xs
xsm
sm
md
lg

เขมรคึกคักก่อหวอดประท้วงรับ “มาร์ค” เยือน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#FF0000>ภาพรอยเตอร์วันที่ 10 เม.ย.2552 สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ยิ้มร่าขณะสัมผัสมือกับ นรม.ของไทย ในการหารือนอกรอบการประชุมผู้นำอาเซียนที่เมืองพัทยา โดยมี เศียรอสูรย์ ตั้งอยู่เบื้องหลัง นี่คือหนึ่งในโบราณวัตถุราว 28 ชิ้นที่ศุลกากรของไทยยึดได้ใน จ.ชลบุรี หลังถูกขโมยส่งลงเรือเพื่อนำไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อในประเทศที่สามและรัฐบาลกัมพูชาสามารถพิสูจน์แหล่งที่มาได้ </FONT></br>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- กลุ่มนักเคลื่อนไหวเตรียมตัวกันคึกคัก วางแผนตบเท้าประท้วงช่วงที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ไปเยือนในวันศุกร์ (12 มิ.ย.) ศกนี้ ขณะที่ผู้บัญชาการตำรวจกรุงพนมเปญ ออกเตือนให้ระวังการก่อความวุ่นวายในช่วงดังกล่าว และการประท้วงต้องได้รับอนุญาตจากทางการเสียก่อน

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ “เขมรสถาปนา” (Khmer Sthapana) วันพุธ (10 มิ.ย.) นายรงชุน (Rong Chhun) ประธานสมาคมครูอิสระแห่งชาติ ได้ยื่นหนังสือถึงทางการกรุงพนมเปญ แสดงเจตจำนงที่จะจัดชุมนุมประท้วงอย่างสงบ ระหว่างการเยือนของนายกรัฐมนตรีไทย ไม่ว่าจะได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม

ผู้นำของกลุ่มนี้วางแผนจะเข้ายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีไทย เพื่อเรียกร้องไห้ไทย “ยุติการยึดครองดินแดนของกัมพูชา”

“เราต้องการให้นายกรัฐมนตรีไทย สั่งถอนทหารออกจากกัมพูชา และทำให้สถานการณ์เป็นเหมือนเช่นก่อนวันที่ 15 ก.ค.2551” นายชุน ให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุเสียงอเมริกาภาคภาษาเขมร วันเดียวกัน ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ประมาณหนึ่งสัปดาห์ หลังจากก่อนที่องค์การยูเนสโก รับขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่เพียงฝ่ายเดียวของกัมพูชา ในวันที่ 7 เดือนเดียวกัน
<br><FONT color=#FF0000> ภาพเอเอฟพีวันที่ 1 พ.ค.2552 นายรงชุน (Rong Chhun) ซึ่งนอกจากจะเป็นประธานสมาคมครูเสรีแล้วก็ยังเป็นประธานสหพันธ์แรงงานกัมพูชาด้วย กำลังนำขบวนฉลอง เมย์เดย์ นักประท้วงอาชีพรายนี้กำลังวางแผนก่อการอีก ระหว่างการเยือนของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วันที่ 12-13 มิ.ย. ที่จะถึง </FONT><br>
อย่างไรก็ตาม นายแก๊ป จุ๊กเตมา (Kep Chuktema) ผู้ว่าราชการกรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ที่จะต้องต้อนรับการเยือนของผู้นำไทย กล่าวว่า การประท้วงจะไม่ช่วยแก้ปัญหาข้อพิพาทชายแดนระหว่างสองประเทศ

ทหารไทยได้เข้าประจำการใน “พื้นที่พิพาท” ประมาณ 4.5 ตารางกิโลเมตร รอบๆ ปราสาทพระวิหาร ซึ่งอยู่ในเขตสันปันน้ำของไทย ตามที่รัฐบาลไทยได้ยื่นหนังสือยืนยันในอำนาจอธิปไตยของไทยเอาไว้ ต่อศาลโลก ในกรุงเฮก หลังการตัดสินยกปราสาทพระวิหารให้รัฐบาลกัมพูชา ในเดือน มี.ค.2505 หรือเมื่อเกือบ 50 ปีมาแล้ว

พล.ท.โต๊จ นะรถ (Touch Naroth) ผู้บัญชาการตำรวจกรุงพนมเปญ กล่าวว่า ผู้นำของไทยกำลังจะเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ตำรวจจะไม่อนุญาตให้ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการขัดขวาง ทำให้อับอาย หรือเป็นการทำลายชื่อเสียงของรัฐบาลกัมพูชา หรือถ้าหากทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคมจะถูกลงโทษตามกฎหมาย

หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ กล่าวว่า ยังไม่สามารถขอความเห็นจาก นายเขียว กัญฤทธิ์ รัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าวกัมพูชา กับ นายกอยเกือง (Koy Kuong) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ บุคคลทั้งสองเป็นกระบอกเสียงสำคัญในการวิพากษ์วิจารณ์ประเทศไทยตลอดเวลาที่ผ่านมา
<br><FONT color=#FF0000>ภาพเแฟ้มเอเอฟพีเดือน ต.ค.2551 นักรบชุดดำ กลุ่มนี้สนทนากับทหารกัมพูชาในพื้นที่พิพาท 4.5 ตร.กม. รอบปราสาทพระวิหาร เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยที่ได้ยืนยันมาตลอดเวลา 47 ปี ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่อาจจะไม่เคยรู้เลยว่าที่นั่นเป็นดินแดนในเขตสันปันน้ำของไทย ซึ่งการจัดทำแผนที่เมื่อกว่า 100 ปีก่อนไม่ได้เคารพต่อกฎหมายระหว่างประเทศ </FONT></br>
นายอภิสิทธิ์ กำลังจะเยือนกัมพูชาเป็นเวลา 2 วัน นรม.ของไทยกำลังจะส่งมอบโบราณวัตถุอีก 7 ชิ้นให้แก่รัฐบาลกัมพูชา หลังจากที่เคยส่งมอบไปแล้วจำนวนหนึ่ง ระหว่างการเยือนไทยของสมเด็จฯ ฮุนเซน ในช่วงที่ไปร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนที่เมืองพัทยา

ผู้นำของไทยยังมีกำหนดการเข้าเฝ้าฯ กษัตริย์กัมพูชา สมเด็จนโรดมสีหมุนี ด้วย

เมื่อเดือนที่แล้วรัฐบาลกัมพูชา ได้ยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการถึงรัฐบาลไทย เรียกร้องให้ฝ่ายไทยจ่ายค่าเสียหายประมาณ 2 ล้านดอลลาร์ สำหรับสิ่งที่ฝ่ายนั้นกล่าวหาว่า เกิดจากการที่ทหารไทยยิงถล่มตลาดค้าขายชายแดนที่บริเวณทางขึ้นปราสาทพระวิหาร ในวันที่ 3 เม.ย.2552 ขณะเกิดการปะทะกันระหว่างทหารของสองฝ่ายที่บริเวณภูมะเขือ ห่างออกไปกิโลเมตรเศษ

ฝ่ายไทยได้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ตามข้อเรียกร้องของฝ่ายกัมพูชาก่อนจะมีการตัดสินใจใดๆ ในเรื่องค่าเสียหาย
กำลังโหลดความคิดเห็น