั้นรัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้ประกาศเสนอความช่วยเหลือก่อสร้างสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมทั้งอินโดนีเซียด้วย ทั้งนี้เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันในการผลิตพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งขึ้นสูงลิ่ว

หน่วยงานและบริษัทเท็คโนโลยีจากญี่ปุ่นหลายแห่งได้เข้าร่วมงานแสดงเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในกรุงฮานอย ในเดือน พ.ค.2549 เช่นเดียวกัน

การเซ็นความตกลงร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่นในสัปดาห์นี้ จึงเป็นการประกาศตัวอย่างเป็นทางการของ ROSATOM หลังจากได้พยายามมาหลายปี

อย่างไรก็ตามระหว่างการเยือนของ รมว.ต่างประเทศรัสเซียสัปดาห์นี้ เวียดนามกับรัสเซียได้มีความตกลงร่วมมือกันอีกหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านการผลิตเครื่องจักรกล เทคโนโลยีด้านจักรกล การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในเวียดนาม รวมทั้งการศึกษา

สองฝ่ายแสดงความพอใจที่ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างกันมีความแนบแน่นตลอดมา และปรารถนาจะยกระดับให้สูงขึ้นไปอีก สำนักข่าวทางการเวียดนามวีเอ็นเอ (VNA) กล่าว โดยไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับขั้นตอนในกำหนดการดำเนินความร่วมมือด้านต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด
<br><FONT color=#cc00cc>โรงไฟฟ้าเชรโนบีลมองออกไปจากเมืองปริ๊บยัต (Pripyat) เมืองนี้ถูกปล่อยทิ้งมาตั้งแต่ 23 ปีก่อน อีกหลายเมืองที่อยู่รายรอบก็มีสภาพเช่นเดียวกัน.. สมมติ.. สมมติว่า เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเช่นนี้ขึ้นในเวียดนามอีกหลายปีข้างหน้า ทั่วทั้งภูมิภาคจะมีสภาพเช่นไร?  </FONT></bR>
นอกจากนั้นยังไม่มีการกล่าวถึงความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ หลังจากสื่อในรัสเซียรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่าเวียดนามกำลังเจรจาขอซื้อเรือดำน้ำที่ใช้แล้วจากรัสเซียจำนวนหนึ่งเพื่อนำเข้าประจำการในกองทัพเรือเวียดนาม ขณะที่กองทัพอากาศก็ได้เจรจาขอซื้อเครื่องบินรบแบบ SU35 จำนวนหนึ่งด้วย

เวียดนามกับรัสเซียได้ตกลงที่จะร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศในปีนหน้านี้ สื่อของทางการเวียดนามกล่าว

**ความร่วมมือกับศัตรูเก่าสหรัฐฯ**

สหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศคู่สงครามของเวียดนามตลอดเวลากว่า 20 ปีก่อนหน้านี้ เป็นอีกฝ่ายหนึ่งที่มีความตกลงร่วมมือช่วยเหลือเวียดนาม ในโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยประกาศเรื่องนี้ในต้นปี 2550

เวียดนามได้ยอมร่วมมือกับสหรัฐฯ หันไปใช้ธาตุยูเรเนียมเสริมพลังต่ำ (low-enriched uranium) ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพียงแห่งเดียวที่เมืองดาลัท จ.เลิมด่ง (Lam Dong) ซึ่งอยู่ในที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ เพื่อแลกกับการที่สหรัฐฯ จะช่วยสร้างโรงงานไฟฟ้าปรมาณูแห่งแรก

เวียดนามได้ตกลงจะส่งยูเรเนียมเสริมพลังเข้มข้น (enriched uranium) ที่ได้จากสหภาพโซเวียตเดิม คืนให้แก่รัสเซีย
<br><FONT color=#cc00cc>บริเวณเตาปฏิกรณ์ที่ 4 โรงไฟฟ้าเชรโนบีลปัจจุบันถูกปิดทับด้วยคอนกรีตความหนาหลายเมตร กลายเป็นสุสานไปชั่วนิรันดร เมื่อ 23 ก่อนที่นี่เคยปล่อยกัมมัตะรังสีออกสู่สภาพแวดล้อมมากกว่าระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโนชิมาประมาณ 400 เท่า </FONT></bR>
รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนามได้ตกลงเรื่องนี้ในการพบหารือกับนางคอนโดลีซซ่า ไรซ์ (Condoleezza Rice) อดีต รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ ระหว่างไปเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในเดือน มี.ค.2550 ทั้งนี้เป็นรายงานของวีเอ็นเอ (VNA) สำนักข่าวทางการเวียดนาม

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกคำแถลงในช่วงเดียวกันว่า กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ กับ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเวียดนาม ได้เซ็นความตกลง "เพื่อสร้างเสริมความมั่นคงปลอดภัยที่เตาปฏิกรณ์เพื่อการวิจัยในดาลัทกับสถานีวิจัยรังสีอีก 3 แห่งในเวียดนาม เพื่อปกป้องอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ มิให้ตกไปสู่มือของผู้ที่อาจจะนำไปใช้ในทางที่อันตราย"

ความร่วมมือกับเวียดนามในเรื่องนี้มีขึ้นขณะที่สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและเกาหลี กำลังมีความเป็นกังวลอย่างยิ่ง ต่อโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ

องค์การบริหารความปลอดภัยนิวเคลียร์สหรัฐฯ USNNSA (US National Nuclear Security Administration) จะปฏิบัติงานร่วมกับเวียดนาม เพื่อส่งคืน "ส่งเชื้อเพลิงที่ไปจากรัสเซียและเริ่มแปลงเตาปฏิกรณ์ที่รัสเซียให้ไป จากแบบยูเรเนียมเสริมพลังเข้มข้นเป็นยูเรเนียมเสริมพลังต่ำ" สหรัฐฯ ระบุในคำแถลงฉบับเดียวกัน.
กำลังโหลดความคิดเห็น