xs
xsm
sm
md
lg

ตามคาด..เขมรอ้างไทยตกลงแบ่งแดนพระวิหารใต้สัญญาฝรั่งเศส-สยาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000> พระสงฆ์กัมพูชาบนปราสาทพระวิหาร เบื้องหลังโน้นเป็นโคปุระอีกชั้นหนึ่งก่อนจะเข้าถึงองค์ปราสาท ..ตามกฎหมายระหว่างประเทศปราสาทตั้งอยู่ในดินแดนไทย ซึ่งยอมถอนทหารออกเพื่อปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลก แต่ไม่ยอมรับการตัดสินและได้ยื่นคัดค้านเรื่องดินแดนกับเส้นเขตแดนมาตั้งแต่เดือน ก.ค.2505 เป็นการเริ่มกรณีพิพาทพรมแดน แต่บัดนี้สถานภาพเดิมของกรณีพิพาทได้เปลี่ยนไปตามที่หลายฝ่ายคาดหมาย (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน -- รองนายกฯ และ รมว.ต่างประเทศ กัมพูชา นายฮอร์ นัม ฮอง (Hor Nam Hong) กล่าวอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกเมื่อวันอังคาร (8 ก.ค.) ว่า กัมพูชากับไทยได้ตกลงจะปักหลักเขตแดนตามแนวพรมแดนที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาสองฝ่าย ซึ่งหมายถึงสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยามปี 1904

หากการกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็เท่ากับว่า รัฐบาลไทยของนายสมัคร สุนทรเวช ได้ยอมรับที่จะเลิกอ้างอธิปไตยเหนือ "พื้นที่ทับซ้อน" 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบๆ ปราสาทพระวิหารที่ไทยยืนยันเป็นเขตแดนของไทยมาเป็นเวลา 46 ปี

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สมเด็จฯ ฮุนเซน ได้เรียกร้องให้ประชาชนกัมพูชาเป็นมิตรที่ดีกับประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ หลังจากปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ที่กำลังมีการเฉลิมฉลองอย่างใหญ่โตในกรุงพนมเปญ

“ข้าพเจ้าใคร่ขอขอบคุณอย่างจริงใจ และอย่างสัตย์ซื่อไปยังประชาชนในทุกระดับที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของรัฐบาลตลอดมา และแสดงความเข้าใจ มีความอดทนเพื่อปกป้องผลประโยชน์แหงชาติ และสร้างสันติภาพกับประชาชนไทย ในฐานะเพื่อนมิตรที่ดี ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ” สมเด็จฯ ฮุนเซน กล่าวระหว่างแถลงผ่านข่ายโทรทัศน์แห่งชาติเมื่อวันอังคาร
<CENTER><FONT color=#FF0000>รองนายกฯ และ รมว.ต่างประเทศ ฮอร์นัมฮอง พูดชัดถ้อยชัดคำหลังขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารได้สำเร็จ ระบุว่ารัฐบาลไทยได้ตกลงปักปันเขตแดนพระวิหารโดยยึดถือ สนธิสัญญาทวิภาคี อันหมายถึงสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยามเมื่อกว่า 100 ปีก่อน ซึ่งจะทำให้ไทยสูญเสียพื้นที่ราว 4.36 ตร.กม. ที่ไทยอ้างอธิปไตยมาตั้งแต่เดือน ก.ค.2505 หลังจากศาลโลกตัดสินให้ปราสาทตกเป็นของกัมพูชาเมื่อปี 2505 (ภาพ: AFP)  </FONT></CENTER>
สำนักข่าวซินหัวของจีนได้นำคำแถลงโดยละเอียดออกเผยแพร่ในค่ำวันเดียวกัน

นายฮองซึ่งเป็นทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ กล่าวระหว่างการแถลงข่าววันเดียวกันว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารนับเป็นความสำเร็จแห่งอารยธรรมและวัฒนธรรมของประชาชนกัมพูชา

นายฮองกล่าวว่าความสำเร็จของกัมพูชานี้ ไม่ได้กระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา แม้ว่ารัฐบาลไทยจะได้ประกาศยกเลิกแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารในภายหลังก็ตาม

นอกจากนั้นรองนายกฯ กัมพูชายังได้ตอกย้ำคำกล่าวเดิมที่ว่า “ประเทศไทยจะไม่เสียดินแดนแม้สักเซนติเมตรเดียว” เนื่องจากสองฝ่ายได้มีแผนร่วมกันที่จะ "ปักปันเขตแดนตามเส้นเขตแดนและแนวภูมิศาสตร์ที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาระหว่างสองฝ่าย"

รองนายกฯ กัมพูชามิได้กล่าวถึงพื้นที่ประมาณ 4.6 ตร.กม. ในเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ประเทศไทยได้กล่าวอ้างอธิปไตยมาตั้งแต่เดือน ก.ค.2505 หลังศาลโลกได้ตัดสินยกปราสาทบนเขาพระวิหารให้ตกเป็นของกัมพูชา

ทางการกัมพูชาในทุกระดับยืนกรานว่า ดินแดนเหล่านั้นเป็นของกัมพูชาตามแผนที่ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นในปี 1907 และนำออกเผยแพร่ในปี 1908 ตามที่ศาลโลกในกรุงเฮกใช้อ้างอิงและตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา

ไทยได้เจรจากับกัมพูชามาตลอดในความพยายามแก้ไข “เขตแดนเหลื่อมล้ำ” ดังกล่าว

นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวในการแถลงผ่านโทรทัศน์เมื่อวันอังคารว่า เป็นความภาคภูมิใจอีกครั้งหนึ่งของประชาชนกัมพูชาเช่นเดียวกันกับประชาชนทั่วโลกที่ปราสาทพระวิหารได้รับการรับรองให้เป็นสุดยอดแห่งสถาปัตยกรรมเขมรและมีคุณค่าอเนกอนันต์ต่อมนุษยชาติ

ปราสาทพระวิหารนับเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 3 ของกัมพูชาที่ได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การยูเนสโก ก่อนหน้านั้นคือ นครวัดเมื่อปี 2535 กับนาฏลีลาละครในเมื่อปี 2003 อันหลังนี้เป็นการแสดงร่ายรำในพระราชสำนักที่สืบมาตั้งแต่โบราณกาล

นายโสกอาน (Sok An) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการมรดกโลกแห่งชาติกล่าวว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารจะไม่กระเทือนความสัมพันธ์กัมพูชา-ไทย
<CENTER><FONT color=#FF0000> พระสงฆ์กัมพูชาบนปราสาทพระวิหาร เบื้องหลังโน้นเป็นโคปุระอีกชั้นหนึ่งก่อนจะเข้าถึงองค์ปราสาท ..ตามกฎหมายระหว่างประเทศปราสาทตั้งอยู่ในดินแดนไทย ซึ่งยอมถอนทหารออกเพื่อปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลก แต่ไม่ยอมรับการตัดสินและได้ยื่นคัดค้านเรื่องดินแดนกับเส้นเขตแดนมาตั้งแต่เดือน ก.ค.2505 เป็นการเริ่มกรณีพิพาทพรมแดน แต่บัดนี้สถานภาพเดิมของกรณีพิพาทได้เปลี่ยนไปตามที่หลายฝ่ายคาดหมาย (ภาพ: Reuters)  </FONT></CENTER>
"แม้ว่ากัมพูชากับไทยจะยังมีมุมมองที่แตกต่างกันในหลายแง่หลายมุมเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร แต่เรื่องนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ ต่อความสัมพันธ์มิตรภาพกับความร่วมมือที่มีมายาวนานระหว่างพระราชอาณาจักรทั้งสองกับประชาชน" นายโสกอานกล่าว

สัปดาห์ที่แล้วทางการกัมพูชาได้ส่งตำรวจปราบจลาจลนับร้อยคนไปรักษาการณ์ที่บริเวณหน้าสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ หลังจากมีอย่างน้อย 2 กลุ่มพยายามจัดการเดินขบวนไปที่นั่น เพื่อประท้วงกรณีที่รัฐบาลไทยยกเลิกแถลงการณ์ร่วมสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร แต่แล้วก็ได้ล้มเลิกไป

นายเขียวกัญฤทธิ์ (Khieu Kanharith) รัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าวในฐานะโฆษกรัฐบาลกัมพูชากล่าวว่า การประท้วงที่มีรายงานว่า จะมีคนเข้าร่วม 3,000-5,000 คนนั้น ไม่ได้เกี่ยวโยงใดๆ กับกรณีระหว่างไทยกับกัมพูชาเรื่องปราสาทพระวิหาร แต่เป็นการฉกฉวยโอกาสต่อต้านรัฐบาล ซึ่งถือเป็นเรื่องภายใน
<CENTER><FONT color=#FF0000> ชาวกรุงพนมเปญทุกสาขาอาชีพพากันเฉลิมฉลองความสำเร็จการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเมื่อวันอังคาร (8 ก.ค.) การเฉลิมฉลองดำเนินมาจนถึงยามค่ำคืน ขณะที่นายกรัฐมนตรี สมเด็จฯ ฮุนเซน เรียกร้องให้ชาวกัมพูชาเป็นมิตรที่ดีกับประชาชนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน รัฐมนตรีกัมพูชาคนหนึ่งกล่าวว่ารัฐบาลไทยได้สนับสนุนความพยายามของกัมพูชาอย่างเต็มที่ (ภาพ: Reuters)   </FONT></CENTER>
“พวกนี้เป็นพวกต่อต้านรัฐบาล เราจะจัดการเรื่องนี้ฐานเป็นเรื่องภายใน ประเทศไทยได้พยายามช่วยเหลือกัมพูชา (ในการขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก) เพราะฉะนั้นจะต้องไม่สับสนในเรื่องนี้” นายเขียว กล่าวหนังสือพิมพ์แม่โขงไทมส์

“เราควรจะอยู่ในความสงบ เพราะไม่มีจะเกิดอะไรขึ้น ก็จะไม่เกี่ยวกับประสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นของกัมพูชาอยู่แล้ว” นายเขียว กล่าว ทั้งยังเปิดเผยด้วยว่า สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรี ได้พูดคุยเรื่องนี้กับ นายสมัคร สุนทรเวช นายกฯ ไทยแล้ว และความสัมพันธ์ไทยกัมพูชาก็อยู่ในระดับปกติ.
กำลังโหลดความคิดเห็น