xs
xsm
sm
md
lg

พม่าขับไล่เหยื่อพายุออกจากโรงเรียนในย่างกุ้ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพนักเรียนชั้นป.4 ของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในเขตหล่ายตาร์ยาร์ (Hlaing Thar Yar) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับกรุงย่างกุ้ง เข้าเรียนเป็นวันแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 2 มิ.ย หลังจากที่ปิดมาเป็นเวลานานเนื่องจากเหตุภัยพิบัติ (ภาพ : เอเอฟพี).</CENTER>
ผู้จัดการออนไลน์-- ทางการพม่าเริ่มขับไล่ผู้ประสบภัยจากพายุนาร์กิส ให้ออกจากโรงเรียนหลายแห่งในกรุงย่างกุ้ง เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าเรียนได้ ทั้งๆ ที่สถานที่เรียนต่างๆ ยังไม่มีความพร้อมอย่างสิ้นเชิง คุณครูกล่าวว่าเป็นห่วงเรื่องสุขอนามัยของเด็กๆ

หลังจากที่ไซโคลนนาร์กิสพัดเข้าถล่มสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือนจำนวนมาก ทำให้นางเต่วิน (Htay Win) ซึ่งเป็นครอบครัวหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัตินี้ต้องไปอาศัยโรงเรียนแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงย่างกุ้งเป็นที่พักชั่วคราว

แต่เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากทางการได้บังคับให้พวกเขาทั้งหมดต้องย้ายออกและกลับไปยังบ้านที่เดิมซึ่งถูกพายุพัดทำลายเสียหาย รวมทั้งยังกล่าวว่าลูกๆ ของเธอควรจะกลับมาเรียนในวันจันทร์

เธอจึงต้องไปกู้เงินเป็นจำนวน 5.50 ดอลลาร์เพื่อนำไปจ่ายค่าธรรมเนียมในการเล่าเรียน และ เธอต้องจ่ายเงินที่กู้มาในสิ้นเดือนนี้รวมทั้งดอกเบี้ยอีก 20%
<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพวันที่ 2 มิ.ย.2551 : นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตหล่ายตาร์ยาร์ (Hlaing Thar Yar) เปิดเรียนเป็นวันแรกเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน ซึ่งในบางห้องของโรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนมากกว่า 120 คน (ภาพ : เอเอฟพี).</CENTER>
"ฉันไม่มีทางเลือกอื่น จำเป็นต้องหาทางให้ลูกๆ ทั้ง 2 คนเข้ารับการศึกษา แต่ฉันไม่เหลืออะไรเลย ฉันเป็นหม้าย บ้านก็พังเสียหายหลังจากที่เกิดเหตุพายุพักถล่ม และต้องไปกู้ยืมเงินมาซื้อไม้ไผ่เพื่อนำไปทำเป็นที่พักอาศัย" นางเต่วินแม่ค้าขายผักวัย 42 ปี กล่าว

"เจ้าหน้าที่ให้ข้าวเราเพียง 2 กระป๋องเท่านั้น นอกจากนั้นเราก็ไม่ได้รับอะไรอีก มีผู้ที่เดินทางมาบริจาคสิ่งของให้แก่ผู้ประสบภัยด้วยตัวเองจำนวนหนึ่ง แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่ห้ามไว้"

ครอบครัวของนางเต่วินเป็นหนึ่งในจำนวนผู้ที่ไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 400 คนที่ถูกบังคับให้ย้ายออกจากโรงเรียนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (30 พ.ค.) ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้เป็นที่พักชั่วคราว คุณครูคนหนึ่งกล่าวว่าบางคนก็โชคดีพอที่จะหาผ้าใบกันน้ำมาทำเป็นที่พักได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ที่ไม่มีอะไรเลย

ทางการยืนยันว่า โรงเรียนต่างๆ โดยรอบกรุงย่างกุ้งนั้นเปิดทำการเรียนการสอนในวันจันทร์ (2 มิ.ย.) หลังจากที่ต้องปิดมาเป็นเวลานาน เนื่องจากพายุที่พัดถล่มเมื่อวันที่ 2-3 พ.ค. เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายถึง 133,000 รายและประชาชนอีกกว่า 2.4 ล้านคนต้องเผชิญกับความยากลำบาก
<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพเมื่อวันที่ 8 พ.ค.2551 : ผู้ไร้ที่อยู่อาศัยจำนวนมากจากเหตการณ์พายุพัดถล่มในเขตหล่ายตาร์ยาร์ (Hlaing Thayar) ได้ใช้อาคารของโรงเรียนเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว แต่ทางการพม่ายืนยันว่าโรงเรียนต่างๆ มีกำหนดเปิดทำการเรียนการสอนในวันที่ 2 มิ.ย. จึงทำให้เจ้าหน้าที่ต้องบังคับให้ผู้ประสบภัยย้ายออกไป.</CENTER>
ส่วนโรงเรียนในบริเวณที่ราบปากแม่น้ำอิรวดียังคงต้องใช้เวลาอีก 1 เดือนถึงจะเปิดทำการเรียนการสอนได้ปกติ แต่องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) กล่าวว่า มีโรงเรียนถึง 3,000 โรงถูกพายุพัดทำลายเสียหายและทำให้นักเรียนกว่า 500,000 คนยังคงไม่มีที่เรียน

ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง แมลงบินหึ่งไปทั่วตึกซึ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ห้องเรียนมีกลิ่นเหม็นจากของเสียที่ขับถ่ายจากผู้คนที่เข้ามาพักอาศัย บรรดาคุณครูต่างกังวลเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของนักเรียน แต่ก็เกรงกลัวที่จะท้าทายอำนาจของรัฐมากกว่า

"โรงเรียนที่ฉันสอนอยู่นั้นไม่สะอาดพอ ฉันกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของนักเรียน เราต้องฉีดยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณรอบๆ โรงเรียน และหวังว่าหน่วยแพทย์ไร้พรมแดนหรือองค์กร World Vision จะยื่นมือเข้ามาช่วย" ครูคนหนึ่งกล่าว

มีนักเรียนเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นจากจำนวนทั้งหมด 870 คนที่มาเรียนในสัปดาห์แรกนี้ เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่มีเงินพอที่จะส่งลูกๆ มาเรียน

คุณครูคนเดียวกันกล่าวต่อว่า "ผู้ปกครองบางคนต้องไปกู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายค่าเล่าเรียนของลูก แม้อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจะอยู่ในระดับที่สูงก็ตาม ฉันบอกกับเด็กๆ ว่าพวกเขาสามารถมาโรงเรียนได้แม้ว่าจะไม่มีชุดนักเรียนที่ถูกต้อง"

ขณะเดียวกัน เด็กๆ บางคนถูกส่งไปทำงานในโรงงานแทน เพื่อช่วยครอบครัวหาเงินเลี้ยงชีพ.
กำลังโหลดความคิดเห็น