xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามพบสมุนไพรรักษาโรคอัลไซเมอร์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366FF>พืชสมุนไพรในตระกูลเฟิร์นที่มีชื่อว่า Toothed clubmoss ซึ่งเป็นชนิดที่หายากและถูกบันทึกลงในหนังสือปกแดงว่าเป็นพันธุ์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ ทั้งนี้ พืชดังกล่าวได้รับความสนใจเพราะมีคุณสมบัติที่สามารถช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ หรือความจำเลื่อมได้.</CENTER>

ผู้จัดการออนไลน์-- ได้มีการค้นพบต้นพืชตระกูลเฟิร์นชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Toothed clubmoss ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่หายากและมีคุณสมบัติในการนำไปทำเป็นยา ก่อนหน้านี้ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์เข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ ทำให้บางส่วนถูกลักลอบนำไปขายให้กับพ่อค้าชาวจีน

การค้นพบใหม่มีขึ้นในป่าลึก บนภูเขาที่มีความสูง 1,000 เมตร ใน จ.เลิมด่ง เขตที่ราบสูงภาคกลางของประเทศ

นักวิทยาศาสตร์เคยค้นพบเฟิร์นชนิดเดียวกันนี้บนภูขาที่มีความสูงกว่า 1,000 เมตรเช่นเดียวกันในเขตเมืองซาปา (Sapa) จ.ล่าวกาย (Lao Cai) พืชชนิดนี้ถูกบันทึกลงในหนังสือปกแดง (World Red Book) ว่าเป็นพันธุ์พืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ และเป็นกลุ่มที่อยู่ในการดูแลของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมสำหรับพืชสมุนไพรหายากอีกด้วย

สมุนไพรชนิดนี้เคยถูกนำมาใช้ในประเทศจีนเมื่อหลายร้อยปีก่อนเพื่อรักษาอาการอักเสบ ไข้หวัด และอาการผิดปกติของเลือด จากการทดสอบเมื่อเร็วๆ นี้ที่ประเทศจีน ได้แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติที่สามารถช่วยป้องกันระบบประสาทได้

พืชชนิดนี้ได้ถูกนำมาทดสอบโดยหวังว่าจะเป็นอีกหนทางหนึ่งในการช่วยรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของระบบประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอัลไซเมอร์

สารสกัดที่สำคัญของพืชสมุนไพรนี้คือ สารฮิวเปอร์ซีน เอ (Huperzine A) สกัดได้เป็นครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนในปี 1948 ทำให้ได้รับความสนใจอย่างมากจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ชาวตะวันตก

สารสกัดนี้เป็นสารที่พบในเอ็นไซม์อะซีทีลคลอริเนสเตอเรส ซึ่งมีโครงสร้างและกระบวนการทำงานคล้ายคลึงกับยาที่ชื่อ กาลันทามีน (galantamine) และโดนีเพซีล (donepezil) ที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ โดยจากการทดสอบทางคลินิคในจีนเผยว่า สารฮิวเปอร์ซีน เอ มีคุณสมบัติที่เทียบเท่ากับยารักษาโรคตามท้องตลาด และอาจจะปลอดภัยมากกว่าในแง่ของผลข้างเคียง

ปัจจุบันนี้ สถาบันผู้สูงวัยแห่งชาติ (National Institute on Aging) ในสหรัฐฯ ได้ทำการทดสอบทางคลินิกในขั้นที่ 2 เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสารสกัดดังกล่าวเพื่อนำมาใช้ในการรักษาโรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ ให้กับผู้ป่วยในกลุ่มตัวอย่าง

นอกจากนี้ ยังถูกนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการักษาโรคลมบ้าหมู (epilepsy) โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) ซึ่งได้ทำการทดสอบคุณประโยชน์และผลกระทบที่อาจตามมา โดยอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ชื่นชอบกับวิธีการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน.
กำลังโหลดความคิดเห็น