xs
xsm
sm
md
lg

น้ำเค็มเริ่มทะลักเข้าเขตอู่ข้าวที่่ราบปากแม่น้ำโขง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 26 พ.ย.2552 ขณะรถกำลังแล่นอยู่บนสะพานข้ามคลองสายหนึ่ง ระหว่าง อ.แหร็กหยา (Rach Gia) จ.เกียนซยาง (Kien Giang) ไปยังนครเกิ่นเทอ (Can Tho) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงเต็มไประบบคูคลองที่สลับซับซ้อน ใช้ประโยชน์ทั้งด้านชลประทานและการคมนาคมขนส่ง คูคลองเหล่านี้เชื่อต่อกับแม่น้ำโขง เมื่อน้ำเค็มไหลเอ่อล้นขึ้นมาจากทะเลจีนใต้ ก็จะเข้าถึงเขตนาข้าวโดยตรง </FONT></bR>

เวียดนามเน็ต - เวียดนามจำเป็นต้องเลือกระหว่างการทำนาข้าวหรือการทำฟาร์มกุ้งสำหรับพื้นที่ทำเกษตรชายฝั่งในบริเวณที่ราบปากแม่น้ำโขงที่กำลังได้รับผลกระทบจากการรุกล้ำของน้ำทะเลตามแนวชายฝั่ง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรที่ทำอาชีพ 2 อย่างนี้ในอนาคต

หลายๆ จังหวัดเช่น บั๊กเลียว (Bac Lieu) เบ๊นแจ (Ben Tre๗ จ่าวีง (Tra Vinh) และ จ.โห่วซยาง (Hau Giang) ตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากระอักกระอ่วนใจเมื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเองก็ขาดน้ำกร่อยสำหรับการทำฟาร์ม ถ้าหากพวกเขาหยุดปั๊มน้ำทะเลเข้าฟาร์ม ในทางตรงกันข้าม หากไม่สร้างแนวกั้นน้ำเค็ม พื้นที่ปลูกข้าวจำนวนมากในท้องถิ่นต่างๆ ก็จะถูกน้ำทะเลท่วมเสียหาย

เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้เริ่มโครงการระบายน้ำเค็มออกจากพื้นที่หลายครั้งและสร้างทำนบกั้นน้ำจำนวนมากเพื่อป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำพื้นที่เกษตร ในขณะเดียวกันก็ต้องทำให้แน่ใจว่าเกษตรกรจะมีน้ำจืดเพียงพอสำหรับการปลูกข้าว แต่โครงการส่วนใหญ่ต้องชะลอการดำเนินการเนื่องจากขาดเงินทุนสนับสนุน

"จังหวัดเบ๊นแจ๋ จะได้รับผลกระทบจากปัญหานี้มากที่สุด โดยพื้นที่ทางการเกษตรเกือบ 50% คาดว่าจะถูกน้ำทะเลท่วมที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อนนี้" นางเจิ่นถิทูงา (Tran Thi Thu Nga) รองผู้อำนวยการฝ่ายเกษตรและพัฒนาชนบทประจำจังหวัดกล่าว

นอกจากนั้นน้ำทะเลยังได้รุกล้ำเข้ามาในคลองส่งน้ำของ จ.อานซยาง (An Giang) อีกด้วย

ในขณะเดียวกันพื้นที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่ใน จ.บั๊กเลียว (Bac Lieu) ได้รับความเสียหายจากน้ำเค็มที่เพิ่มขึ้นและท่วมขังมาเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ และคาดว่าน้ำเค็มจะรุกล้ำเข้าไปใน จ.โฮ่วซยาง ในช่วงหน้าแล้วของปี 2553 นี้ด้วย

ระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองต่างๆ ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหลายฝ่ายต่างคาดการณ์ว่าจะเกิดการขาดแคลนน้ำจืดในช่วงหน้าแล้งถัดไป เนื่องจากค่าเฉลี่ยของน้ำที่ไหลผ่านแม่น้ำโขงอยู่ที่ 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยมาตรฐานในแต่ละปีถึง 200 ลูกบาศก์เมตร

นายบุ่ยจี๋บือว์ (Bui Chi Buu) จากสถาบันวิทยาศาตร์ทางการเกษตรแห่งภาคใต้ ระบุว่า เกษตรกรราว 20 ล้านคนในภูมิภาคนี้กำลังเผชิญกับความแห้งแล้งและการรุกล้ำของน้ำเค็ม เนื่องจากภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเช่นนี้ ระดับน้ำทะเลในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงจะเพิ่มขึ้นอีก 65 ซม. และจะเข้าท่วมพื้นที่มากกว่า 5,100 ตารางกม. หรือ 12.8% ของพื้นที่ในอีก 40-50 ปีข้างหน้า.
กำลังโหลดความคิดเห็น