xs
xsm
sm
md
lg

ปั่นหัวเขมรบอยคอต “มาม่า” หันไปหา “หมี่ยืง”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#CC3399> ภาพถ่ายวันที่ 20 ก.ค.2551ด่านชายแดนด้านอรัญประเทศ-ปอยเปตยังเซ็งลี่ฮ้อเป็นปกติต่อไป แม่ค้าที่ตลาดโอลิมปิกกรุงพนมเปญบอกว่า แม้รัฐบาลจะบอยคอตสินค้าไทยอย่างเป็นทางการ ก็จะมีคนออกหาซื้อและแม่ค้าก็จะหาไปขายให้จนได้ (ภาพ: REUTERS) </FONT> </CENTER>

ผู้จัดการออนไลน์ -- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อมาม่า (Mama) ของไทย ซึ่งเป็นยี่ห้อยอดนิยมของชาวกัมพูชาได้กลายเป็นเหยื่อรายแรกของการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างสองประเทศบนเขาพระวิหาร ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายบะหมี่ยี่ห้อนี้ ได้ยุติการผลิตตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางกระแสชาตินิยมบอยคอตสินค้าไทย

การรณรงค์ต่อต้านสินค้าไทยเริ่มเห็นผล ยอดขายบะหมี่ยอดนิยมตกลงเห็นได้ชัด ชาวกัมพูชาได้หันไปหาทางเลือกที่ไม่ค่อยเต็มใจมากนัก คือ บะหมี่จากจีนและเวียดนาม ขณะที่ "หมี่ยืง" (Mee Yeung) หรือ “บะหมี่เรา” ที่ผลิตในกัมพูชาก็ขาดตลาด

ชาวเขมรจะอดรับประทานมาม่าไปได้อีกนานเท่าไร? แม่ค้าแม่ขายเองก็ถามคำถามนี้ เพราะว่าบะหมี่จากจีน และเวียดนาม แม้จะมีราคาถูกกว่ามาม่ากับยี่ห้ออื่นจากประเทศไทย แต่คุณภาพไม่ดี และรสชาติไม่ถูกปาก ขณะที่หมี่ยืงของเขมรเองยังผลิตออกมาน้อย ไม่พอจำหน่าย

เสียงเรียกร้องให้ทั้งประเทศไม่ซื้อสินค้าไทยที่ดังกระหึ่มทั่วราชอาณาจักรในช่วงนี้สัปดาห์ได้ทำให้บริษัท แมนสะรุน (Men Sarun Co) ซึ่งจำหน่ายบะหมี่มาม่าของไทย หยุดการผลิตลงชั่วคราว โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของบริษัทหวังว่า หลังเลือกตั้งวันอาทิตย์ (27 ก.ค.) นี้ บรรยากาศคงจะดีขึ้น และจะได้เริ่มการผลิตอีก

นิตยสารข่าวภาษาฝรั่งเศส “กัมโบดจ์ซวาร์” (Cambodge Soir) ในกรุงพนมเปญรายงานเรื่องนี้โดยไม่ได้ให้รายละเอียดว่า บริษัทดังกล่าว “ผลิต” บะหมี่ของไทยอย่างไร

สัปดาห์นี้ได้มีมือมืดส่งข้อความสั้นเข้าโทรศัพท์มือถือนับหมื่นๆ เครื่อง มีการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รัศมีกัมพูชาและเกาะสันติภาพ เรียกร้องให้ชาวกัมพูชาต่อต้านสินค้าทุกชนิดที่เป็นยี่ห้อจากประเทศไทย
<CENTER><FONT color=#CC3399> บะหมี่ย่อห้อไทย เหยื่อรายแรกของการเผชิญหน้าทางทหาร..</FONT> </CENTER>
“เราไม่อาจจะให้ประเทศไทยดูหมิ่นเหยียดหยามชาวกัมพูชาต่อไปได้ ถ้าหากคุณเป็นคนเขมรและมีเลือดเขมร ให้ส่งต่อข้อความนี้ไปยังเพื่อนมิตรของชาวกัมพูชาในทั่วโลก”

ข้อความดังกล่าวถูกส่งเข้าโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศในช่วง 2-3 วันมานี้ พร้อมกับคำชักชวนให้ชาวกัมพูชาเลิกใช้สินค้าที่ติดภาษาไทยบนซองหรือหีบห่อทุกชนิด

วันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์ภาษาเขมรทั้งสองฉบับซึ่งมีบทความรายงานและคอลัมน์ต่อต้าน “การรุกรานของไทย” อยู่แล้ว ยังได้ลงโฆษณาจากบุคคลลึกลับเรียกร้องให้ทั่วทั้งประเทศเลิกนำเข้า เลิกซื้อและเลิกจำหน่ายสินค้าและบริการจากประเทศไทย

ข้อความโฆษณาดังกล่าวได้วาดรูปราสาทพระวิหารกับธงชาติกัมพูชากำกับไว้ พร้อมคำขวัญ “รวมกันชาวเขมรรอด แตกแยกกันชาวเขมรตาย” กัมโบดจ์ซวาร์ กล่าว

แม่ค้าแม่ขายจำนวนหนึ่ง รวมทั้ง นางนี วัย 27 ปี ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายของชำในตลาดโอลิมปิก กรุงพนมเปญ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ เคยขายบะหมี่มาม่าได้วันละ 200 ซอง ตอนนี้ลดลงเหลือราว 60 ซองต่อวัน

“ยอดขายมาม่าค่อยๆ ลดลงตามลำดับ ตอนนี้คนหันมาซื้อหมี่ยืงที่ผลิตในกัมพูชาแทน แต่ก็มีอยู่ในร้านไม่พอ” นางนี กล่าว

“ผู้บริโภคเปลี่ยนไปมาก เปลี่ยนไปมากจริงๆ หลายคนหันไปซื้อบะหมี่เวียดนามเลยทีเดียว.. แต่หลายคนก็ลังเลเพราะว่าคุณภาพไม่ดี” นางนี กล่าวเพิ่มเติม

นายขุน (Khun) เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดวัย 36 ปี ของบริษัท แมนสะรุน กล่าวว่า บริษัทเลิกผลิตมาม่ามาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว แต่อาจจะเริ่มผลิตอีกครั้งหลังเลือกตั้ง ซึ่งคาดว่าอะไรๆ ก็อาจจะดีขึ้น

เมื่อถูกถามสาเหตุที่หมี่ยืงขายดีจนขาดตลาด นายขุนกล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเข้าใจได้ “เพราะใครๆ ก็หาซื้อเพื่อนำไปบริจาคให้ทหารกับประชาชนที่เขาพระวิหาร ทุกคนอยากจะแสดงความรักชาติ พวกเขาก็เลยหาซื้อยี่ห้อของเขมร”

อย่างไรก็ตาม นางฮง (Hong) แม่ค้าวัย 30 ปี เจ้าของร้านค้าใกล้ๆ ตลาดโอลิมปิก กล่าวอย่างสงสัยว่า ชาวเขมรด้วยกันเองจะต่อต้านบะหมี่ของไทยได้นานแค่ไหน เพราะว่าคนที่รับประทานบะหมี่ไทยแล้วก็จะไม่หันไปกินบะหมี่จีนหรือบะหมี่เวียดนามอย่างแน่นอน

“ถึงแม้รัฐบาลจะร่วมต่อต้านอย่างเป็นทางการ ผู้บริโภคก็จะยังถามหาสินค้าไทยต่อไป และแม่ค้าก็คงจะหามาขายให้จนได้เช่นเดียวกัน” นางฮง กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น