xs
xsm
sm
md
lg

อีก 20 ปีที่ราบใหญ่เวียดนามเข้าสู่ยุค Water World

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<FONT color=#3366ff> บรรยากาศของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฤดูกาลต่างๆ กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง มองไปยังอนาคตอีกเพียง 20 ปี จังหวัดต่างๆ ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงจะเข้าสู่กลียุค </font>

ASTVผู้จัดการรายวัน-- สถาบันวิจัยเกี่ยวกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงเวียดนาม ได้เผยแพร่ผลงานศึกษาวิจัยในสัปดาห์นี้ระบุว่า อีก 20 ปีข้างหน้าคือในปี 2573 ที่ราบอู่ข้าวอู่น้ำใหญ่ที่สุดของประเทศเกือบทั้งหมดจะจมอยู่ใต้น้ำทะเลราว 1 เมตร

ไม่เพียงแต่กำลังเกิดน้ำท่วมใหญ่ในฤดูน้ำหลากเท่านั้น แต่ในฤดูแล้งอาณาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศแห่งนี้จะเกิดความแล้งเข็ญไปทั่วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน สถาบันวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change Research Institute) มหาวิทยาลัยนครเกิ่นเทอ (University of Can Tho) ออกเผยแพร่ผลงานวิจัยชิ้นนี้ในวันพฤหัสบดี (19 มี.ค.)

ฤดูแล้งเข็ญในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงจะอยู่ระหว่างเดือน ม.ค.-ก.ค.ของทุกปี มีฝนตกน้อยหรือไม่มีเลย ตลอดเวลาเกือบครึ่งปี โดยช่วงแห้งแล้งอย่างรุนแรงที่สุดจะอยู่ระหว่างปลาย เม.ย.-ต้น พ.ค. กับ ปลาย ก.ค.-ต้น ส.ค. สถาบันดังกล่าวอ้างตัวเลขวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาหาศของโกทั้งในออสเตรเลียและในสหรัฐฯ

หมายความว่า ในเขตที่ราบอู่ข้าวใหญ่นี้จะทำนาได้เพียงครั้งเดียว หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวฤดูใหญ่ต้นปีแล้วเสร็จจะไม่สามารถทำนาได้อีก และ กลางปีก็จะเริ่มช่วงเดือนแห่งน้ำท่วมใหญ่ ไม่สามารถทำนาปีได้ตามปกติ จนกว่าจะถึงปลายปี

"ในปี 2570 ปริมาณน้ำฝนในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมจะลดลงราว 20% เทียบกับเมื่อปี 2523 การลดลงของปริมาณน้ำฝนกับฤดูฝนที่ล่าช้าออกไปจะทำให้เกิดช่วงฤดูแล้งยาวนานและเกิดความแล้งเข็ญ" รายงานระบุ
<CENTER><FONT color=#3366FF> เขตที่ราบปากแม่น้ำโขงมองจากห้วงหาว ทั่วอาณาบริเวณจะแล้งจัดในฤดูร้อนที่ยาวนานเกือบครึ่งปี น้ำท่วมสูงในหน้าฝน และ เขตอู่ข้าวใหญ่ที่สุดของประเทศจะทำนาได้เพียงฤดูเดียว มีเพียงป่าสงวนแห่งชาติสองแห่ง ใน จ.ด่งท๊าป กับ จ.ลองอาน เท่านั้นที่จะรอดพ้น น้ำท่วมโลก </FONT></CENTER>
น้ำฝนจะลดลง 25% กินพื้นที่กว้างขวางตั้งแต่เขตชายฝั่งทะเลอ่าวไทย จ.เกียนยาง (Kien Giang) และทะเลจีนใต้ด้าน จ.ก่าเมา (Ca Mau) กับเขตเขาใน จ.อานยาง (An Giang) และ เมื่อฤดูแล้งมาถึงจะมีพื้นที่เหลืออยู่น้อยนิด จะมีเพียงเขตป่าสงวนสองแห่งใน จ.ด่งท๊าป (Dong Thap) ที่รอดพ้นจากภัยแล้งเข็ญ

และเมื่อเข้าสู่ยุคแล้งเข็ญก็จะเป็นช่วงที่ระดับน้ำทะเลเอ่อล้น ขณะที่หิมะขั้วโลกละลายเข้าผสมโรง ระดับน้ำทะเลจะท่วมขึ้นสูงถึง 1 เมตร เอ่อเข้าไปถึงลำน้ำสาขาทุกสาย ทำให้เกิดน้ำท่วมกินอาณาบริเวณปากแม่น้ำโขงเกือบทั้งหมด

"น้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นนี้จะอยู่ในระดับเหนือการคาดคิดของมนุษย์และจะเห็นได้จริงในปี 2573 ปริมาณน้ำฝนในช่วงเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายนจะไม่ลดลงเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำฝนในปี 2523 หรือเมื่อ 20 ปีก่อน.. น้ำท่วมจะรุนแรงมากอันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น"

เมื่อน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 1 เมตร หลายจังหวัดในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงจะจมน้ำ หนักหน่วงมากที่สุดคือ จ.เบ๊นแจ (Ben Tre) ซึ่งกว่า 51% ของพื้นที่จังหวัดนี้จะจมอยู่ใต้น้ำ รองลงไปเป็น จ.ลองอาน (49.4%) และ นครเกิ่นเทอ ถูกท่วมน้อยที่สุด (24.7%)

จังหวัดที่ไม่เคยถูกน้ำท่วมเลยในปัจจุบันคือ ซ๊อกจาง (Soc Trang) กับ บั๊กเลียว (Bac Lieu) จะถูกปกคลุมด้วนน้ำทะเลกินอาณาบริเวณถึง 43.7% กับ 24.7% ของพื้นที่ ตามลำดับ และ นครโฮจิมินห์ที่อยู่เหนือขึ้นไป 43% ของตัวเมืองจะจมอยู่ใต้น้ำ

เมื่อเกิดความแห้งแล้งรุนแรง น้ำท่วมกินอาณาบริเวณกว้าง ก็จะทำให้เกิดพายุพัดกระหน่ำรุนแรงตามธรรมชาติและจะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง กระทบถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น เกิดความหิวโหยเนื่องจากผลิตอาหารได้น้อยลง เกิดโรคระบาด เกิดมลพิษ และความหลากหลายทางชีวะภาพในท้องถิ่นต่างๆ เสื่อมลง รายงานระบุ

อาหารสำคัญที่เคยผลิตได้ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทะเลและข้าว จะไม่สามารถผลิตได้อีก.
กำลังโหลดความคิดเห็น