xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐถอนเรือรบ หมดปัญญากล่อมพม่าหม่องไม่สนความช่วยเหลือ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000> ถอยแล้ว-- กองทัพเรือสหรัฐฯ แจกจ่ายภาพนี้วันที่ 1 มิ.ย.2551 เฮลิคอปเตอร์แบบ MH-60S ซีไน้ท์ กำลังจะลงสู่ลานจอดบนเรือจู่โจมลำเลียงพลขึ้นบกเอ็สเส็ก (Essex) ขณะที่เรือพิฆาตมัสติน (Mustin) ลอยลำอยู่ใกล้ๆ สหรัฐฯ จะถอนเรือรบพร้อมเรือในขบวนออกจากทะเลอันดามันใกล้น่านน้ำพม่าในวันพฤหัสบดี (5 มิ.ย.) นี้ หลังจากรัฐบาลทหารไม่ยอมรับการช่วยเหลือที่ไปกับกองเรือ (ภาพ: AFP).</FONT></CENTER>

กรุงเทพฯ-- เรือรบสหรัฐฯ ทั้ง 4 ลำที่บรรทุกสิ่งของบรรเทาภัยพิบัติต่างๆ และจอดลอยลำอยู่ในทะเลหลวงไม่ไกลจากเขตน่านน้ำของพม่า จะกลับไปปฏิบัติหน้าที่ตามเดิมหลังจากที่คณะรัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธไม่ให้กองเรือรบดังกล่าวเข้าประเทศ เพื่อนำความช่วยเหลือไปให้แก่ผู้ประสบภัยในเขตปากแม่น้ำอิรวดี

ทางการสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันพุธ (4 มิ.ย.) เรือรบเอ็สเส็ก (Essex) และเรือรบอื่นๆ อีก 3 ลำ อันได้แก่เรือจู่โจมยกพลขึ้นบกฮาร์เปอร์ส เฟอร์รี (Harpers Ferry) เรือพิฆาตมัสติน (Mustin) และเรือฟรีเกทส์จูโน (Juneau) ได้จอดอยู่นอกอาณาเขตน่านน้ำของพม่าตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค. โดยไม่ได้ปฏิบัติภารกิจใดๆ ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุพายุพัดถล่มในพม่า

"เราได้พยายามโน้มน้าวคณะรัฐบาลทหารของพม่าถึง 15 ครั้งด้วยกันในช่วงเวลา 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ให้ยอมรับความช่วยเหลือซึ่งรวมถึงเรือ เฮลิคอปเตอร์ เรือยกพลขึ้นบก เพื่อช่วยในการลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์ต่างๆ ไปให้แก่ผู้ประสบภัยในพม่า" พลเรือเอก ทิโมธี คีติง (Timothy Keating) ผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ กล่าวในคำแถลงที่ออกโดยสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงย่างกุ้ง

"แต่พวกเขาก็ปฏิเสธทุกครั้งไป มันถึงเวลาที่กองเรือรบเอ็สเส็กจะต้องไปปฏิบัติภารกิจต่อไป"

พลเรือเอกคีติง กล่าวต่อว่า เครื่องบินจำนวนหลายลำที่มีความสามารถในการลำเลียงสิ่งของขนาดหนักจะจอดรอในประเทศไทย ในกรณีที่องค์กรความช่วยเหลือต่างๆ อาจจะต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว

กองเรือรบสหรัฐฯ ได้บรรทุกสิ่งของที่จำเป็นซึ่งรวมถึง กระป๋องบรรจุน้ำ 15,000 ใบ ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์จำนวน 14 ลำ และนาวิกโยธินอีก 1,000 นาย

เรือรบทั้ง 4 ลำนี้จะเดินทางกลับในวันพฤหัสบดีนี้ (5 มิ.ย.) แต่พลเรือเอกคีติงกล่าวว่า พวกเขาอาจจะกลับมาอีกหากรัฐบาลทหารพม่าเปลี่ยนใจ

"ผมรู้สึกเสียใจและผิดหวังที่รู้ว่าเราอยู่ในสถานะที่จะสามารถเข้าไปช่วยบรรเทาทุกข์ของผู้ประสบเคราะห์กว่า 100,000 คนได้ แต่ก็ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เนื่องจากไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลทหารพม่า" พลเรือเอกคีติง กล่าว
<CENTER><FONT color=#FF0000>อีกมุมหนึ่งของเรือเอ็สเส็ก เรือมัสติน กับเรือลำเลียงเชื้อเพลิงวอลเตอร์ เอส ดีลห์ (Walter S Diehl) ขณะแล่นอยู่ในน่านน้ำสากลทะเลอันดามัน ทั้งหมดได้รับคำสั่งให้ถอนออกไปวันพฤหัสบดีนี้ แต่พร้อมจะกลับเข้าไปอีกครั้งหากรัฐบาลทหารพม่าเปลี่ยนใจยอมรับการช่วยเหลือ (ภาพ: AFP). </FONT></CENTER>
ก่อนหน้านี้รัฐบาลพม่าได้เข้มงวดในการอนุญาตให้ความช่วยเหลือจากภายนอกเข้าประเทศ หลังจากเกิดเหตุพายุพัดถล่มจนทำให้มีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายกว่า 133,000 ราย และประชาชนอีกกว่า 2.4 ล้านคนกำลังต้องการอาหาร ที่พักและยารักษาโรคอย่างเร่งด่วน

หลังจากที่ได้มีการหารือระหว่างเลขาธิการองค์การสหประชาชาติและผู้นำทหารพม่าเมื่อวันที่ 23 พ.ค. รัฐบาลทหารได้ตกลงให้ทีมช่วยเหลือเดินทางเข้าไปยังบริเวณที่ราบปากแม่น้ำได้ ซึ่งที่นั่นเป็นเขตภัยพิบัติที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด แต่กระบวนการดังกล่าวก็เป็นไปอย่างล่าช้าเนื่องจากขาดยานพาหนะในการลำเลียงรวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ

สัปดาห์ที่แล้ว เรือรบมิสตรัล (Mistral) ของฝรั่งเศสก็ได้ถ่ายสิ่งของที่นำมาช่วยเหลือเหยื่อพายุให้กับหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติที่ จ.ภูเก็ตหลังจากที่ถูกปฏิเสธจากรัฐบาลทหารพม่าไม่ให้เข้าประเทศเช่นเดียวกัน

ในเวลาไล่เลี่ยกันเมื่อเดือนที่แล้วอังกฤษได้ส่งเรือรบเว็สต์มินสเตอร์ (HM Westminster) เข้าสู่เขตน่านน้ำใกล้พม่าพร้อมสิ่งของช่วยเหลือ แต่ยังไม่มีข่าวคราวใดๆ อีกในขณะนี้.
กำลังโหลดความคิดเห็น