xs
xsm
sm
md
lg

ถามอีกที!! เพราะอะไร? ทำไมคนไทยดูถูกเพื่อนบ้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพแฟ้มสำนักข่าวเอเอฟพี อนุสาวรีย์มหาราชาทั้งสามพระองค์ใกล้กับเมืองหลวงเนย์ปีดอ รัฐบาลสร้างขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ เพื่อย้ำให้ชาวพม่าตระหนักว่าบรรพบุรุษของแผ่นดินนี้เคยยิ่งใหญ่เพียงไร ชาวพม่า 54 ล้านคนในปัจจุบันเป็นเจ้าของทรัพยากรมหาศาล ทั้งบนบกและในเขตน่านน้ำ  </FONT></CENTER>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- คนไทยชอบดูถูกเหยียดหยามเพื่อนบ้านของตัวเองจริงหรือไม่? ถ้าหากเป็นเรื่องจริง สิ่งนี้เป็นเพียงอคติส่วนตัว หรือมีสาเหตุจากรากลึกแห่งลัทธิชาตินิยม? คำถามเช่นนี้ได้ยินกันมานานและถกเถียงกันมาไม่เคยจบ

ผู้เชี่ยวชาญบางคนตั้งข้อสังเกตว่า คนไทยอยู่โดดเดี่ยวมานาน และปิดกั้นตัวเองจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกัน ก็หันไปคบค้าสมาคมชาติตะวันตกเป็นส่วนใหญ่

ในยุคสงครามเย็นอันยาวนาน (คริสต์ทศวรรษที่ 1950-1980) ชาวไทยส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ความเป็นไปในประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิ้นเชิง โดยถูกครอบงำจากการโฆษณาชวนเชื่อของโลกตะวันตก รัฐบาลไทยหันไปร่วมมือต่อต้านระบอบคอมมิวนิสต์ ที่อยู่ริมรั้วบ้านอย่างหัวชนฝา

สงครามในลาว เวียดนาม และ กัมพูชา กับการปกครองระบอบทหารในพม่า ได้ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้พัฒนาช้ากว่า และไทยกลายเป็นประเทศที่เข้มแข็งมากกว่าทางเศรษฐกิจ เมื่อสงครามอินโดจีนสิ้นสุดลง การเปรียบเทียบความมั่งคั่งร่ำรวย ระหว่างชาวไทยกับเพื่อนบ้าน ได้เกิดขึ้น และนำมาสู่การดูหมิ่นดูแคลน

แต่ในยุคโลกไร้พรมแดน ท่ามกลางการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสาร หลายปีมานี้ชาวไทยจำนวนมากได้รับรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น ได้ตระหนักดีว่าภายใต้ระบอบเผด็จการทั้งในรูปคณะปกครองทหาร และเผด็จการรัฐสภาของบรรดานักเลือกตั้ง หรือ การปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ อนุภูมิภาคนี้ก็ยังมีประชาชนอีกกว่า 100 ล้านคนต่อสู้ดิ้นรนเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความรักชาติ และพิทักษ์ปกป้องแผ่นดินเกิด
<CENTER><FONT color=#FF0000> บนเส้นทางจากท่าอากาศยานวัดไตเข้าสู่ตัวเมือง มีสวนสาธารณะและอนุสาวรีย์ของเจ้าฟ้างุม ปฐมบรมกษัตริย์ซึ่งเมื่อนับพันปีก่อนได้รวมชาวลาวแว่นแค้วนต่างๆ ให้เป็นปึกแผ่นและก่อตัวขึ้นเป็นอาณาจักรจนพัฒนาเข้าสู่ยุคใหม่ซึ่งชาวลาวผู้รักสันติต้องลุกขึ้นทำสงครามเพื่อเอกราชมาอย่างโชกโชน </FONT></CENTER>
ชาวไทยเริ่มรับรู้ว่า เพื่อนบ้านของเราล้วนร่ำรวยด้วยมรดกวัฒนธรรม มีอารยธรรม มีภาษาเป็นของตนเอง มีรากเหง้าที่หยั่งรากลึกลงไปในประวัติศาสตร์ ร่วมยุคร่วมสมัยกับชาวไทยทั้งมวล ประชาชนในอนุภูมิภาคนี้ผ่านมาทั้งยุคสงคราม และสันติภาพ ยุคแห่งความโดดเดี่ยวและความร่วมมือ

ในวันนี้ชาวไทยจำนวนมากได้รับรู้ว่า เพื่อนบ้านของเราส่วนใหญ่ยังคงดำรงชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก แต่ในขณะเดียวกัน อนุภูมิภาคนี้ก็ร่ำรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และทุกคนมีโอกาสที่จะร่ำรวยเคียงบ่าเคียงไหล่กัน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

นักวิชาการบางคนมองในมุมกลับว่า แท้จริงแล้วชาวไทยเราต่างหากที่เป็น “ผู้แปลกปลอม” ในอนุภูมิภาค

สภาพการณ์เช่นนี้ คล้ายๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีในยุคใหม่ได้ตั้งคำถามว่า ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างนี้ “ใครกันแน่ที่พูดสำเนียงเหน่อๆ?” พี่น้องชาวสุพรรณฯ? คนเมืองกาญจน์? ชาวนครปฐม? เมืองเพชรฯ? หรือว่า คนกรุงเทพฯ กันแน่?

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต เคยกล่าวว่า “บางทีอาจจะถึงเวลาที่ชาวไทยจะต้องเรียนรู้ว่า การเป็นพลเมืองไทยเพียงอย่างเดียวไม่พอ แต่ยังจะต้องเป็นพลเมืองของภูมิภาคนี้ด้วย”
<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพจากพิพิธภัณฑ์สงครามในกรุงฮานอย คุณแม่ผู้ชราสวมหมวกให้ลูกชายที่กำลังจะออกรบโดยไม่รู้ว่าจะได้กลับไปพบกันอีกหรือไม่ ชาวเวียดนามมีวีรประวัติเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก ชนชาตินี้กล้าต่อสู้กล้าเอาชนะอุปสรรคทุกอย่างเพื่อเอกราชและการรวมประเทศชาติให้เป็นหนึ่งเดียว  </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#FF0000> ซากเครื่องบินรบสหรัฐฯ ที่ถูกฝ่ายเวียดนามเหนือยิงตกกองพะเนินที่พิพิธภัณฑ์สงครามในกรุงฮานอย นี่เป็นเพียงผลงานเล็กๆ ของนักรบตัวเล็กๆ ที่หาญกล้าต่อสู้กับกองทัพของมหาอำนาจที่เหนือกว่าในทุกๆ ทาง</FONT></CENTER>
เพราะฉะนั้นเป็นพลเมืองของกรุงเทพฯ อย่างเดียวคงจะไม่พอ ชาวกรุงยังจะต้องเรียนรู้เพื่อเป็นพลเมืองของทั้งภาคกลาง พอๆ กับการเป็นพลเมืองของประเทศไทย

โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) กำลังจะจัดการประชุมสัมมนานัดหนึ่งเกี่ยวกับอุษาคเนย์ศึกษา ภายใต้หัวเรื่อง “อคติที่แอบแฝงสู่ความขัดแย้งที่ไม่รู้จบ” งานจะจัดขึ้นที่หอประชุมศรีบูรพา (หอเล็ก) วันที่ 30 ม.ค.นี้

“ลัทธิชาตินิยมถือเป็นตัวแปรสำคัญในการจุดชนวนความขัดแย้งที่แอบแฝงไว้ด้วยค่านิยมเชิงอคติต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยการตั้งตนเป็นศูนย์กลางแล้วดูถูกประเทศรอบข้างว่าขาดความเป็นอารยะอยู่ในฐานะที่ต่ำต้อยกว่า..” นี่คือ ตอนหนึ่งว่าด้วยหลักการเหตุผลการจัดสัมมนาครั้งนี้
<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพสลักนูนต่ำบนผนังปราสาทบายนซึ่งชาวเขมรในปัจจุบันปลื้มไม่รู้จบ จารึกได้อธิบายว่านี่คือกองทหารจีนที่ไปช่วยชาวนครวัดรบกับกองทัพจัม หรือจามปาในอดีต ชาวกัมพูชาในยุคใหม่ได้ผ่านช่วงประวัติศาสตร์แห่งความยากเข็ญกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อันเหี้ยมโหด ยากที่ชนชาติอื่นๆ จะเข้าใจถึงความเจ็บปวด  </FONT></CENTER>
ผู้จัดยังระบุอย่างตรงไปตรงมาว่า “สื่อมวลชนถือเป็นกระบอกเสียงสำคัญในการเผยแพร่ลัทธิชาตินิยม โดยส่วนใหญ่มักมีการชักใยโดยเจ้าหน้าที่ภาครัฐอยู่เบื้องหลัง เพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเมืองจนกระทั่งละเลยในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ..”

“..ด้วยการนำเสนอข่าวสารที่บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง โดยพยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศของตนเอง ขณะเดียวกัน ก็กลับยัดเยียดความเป็นศัตรูให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน จนท้ายที่สุดประชากรของประเทศคู่กรณีกลับตกอยู่ในฐานะของเหยื่อที่บาดหมางกันโดยไม่ได้ตั้งใจ”

จริงไม่จริงอย่างไรอาจจะหาคำตอบได้จากการสัมมนา ที่เชิญผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนเป็นองค์ปาฐก รวมทั้ง ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี อ.สุนัย ผาสุข จากองค์กรพัฒนาภาคเอกชน และ กวี จงกิจถาวร นักหนังสือพิมพ์จากค่าย The Nation ที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับภูมิภาคนี้

อ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ กับ อ.วิโรจน์ ตั้งวาณิช ดำเนินรายการ อาจจะสอบถามรายละเอียดอื่นๆ ได้ที่ 087-269-0986 และ 082-581-8498 หรือ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา 02-613-2672
กำลังโหลดความคิดเห็น