xs
xsm
sm
md
lg

พิพาทพรมแดน..เขมรโกรธไทยกว่าเวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000>  ภาพจากแฟ้มวันที่ 14 ก.ค.2551 กัมพูชาจัดชุมนุมยิ่งใหญ่ที่สนามกีฬาแห่งชาติ เพื่อฉลองอย่างเป็นทางการในโอกาสที่ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็นชัยชนะเหนือการก้าวร้าวรุกรานของ พวกสยาม มวลชนถือธงชาติชูรูปภาพของผู้นำ แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหากมีกรณีพิพาทใดๆ เกิดขึ้นกับเวียดนาม สาธารณชนจะถูกปิดกั้นข่าวสารและไม่อนุญาตให้วิพากษ์วิจารณ์ (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน -- ผู้สังเกตการณ์การเมืองในกัมพูชา กล่าวว่า กรณีพิพาทพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งชายแดนด้านตะวันออก คือ เวียดนาม กับชายแดนทางตะวันตก คือไทย ชาวกัมพูชาล้วนมีเลือดรักชาติไม่ต่างกัน แต่รัฐบาลใช้สองมาตรฐานสำหรับเรื่องเช่นนี้

กล่าวคือ รัฐบาลจะอนุญาตให้ทุกฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์หรือกระทั่งก่นด่าประเทศไทยได้อย่างเต็มที่ แต่สำหรับเวียดนาม.. ไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้น

“พวกเขาห้ามการแสดงความคิดเห็นใดๆ เมื่อเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นเกี่ยวกับเวียดนาม” ดร.เสียน เป็งสี (Sean Pengse) สมาชิกคนหนึ่งในคณะกรรมการชายแดนของชาวกัมพูชาในกรุงปารีสกล่าวกับวิทยุเสียงอเมริกาวันพุธ (18 ก.ย.) ที่ผ่านมา

“พวกเขาอนุญาตให้วิจารณ์ได้ (กรณีเกี่ยวกับไทย) แต่กับเวียดนาม รัฐบาลไม่อนุญาตให้พูด” ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพรมแดนของประชาคมชาวเขมรโพ้นทะเล กล่าว

กัมพูชา และ ไทย ได้เผชิญหน้ากันทางทหารที่ชายแดนด้านเขาพระวิหารอย่างน่าสะพรึงกลัวในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.ที่ผ่านมา ในกัมพูชามีการระดมพลังมวลชนเพื่อคัดค้านสิงที่เรียกว่า “การรุกรานของพวกสยาม” อย่างเต็มที่

โทรทัศน์บายนที่บริหารโดยบุตรสาวคนหนึ่งของนายกรัฐมนตรีสมเด็จฯ ฮุนเซน ระดมเงินบริจาค รวมทั้งข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ส่งไปช่วยทหารในแนวหน้า

นายฟายสีฟาน (Phai Siphan) โฆษกคณะรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวว่า จะนำความขัดแย้งนี้กลับเข้าสู่การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอีกครั้งหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาในระดับพหุภาคี แทนการเจรจาสองฝ่ายที่กัมพูชามองว่าล่าช้าและไม่ได้ผล

ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนในโพ้นทะเล รวมทั้งนักการเมืองฝ่ายค้าน กล่าวว่า รัฐบาลสมเด็จฯ ฮุนเซน ได้ยก “ดินแดนพิพาท" ให้กับเวียดนามไปจำนวนมากในช่วงปี 2549-2550 ที่สองฝ่ายเจรจาทำอนุสัญญาและพิธีสารเพิ่มเติมในสัญญาปักปันเขตแดนเมื่อหลายปีก่อน

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวผ่านสื่อในกัมพูชา ว่า ชายแดนบางช่วงระหว่าง จ.ไตนิง (Tay Ninh) เวียดนาม กับ จ.สวายเรียง (Svay Rieng) ของกัมพูชา มีลำน้ำเป็นเขตแดนธรรมชาติ ต่อมาน้ำได้กัดเซาะเข้าฝั่งกัมพูชา กินเนื้อที่หลายตารางกิโลเมตร รัฐบาลสมเด็จฯ ฮุนเซน ไม่ปริปากใดๆ และในที่สุดก็ได้ยกดินแดนที่ถูกกัดเซาะให้เวียดนามไป

สมเด็จฯ ฮุนเซน เคยออกตอบโต้การกล่าวหาอย่างเผ็ดร้อนและท้าให้ไปพิสูจน์ รวมทั้งได้ข่มขู่จะดำเนินคดีแก่ผู้กล่าวหาฐานหมิ่นประมาทอีกด้วย

สื่อของรัฐรวมทั้งสื่อมวลชนในประเทศนี้ ได้ออกวิจารณ์การสูญเสียดินแดนให้แก่เวียดนามน้อยมาก รัฐบาลไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดๆ เกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาวนี้

พรรคประชาชนกัมพูชาในปัจจุบัน ได้กลายมาจาก “พรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา” อันเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่เวียดนามตัดตั้งขึ้นในปี 2522 หลังยกกองทัพมหึมาเข้าขับไล่ระบอบเขมรแดงออกจากกรุงพนมเปญ

สมเด็จฯ ฮุนเซน เป็นนายกรัฐมนตรีมา 23 ปี ตั้งแต่ยุครัฐบาลที่เวียดนามจัดตั้งขึ้น จนถึงยุคใหม่ในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่สหประชาชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2536

คราวนั้น พรรคประชาชนกัมพูชา พ่ายแพ้ แต่ก็ได้เข้าร่วมรัฐบาล โดยใช้กองกำลังทหารตำรวจที่อยู่ในมือเป็นเครื่องต่อรอง “นายฮุนเซน” ขณะนั้นได้กลายเป็น “นายกรัฐมนตรีคนที่ 2”

สมเด็จฯ เจียซิม ประธานวุฒิสภา และประธานพรรคประชาชนกัมพูชา รวมทั้งสมเด็จฯ เฮงสัมริน ประธานกิตติมศักดิ์พรรคประชาชนฯ และ ประธานสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน ล้วนเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์เก่าที่เวียดนามนำเข้าบริหารประเทศหลังการขับไล่ฝ่ายเขมรแดง
กำลังโหลดความคิดเห็น