xs
xsm
sm
md
lg

ค้าไทย-ลาวรุ่งงานสินค้าวัดธาตุหลวงใกล้เข้ามา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366FF> ภาพจากแฟ้มเดือน พ.ย.2550 ชาวลาวหลายแสนคนจากทั่วประเทศเข้าร่วมงานนมัสการไหว้พระธาตุหลวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองซึ่งจัดประจำทุกปีคู่กับงานแสดงวสินค้าที่ศูนย์แสดงสินค้าลาว-ไอเท็ค เปิดโอกาสให้เจ้าของสินค้า ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยได้เข้าทดลองตลาดที่มีกำลังซื้อสูง </FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน-- การค้าระหว่างไทยกับลาวมีอนาคตไกลขยายตัวไม่หยุด โดยในระหว่างเดือน ม.ค.-ส.ค.ปีนี้ มูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 1,632 ล้านดอลลาร์หรือ 52,9000 ล้านบาท หรือ ขยายตัวถึง 46.92% โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง

สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยได้ป่าวประกาศแต่เนิ่นๆ ให้ผู้ผลิต เจ้าของสินค้าไทย เตรียมร่วมงานแสดงสินค้าเนื่องในโอกาสบุญนมัสการพระธาตุหลวงเวียงจตันทน์เดือนหน้า

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการของสำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในลาว การส่งของไทยมีมูลค่า 1,212.2 ล้านดอลลาร์ หรือ 39,162.9 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้น) ขยายตัว 44.25%

ขณะเดียวกันไทยนำเข้าจากลาวเป็นมูลค่า 419.9 ล้านดอลลาร์ (13,798.0 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 55.22% ไทยยังคงเกินดุลการค้ากับลาวเป็นมูลค่า 792.3 ล้านดอลลาร์ (25,264.9 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 39.02%

นายเฉลิมพล พงศ์ฉบับนภา อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ สถานทูตไทย กล่าวว่า การส่งออกไปลาวไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติซับไพรม์และปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐกับสหภาพยุโรป คาดว่าการส่งออกตลอดปี 2551 นี้จะขยายตัวถึง 40% เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 25% และ ในปี 2552 เป้าหมายส่งออกไปยังลาวคือ ขยายตัว 30%
<CENTER><FONT color=#3366FF> สังคมคอมมิวนิสต์ลาวเริ่มเปลี่ยนอย่างช้าๆ เป็นสังคมการค้าการขาย ขณะที่ทางการได้นำเอาเศรษฐกิจแบบตลาดไปใช้ในการพัฒนาประเทศ </FONT></CENTER>
สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ผ้าผืน เคมีภัณฑ์ ยานพาหนะอื่นๆ และส่วนประกอบ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ซีเมนต์ และผลิตภัณฑ์ยางฯลฯ

สินค้าที่สำคัญที่นำเข้าจากลาว ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เชื้อเพลิงอื่นๆ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ลวดและสายเคเบิล ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ถ่านหินฯลฯ นายเฉลิมพลกล่าว

อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ฯ กล่าวว่ามีหลายปัจจัยที่หนุนส่งทำให้การค้าไทย-ลาวขยายตัวในระดับสูงมาก เช่น ระบบการค้า การส่งออกและการนำเข้าที่พึ่งพาตลาดไทย เวียดนามและจีนเป็นหลัก

ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศหรือ GDP ของลาวเติบโต 7.8–8.0% ในปีนี้ และในปี 2552 คาดว่าขยายตัวถึง 8.2% ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับสูง

ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เงินกีบที่แข็งค่าจากเดิมอัตราแลกเปลี่ยน 268–270 กีบต่อบาท ในปัจจุบันอัตราอยู่ระหว่าง 250–254 บาทต่อกีบ ซึ่งนายเฉลิมพลกล่าวว่าจะทำให้การนำเข้าของลาวขยายตัวอีก

หากทำให้ระบบการนำสินค้าเข้าออกผ่านด่านระหว่างสองประเทศมีความสะดวกคล่องตัวมากเท่าใด มีการยกระดับฐานะด่านบริเวณชายแดนไทย–ลาวให้มีความเท่าเทียมมากขึ้น จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกมากขึ้น

ปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำ 10 โครงการ ตามแผนทำให้ลาวเป็น "แบตเตอร์รี่แห่งเอเชีย" และยังมีโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ที่อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้อีกประมาณ 79 โครงการ

โครงการด้านพลังงานไฟฟ้าได้ช่วยเคลื่อนเศรษฐกิจมหภาคของลาว ที่จะมีผลต่อการนำเข้าอุปกรณ์ด้านการก่อสร้างจากประเทศไทยจำนวนมาก นายเฉลิมพลกล่าว

ปัจจุบันในลาวยังมีโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างกว้างขวาง เช่นการปรับปรุงถนนในนครเวียงจันทน์ เพื่อเตรียมเฉลิมฉลองครบรอบ 450 ปีในปี 2553 มีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคม และสนามบินในแขวงต่างๆ การลงทุนด้านสนามกอล์ฟ ทำให้ความต้องการใช้วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างมีแนวโน้มสูง
<CENTER><FONT color=#3366FF> ภาพถ่ายวันที่ 30 มี.ค.2551 ศูนย์แสดงสินค้าลาว-ไอเท็คในยามบ่ายแดดจัดมีรถจอดเรียงราย ในช่วงเดือนที่กำลังมีงานนิทรรศการสินค้า ที่นี่กำลังจะคึกคักอีกครั้งหนึ่งในเดือน พ.ย.นี้ ช่วงบุญนมัสการพระธาตุหลวง </FONT></CENTER>
ปัจจุบันได้มีการเปิดเส้นทางยุทธศาสตร์ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก หรือ EWEC (East-West Economic Corridor) และแนวเหนือ-ใต้ หรือ NSEC (North-South Economic Corridor) เพื่อทำให้ลาวเป็นดินแดนเชื่อมต่อ (Land Bridge) ของอนุภูมิภาคอินโดจีน เชื่อมเศรษฐกิจเข้ากับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย–ลาวแห่งที่ 3 (นครพนม-ท่าแขก) ตลอดจนการเปิดใช้เส้นทางรถไฟสายหนองคาย– ท่านาแล้ง ได้ทำให้เกิดกิจกรรมทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ลอจิสติกส์และธุรกิจ อย่างต่อเนื่อง เพิ่มรายได้ให้แก่ลาว การค้าบริเวณชายแดนจะคึกคักมากขึ้น เป็นผลดีต่อการค้าสองฝ่าย

ในปี 2552 ลาวจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์จึงมีความต้องการต้องการสินค้า อุปกรณ์ และการก่อสร้างมากขึ้น

นอกจากนั้นปีนี้เกิดภาวะน้ำท่วมได้รับความเสียหายมากเป็นประวัติการณ์ พืชสวนไร่นาเสียหายมาก ทำให้ขาดแคลนพืชพรรณธัญญาหาร จะต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวนมาก นายเฉลิมพลกล่าว

การท่องเที่ยวของลาวยังขยายตัวในระดับสูง จากเมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้ มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้า 7–8 แสนคน แต่ในปี 2551 คาดว่าจำนวนจะมีประมาณ 1.3 ล้านคน ซึ่งจะทำให้การกินการใช้ของนักท่องเที่ยวมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
<CENTER><FONT color=#3366FF> ทางเข้าศูนย์ลาว-ไอเท็คมียวดยานวิ่งเข้าออกตลอดเวลาระหว่างงานแสดงสินค้าในเดือน มี.ค.ปีนี้  </FONT></CENTER>
** งานแสดงสินค้าบุญวัดธาตุหลวง **

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเวียงจันทน์ ออกคำแถลงฉบับหนึ่งเชิญชวนผู้ผลิตสินค้าในประเทศไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่อาคารแสดงสินค้าลาวไอเท็ค (Lao International Trade Exhibition and Convention Center)ระหว่างวันที่ 8–16 พ.ย.นี้ เนื่องในเทศกาลบุญนมัสการพระธาตุหลวง

งานนี้จะมีการแสดงและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น อาหาร ของขวัญของชำร่วย เครื่องใช้ในครัวเรือน สินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องหนัง และอัญมณี ธุรกิจบริการ สปา การศึกษาและสินค้าอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล และวัสดุก่อสร้าง

งานแสดงสินค้าเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตจากโรงงาน ผู้ส่งออก และ ผู้ประกอบการ SMEs และสินค้า OTOP ออกไปทดลองตลาดหรือวางแสดง-จำหน่ายในลาว ซึ่งปัจจุบันประชาชนก็มีกำลังซื้อมากขึ้น และสินค้าไทยได้รับความนิยมในฐานะเป็นสินค้าระดับคุณภาพ

ผู้สนใจสามารถติดต่อจองคูหาที่กรมส่งเสริมการส่งออกโทรศัพท์ 081-820 4551 หรือ 02 -512 0093 ต่อ 254 ในราคาคูหาละ 15,000 บาท.
กำลังโหลดความคิดเห็น