xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นต่อท่อ ODA รถใต้ดินฮานอยอีกสายได้เกิด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099> กลับมาอีกครั้ง-- วันอังคาร (31 มี.ค.) นายหวอห่มง์ฟุก (Vo Hong Phuc) รัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการลงทุน กับนายมิตสุโอะ ซากาบะ (Mitsuo Sakaba) เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำเวียดนาม ได้ร่วมลงนามในความตกลงช่วยเหลือมูลค่า 848 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาว</FONT></CENTER>

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มให้ความเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการหรือ ODA (Official Development Assistance) แก่เวียดนามอีกครั้งหนึ่ง หลังจาก "วิกฤติความเชื่อถือ" ได้รับการแก้ไข ซึ่งคราวนี้ยังรวมทั้งการช่วยเหลือก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าสายที่สองในกรุงฮานอยด้วย

ผู้แทนของสองประเทศคือ นายหวอห่มง์ฟุก (Vo Hong Phuc) รัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม กับนายมิตสุโอะ ซากาบะ (Mitsuo Sakaba)เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำเวียดนาม ได้ร่วมกันลงนามในความตกลงช่วยเหลือมูลค่า 83,000 หมื่นล้านเยน หรือ 848 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในนั้นส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาว

ส่วนใหญ่ของเงินกู้ก้อนนี้จะนำไปสมทบทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายของกรุงฮานอยสายที่ 2 อีกส่วนหนึ่งจะใช้ในโครงการสร้างระบบระบายน้ำเสียของเมืองหลวง ทั้งนี้ และโครงการก่อสร้างสะพานในชนบท กับการพัฒนาสภาพแวดล้อมในนครหายฟ่อง (Hai Phong) เป็นรายงานของสำนักข่าวทางการ

รัฐบาลญี่ปุ่นระงับความช่วยเหลือแก่เวียดนามตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่กรณีทุจริตโครงการก่อสร้างทางด่วนเลี่ยงเมืองในนครโฮจิมินห์ มูลค่าราว 600 ล้านดอลลาร์ ถูกสื่อในญี่ปุ่นเปิดโปง และศาลกรุงโตเกียวตัดสินจำคุกแต่รอลงอาญาผู้บริหารบริษัทที่ปรึกษาเอกชนแห่งหนึ่งฐานติดสินบนเจ้าหน้าที่เวียดนาม

รัฐมนตรีเวียดนามกล่าวเมื่อวันอังคาร (31 มี.ค.) ว่า กรณีดังกล่าวเป็นเหมือน "จุดเล็กๆ บนภาพขนาดใหญ่" ความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น และ ยืนยันว่าเวียดนามจะใช้จ่ายเงิน ODA ก้อนใหม่นี้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

นายทสึโน โมโตโนริ (Tsuno Motonori) ตัวแทนขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency) กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า JICA จะติดตามการดำเนินการโครงการของฝ่ายเวียดนามอย่างใกล้ชิดอีกทางหนึ่ง
<CENTER><FONT color=#660099> การสำรวจศึกษารถไฟฟ้าใต้ดินสายสองของกรุงฮานอยเริ่มเมื่อปลายปี 2550 ปัจจุบันทุกอย่างยังคงอยู่ในมโนภาพ ขั้นตอนต่อไปคือ ประกวดราคาจ้างบริษัทที่ปรึกษา ยังมีเวลาอีกหลายปีสำหรับการก่อสร้าง สายแรกกำหนดเปิดใช้ปลายปีหน้า  </FONT></CENTER>
สัปดาห์ที่แล้วศาลกรุงโตเกียวได้สั่งรอลงอาญานายมาสะโบชิ ทางะ (Masayoshi Taga) อดีตประธานบริษัทแปซิฟิกคอนซัลติ้งอินเตอร์เนชั่นแนล (Pacific Consulting International) หลังจากพบว่า ได้จ่ายเงิน 220,000 ดอลลาร์ให้แก่เจ้าหน้าที่เวียดนาม 2 คน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างทางด่วนสายเลี่ยงเมืองในโฮจิมินห์ เพื่อให้ PCI ชนะการประกวดราคาได้งาน

ก่อนหน้านั้นในเดือน ม.ค. ศาลในโตเกียวได้สั่งปรับบริษัทนี้เป็นเงิน 70 ล้านเยน และตัดสินใจคุกโดยรอลงอาญาอดีตผู้บริหารบริษัทนี้อีก 3 คน

กว่าครึ่งหนึ่งของเงินทุนที่ใช้ในโครงการทางด่วนอื้อฉาวดังกล่าวเป็นเงินช่วยเหลือแบบ ODA จากรัฐบาลญี่ปุ่น หนังสือพิมพ์ในกรุงโตเกียวได้รายงานเปิดโปงกรณีนี้ตั้งแต่เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว

ในเดือน ม.ค.ปีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจในนครโฮจิมินห์ได้จับกุมหัวหน้าโครงการฯ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งของนครใหญ่ศูนย์กลางเศรษฐกิจในภาคใต้ ฐานรับสินบนจากบริษัทเอกชนญี่ปุ่น และทำการสอบสวนผู้ต้องสงสัยอีกหลายคน
<CENTER><FONT color=#660099> เมื่อออกแบบโดย SYSTRA หน้าตารถไฟฟ้าฮานอยสายแรกจึงออกมาเป็นฝรั่งเศสแบบนี้  </FONT></CENTER>
ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศผู้บริจาค (Donor Countries) รายใหญ่ที่สุด ที่ให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามในช่วงกว่า 10 ปีมานี้ ได้งดการช่วยเหลือทุกอย่างระหว่างการประชุมร่วมกับรัฐบาลเวียดนามปลายปีที่แล้ว ซึ่งได้ทำให้เงินช่วยเหลือแบบ ODA ในปีนี้ลดวูบลง

ตามข้อมูลขององค์การเพื่อการพัฒนาแห่งฝรั่งเศส (Agence Francaise de Developpement) โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินกรุงฮานอย หรือที่เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า ระบบขนส่งมวลชนขนาดเบา (Light Rapid Transport) สายที่ 2 เริ่มการสำรวจศึกษามาตั้งแต่ปลายปี 2550 ด้วยความร่วมมือช่วยเหลือจากหลายหน่วยงาน รวมทั้งจากรัฐบาลฝรั่งเศสผ่าน AFDจากรัฐบาลญี่ปุ่น ผ่าน JICA จากธนาคารพัฒนาเอเชีย และธนาคารโลก มีกำหนดเปิดใช้ในปี 2557

สายที่ 2 นี้มีระยะทาง 15.2 กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าระยะทาง 42 กม. แนวเหนือ-ใต้จากโนยบ่าย (Noi Bai) ไปยัง อ.ห่าดง (Ha Dong) จ.ห่าเตย (Ha Tay) เมื่อก่อน ซึ่งถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวงเมื่อปี 2551 โครงการที่ใหญ่กว่านี้มีกำหนดเริ่มการก่อสร้างในปี 2563 แต่จำเป็นต้องสร้างส่วนที่ผ่านใจกลางเมืองหลวงเพื่อใช้การก่อน

ในเดือน ธ.ค.2549 ทางการกรุงฮานอยได้วางศิลาฤกษ์ลงมือก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน-บนดินสายที่ 1 มูลค่ากว่า 600 ล้านดอลลาร์ โดยมีระยะทาง 12.5 กม.จากชานเมืองด้านตะวันตกเข้าสู่สถานีรถไฟกลางของเมืองหลวงในปัจจุบัน ในนั้นมี 2.9 กม.จะต้องมุดลงใต้ดิน มีกำหนดเปิดใช้ในปี 2553 ปีที่จะมีการฉลองครบรอบปีที่ 1,000 ของนครทางลอง (Thang Long) ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบัน

รถไฟฟ้าใต้ดิน-บนดินสายแรก ศึกษาสำรวจและออกแบบโดยรัฐวิสาหกิจรถไฟ SYSTRA แห่งฝรั่งเศส ก่อสร้างโดยงบประมาณทางการกรุงฮานอย สมทบกับความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย รวมทั้งรัฐบาลฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เอดีบีและธนาคารโลก รวมมูลค่ากว่า 480 ล้านยูโร มีสถานีจอดบนพื้น 11 สถานี ใต้ดินอีก 4 สถานี.
กำลังโหลดความคิดเห็น