xs
xsm
sm
md
lg

พม่าฮึดฟื้นฟูท่องเที่ยวหาดเบงกอล 1 ปีหลังพายุพัดถล่ม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00cc>ภาพจาก Flickr.com หาดเงวซอง (Ngwe Saung) ทางตะวันตกของพม่า ในเวลาเที่ยงวันที่คลื่นลมสงบ หาดทรายขวาทอดยาวไปตามชายฝั่งทะเลเบงกอล ที่นี่ไม่ได้รับความเสียหายจากพายุนาร์กิสโดยตรง แต่นักท่องเที่ยวขวัญผวา ทุกฝ่ายกำลังพยายามฟื้นฟูให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง </FONT></br>

ASTVผู้จัดการรายวัน-- ธุรกิจโรงแรมกับรีสอร์ตในเขตหาดทรายริมทะเลเบงกองกำลังพยายามฟื้นฟูการท่องเที่ยวริมหาดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากไซโคลนนาร์กิส ในเดือน พ.ค.ปีที่แล้วทำให้ธุรกิจต่างๆ ซบเซาลง ขณะที่ทุกอย่างกำลังจะไปได้ดี

ผู้บริหารสมาคมโรงแรมที่นั่นบอกกับนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ "เมียนมาร์ไทมส์" ว่า การฟื้นฟูถนนจากกรุงย่างกุ้งไปยังเมืองพะสิม (Patein) จนถึงหาดเงวซอง (Ngwe Saung) และ หาดชองตา (Chaung Tha) เสร็จเรียบร้อยแล้ว

สิ่งปลูกสร้างในแหล่งท่องเที่ยวหาดทรายริมทะเลเบงกอลไม่ได้รับความเสียหายจากพายุนาร์กิสโดยตรง เพราะอยู่ห่างจากเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดีขึ้นไปทางเหนือ แต่ผลกระทบทางจิตวิทยาส่งผลทางลบต่อธุรกิจท่องเที่ยวรุนแรงยิ่งกว่า
<br><FONT color=#cc00cc>แผนที่แสดงอาณาบริเวณแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลเบงกอลในพม่า  </FONT></br>
สมาคมโรงแรมกำลังจัดเตรียมทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับฤดูการท่องเที่ยวปลายปีนี้ รวมทั้งการได้พยายามให้มีการขยายข่ายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปที่นั่นด้วย

นายโก๊ะเมียวลินซอ (Ko Myo Lin Zaw) ผู้ช่วยผู้จัดการโรงแรมเอมเมอรัลด์ซีรีสอร์ต (Emerald Sea Resort Hotel) ซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นบอกกับสื่อกึ่งทางการของพม่าว่า ช่วง 9 ปีมานี้แหล่งท่องเที่ยวริมหาดเบงกอลพัฒนาไปรวดเร็วมาก

ช่วงปี 2541-2542 ชาวบ้านแถบเงวซองที่จะเดินทางไปเมืองพะสิม จะต้องลงเรือไปเริ่มต้นที่หาดชองตาที่อยู่ถัดขึ้นไป จากนั้นจะใช้เวลาอีก 2 วันเดินเท้า เนื่องจากยังไม่มีถนนจัดเชื่อม แต่ปัจจุบันสามารถเดินทางไปกลับเมืองพะสิมได้วันละ 3-4 เที่ยวโดยรถจักรยานยนต์ นับตั้งแต่มีการสร้างถนนเชื่อมหาดกับตัวเมืองปี 2543 เป็นต้นมา

ปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างสถานีเครือข่ายโทรศัพท์แคลื่อนที่ระบบจีเอสเอ็ม เชื่อมพะสิมกับบริเวณหาดทราย ซึ่งที่ผ่านมาใช้โทรศัพท์พื้นฐานติดต่อกับตัวเมือง แต่ก็ให้บริการได้ตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าถึงสี่ทุ่มเท่านั้น เนื่องจากชุมสายจะต้องปิดลงตามเวลาที่ทางการหยุดให้บริการกระแสไฟฟ้า

ปัจจุบันสถานีเครือข่ายระบบจีเอสเอ็มในเมืองใช้เครื่องปั่นไฟของตัวเองตลอด 24 ชั่วโมง เช่นเดียวกับโรงแรมแห่งต่างๆ ริมหาดเงวซอง ชองตา และหาดงาปาลี (Ngapali) ที่อยู่ถัดขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตามโรงแรมกับรีสอร์ตหลายแห่งได้จำกัดเวลาให้บริการกระแสไฟฟ้า เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลที่พุ่งขึ้นสูงอีกรอบหนึ่ง หลายแห่งปั่นไฟเฉพาะช่วงเวลา หกโมงเย็นถึงหกโมงเช้าเท่านั้น บางแห่งเพิ่มเวลาให้ระหว่างบ่ายโมงถึงบ่ายสามของทุกวัน

สมาคมโรงแรมกล่าวว่า การขาดระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวริมหาดที่ยังคงบริสุทธิ์เป็นธรรมชาติ แม้ว่าถนนหนทางจะสะดวกมากขึ้นแล้วก็ตาม

เจ้าหน้าที่สมาคมโรงแรมหาดเงวซองอีกคนหนึ่งกล่าวว่า มีการหารือกับชุมสายโทรศัพท์ในพะสิม เพื่อหาทางติดตั้งเครื่องปั่นไฟที่นั่นตลอด 24 ชั่วโมง แทนที่โรงแรมทุกแห่งจะต้องปั่นไฟเองเพื่อการโทรคมนาคมสื่อสาร โดยสมาชิกสมาคมช่วยกันเฉลี่ยออกค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนธุรกิจลงได้อย่างมาก

สมาคมโรงแรมที่นั่นกล่าวอีกว่า หาดเงวซองมีศักยภาพอย่างสูงที่พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวริมทะเลระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีโรงแรมที่ให้บริการได้มาตรฐานโลก รวมทั้งมีภัตตาคารระดับหรู อาหารทะเลอร่อยและการคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้น และรัฐบาลกำลังเร่งสร้างสนามบินที่บริเวณใกล้กับหาดชองตาที่อยู่เหนือขึ้นไป
<br><FONT color=#cc00cc>ภาพจาก Flickr.com รีสอร์ตที่ดูสงบเงียบแห่งนี้ ซุกตัวอยู่ใต้ทิวมะพร้าวที่หาดเงวซอง ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางตะวันตก 200 กว่า กม.แต่ยังต้องใช้เวลาเดินทาง 4-5 ชั่วโมง</FONT></br>
เมื่อ ปี 2550 สมาคมโรงแรมเคยจัดรถบัสให้บริการระหว่างหาดทรายกับเมืองพะสิมและกรุงย่างกุ้ง บริการได้หยุดลงนับตั้งแต่พายุนาร์กิสพัดทำลาย ปัจจุบันกำลังพยายามฟื้นรถโดยสารขึ้นมาใหม่ เพื่อรับฤดูท่องเที่ยว

"ถนนช่วงย่างกุ้ง-พะสิม-เงวซองมีสภาพดีเหมือนเดิมแล้ว หลังการฟื้นฟูบูรณะ ขับรถจากย่างกุ้งไปยังหาดใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง ปัจจุบันเข้าถึงได้ทุกจุด" นายหลาเอ (Hla Aye) ผู้อำนวยการบริษัทท่องเที่ยวชานโยมา (Shan Yoma Travel) ในย่างกุ้งกล่าว

บริษัทท่องเที่ยวแห่งนี้กำลังเตรียมการร่วมกับสมาคมโรงแรมเงวซองกับพันธมิตรธุรกิจอื่นๆ เพื่อฟื้นฟูจัดนำเที่ยวหาดทรายโดยรถโค้ชอีกรอบหนึ่ง โดยจัดเป็นแพ็คเกจทัวร์สองคืนสามวัน ในฤดูท่องเที่ยวที่จะเริ่มประมาณเดือน ก.ย.ของทุกปี

นายเอกล่าวว่าต้นปี 2551 มีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวหาดริมทะเลเบงกอลจำนวนมาก แต่ทั้งหมดหยุดลงและหยุดนิ่งต่อมาอีกยาวนาน หลังพายุนาร์กิสพัดเข้าเขตที่ราบปากแม่น้ำ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายเกือบ 3 แสนคน
<bR><FONT color=#cc00CC>ที่เหงวซอง ชองตา (Chaung Tha) และ งาปาลี นักท่องเที่ยวยังหาความดื่มด่ำกับธรรมชาติที่สงบเงียบ กับชีวิตที่ราบเรียบของผู้คนในท้องถิ่นได้  </FONT></bR>
พายุนาร์กิสสร้างความเสียหายให้แก่การท่องเที่ยวของพม่าอย่างหนักซ้ำเติมสถานการณ์ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงมาเป็นลำดับหลังจากทางการได้ปราบปรามผู้เดินขบวนประท้วงอย่างรุนแรงในเดือน ก.ย.2550

ทางการพม่าเริ่มเข้าสำรวจพื้นที่ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2551เพื่อก่อสร้างสนามบินเงวซอง ในแผนการสนับสนุนการท่องเที่ยวทางทะเลและหาดทรายที่สวยงามริมฝั่งทะเลเบงกอลทั้งหมด แต่ยังไม่ทราบความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องนี้

ตามรายงานของนิตยสารข่าวเมียนมาร์ไทมส์ก่อนหน้านี้ พื้นที่ที่จะสร้างสนามบินอยู่ห่างจากบริเวณหาดเงวซองราว 1.5 กิโลเมตร

แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเปิดเผยว่าสนามบินเงวซองจะมีความกว้าง 2,256 เมตร ความยาว 4,570 เมตร โดยสร้างทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบินขนานกับชายฝั่งทะเล คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี
<bR><FONT color=#cc00CC>ภาพจาก Flickr.com ห่างจากเงวซองขึ้นไปทางเหนือเป็นหาดงาปาลี (Ngapali) มีที่พักเงียบสงบและสะดวกสบาย สวยงามไม่แพ้กัน </FONT></bR>
หาดเงวซองได้รับการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อปี 2542 แต่เนื่องจากขาดระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานทำให้การพัฒนาค่อนข้างล่าช้า และอยู่ไกลจากย่างกุ้งราว 230 กม. ส่วนใหญ่เป็นถนนที่ยังไม่ได้ลาดยาง

นักท่องเที่ยวจำนวนมากได้เลือกขึ้นเครื่องบินจากย่างกุ้งไปลงเมืองพะสิม (Patein) และเดินทางโดยรถยนต์เป็นระยะทางอีก 48 กม.ไปยังหาด

ปัจจุบันนักลงทุนทั้งชาวพม่าและชาวต่างชาติได้เข้าไปลงทุนสร้างโรงแรม รีสอร์ตระดับคุณภาพต่างๆ ตามหาดทรายหลายแห่ง ตั้งแต่เงวซอง ขึ้นไปยังชองตา และงาปาลี ซึ่งทำให้เกิดบริการต่างๆ ขึ้นมามากมาย นำรายได้เข้าถึงราษฎรในท้องถิ่น.
กำลังโหลดความคิดเห็น