xs
xsm
sm
md
lg

ชาวเวียดนามสะสมทอง 500 ตันหนีเงินเฟ้อ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366FF> หุ้นยุคตกต่ำ-- ภาพถ่ายวันที่ 26 ก.พ.2551 สตรีชาวกรุงฮานอยกำลังปั่นจักรยานผ่านแผ่นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งไว้หน้าบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งแสดงดัชนีตลาดหุ้นที่ติดลบจนแดงทั้งกระดาน เงินเฟ้อ ข้าวของแพงทั้งๆ ที่เงินด่งแข็งค่าสุดขีดและดัชนีหุ้นวินาศ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ ทำให้ชาวเวียดนามหันไปซื้อทองคำเข้าเก็บจนเกือบเกลี้ยงตลาด (ภาพ : รอยเตอร์). </FONT> </CENTER>
ผู้จัดการรายวัน – นอกเหนือจากการขาดความเชื่อมั่นต่อฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ปัญหาเงินเฟ้อที่มีอัตราสูงกว่า 10% และเงินสกุลท้องถิ่นที่แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ เชื่อว่าจะเป็นสาเหตุหลักทำให้ทองคำหายปริมาณมหาศาลกว่า 500 ตันไปจากตลาดในเวียดนาม

ประมาณกันหลายปีที่ผ่านมามีการนำเข้าทองคำถึง 600 ตัน แต่ในปัจจุบันมีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ฝากไว้ในธนาคารหรือส่งออกข้ามแดนแบบรีเอ็กซ์พอร์ต (Re-export) อีกทีหนึ่ง จึงเกิดคำถามที่ว่า ทองคำที่ชาวเวียดนามซุกเก็บไว้ใต้หมอนนั้นมีปริมาณมากเท่าไหร่

ในเดือนแรกของปี 2551 เวียดนามได้นำเข้าทองคำปริมาณถึง 50 ตัน ถ้าหนึ่งตันมีมูลค่า 30 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับว่าเวียดนามได้จ่ายเงินเพื่อนำเข้าทองคำมากถึง 1,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการนำเข้าเป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกันกับปีก่อนๆ

ตามรายงานของสำนักข่าวเวียดนามเน็ต ในปี 2551 ทองคำแท่งเกือบ 40 ตันถูกทำให้เป็นทองรูปพรรณ 1 ล้านตำลึง หรือ “tael” (1 ตำลึงเวียดนาม เท่ากับ 37 กรัมโดยประมาณ) โดยจำหน่ายโดยบริษัทไซง่อนจิวเวลรี หรือ SGJ

ช่วงต้นปี (ก่อนเทศกาลตรุษ) เป็นช่วงที่มีการนำเข้าทองสูงอยู่เสมอ เชื่อว่าช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้การนำเข้ากว่า40 ตัน กับอีกกว่า 10 ตันถูกนำเข้าในช่วงวันแรกๆ ของเดือน เม.ย.นี้ ขณะที่ราคาในประเทศนั้นยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาโลกเสมอ

ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะคำนวณถึงปริมาณการนำเข้าทองแท้จริง เนื่องจากมีการนำเข้าโดยทั้งช่องทางที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้เชี่ยวชาญจำเป็นต้องพิจารณาถึงปริมาณทองที่ไซ่ง่อนจิวเวลรีนำออกสู่ตลาดเป็นหลัก เพื่อคาดคะเนปริมาณการนำเข้าทั้งหมด

ตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นมาในปี 2531 บริษัท SGJ ได้นำทองรูปพรรณปริมาณ 11 ล้านตำลึงออกซื้อขายในตลาด ซึ่งทองรูปพรรณของ SGJ น้ำหนัก 1 ล้านตำลึงจะเท่ากับทองคำแท่ง 37.5 ล้านตัน หมายความว่าบริษัทดังกล่าวได้ทำการค้าขายทองคำที่มีปริมาณมากถึง 410 ตัน คิดเป็นมูลค่า 12,300 ล้านดอลลาร์ หากคิดตามราคาในขณะนี้

นอกจากนั้นยังมีทองคำจำนวนมากถูกนำเข้าเพื่อทำเป็นเครื่องประดับ ในธุรกิจนี้ยังมีตัวเลขที่แตกต่างกันกล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งกล่าวว่ามีการนำเข้าทองเพื่อทำเป็นเครื่องประดับถึง 200 ตัน ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวว่าปริมาณอาจจะทีเพียง 100 ตันเท่านั้น

ถ้าหากว่าตัวเลข 200 ตันนั้นถูกต้องแน่นอน ทองคำทั้งหมดที่นำเข้ามายังเวียดนาม รวมกับทองคำอีก 400 ตันของ SGJ ก็จะมีปริมาณรวมกันทั้งหมดราว 600 ตันซึ่งคิดเป็นมูลค่ามากถึง 18,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 288,000,000 ด่งเงินเวียดนาม
<CENTER><FONT color=#3366FF>ภาพเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2551 - ลูกค้ากำลังดูทองคำในร้านขายทองแห่งหนึ่งในนครโฮจิมินห์ ซึ่งธุรกิจดังกล่าวเป็นไปอย่างคึกคักในศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางการค้าทองคำที่ไซง่อน โดยผู้ลงทุนชาวเวียดนามนั้นมีความมั่นใจในทองคำท่ามกลางความแปรปรวนในตลาดหุ้นอันเนื่องมาจากกระแสเงินตราและภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น (ภาพ : รอยเตอร์.</CENTER
ตอนนี้ทองคำไปอยู่ที่ไหน?

คำถามดังกล่าวยังคงเป็นปริศนา สมาชิกสมาคมธุรกิจทองคำของเวียดนามผู้หนึ่งกล่าวว่า มีทองคำเพียง 1- 1.5 ล้านตำลึงเท่านั้นที่ถูกฝากไว้ในธนาคาร ที่เหลือเก็บไว้โดยประชาชนทั่วไป

แม้ว่าธนาคารมีความพยายามที่จะดึงดูดทองคำเพิ่มขึ้น แต่ชาวเวียดนามยังคงไม่ต้องการฝากธนาคาร เนื่องจากมีนิสัยชอบสะสมทองคำเพื่อเป็นการออมเงินมากกว่าการทำธุรกิจ

ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่า ในยามที่ราคาทองในประเทศต่ำกว่าราคาในตลาดโลก ก็จะมีการแปรรูปทองและส่งออกข้ามด่านชายแดนต่างๆ แม้จะไม่มีตัวเลขที่เป็นทางการยืนยันเรื่องนี้ แต่ก็เชื่อว่ามีปริมาณไม่มากนัก ตีเสียว่ามีประมาณ 100 ตันเท่านั้น

ถ้าทองคำปริมาณ 100 ตันถูกส่งข้ามพรมแดน ก็จะทำให้ทองคำที่ยังคงเหลืออยู่ในเวียดนามมีปริมาณอยู่ที่ 500 ตัน คิดเป็นมูลค่า 15,000 ล้านดอลลาร์

นางเลถิหง็อก (Le Thi Ngoc) เจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอที่ 2 นครโฮจิมินห์ กล่าวว่า เธอจะซื้อทองคำปีละประมาณ 20,000 ดอลลาร์เพื่อนำไปฝากธนาคาร ขณะที่ยังเก็บดอลลาร์ไว้อีกส่วนหนึ่ง แต่เมื่อดอลลาร์มีค่าลดลงก็จึงตัดสินใจขายทั้งหมดและสะสมทองแทน

ส่วนนางเจื่อง-ถิ-กวิ่ง-ยาง (Truong Thi Quynh Giang) หญิงเกษียณอายุที่อาศัยอยู่ในเขตบิ่งแถ่ง (Binh Thanh) นครโฮจิมินห์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้จะแลกเงินดอลลาร์ทั้งหมดที่พี่สาวส่งไปให้จากสหรัฐฯ เป็นเงินด่งก่อนจะนำไปฝากธนาคาร

อย่างไรก็ตามเนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ตัดสินใจซื้อทองฝากธนาคารแทน

เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อส่งออกและนำเข้าผู้หนึ่งกล่าวว่า การฝากทองกับธนาคารนั้นแน่นอนว่าจะไม่ดอกเบี้ยสูงเท่ากับเงินด่ง แต่ชาวเวียดนามจำนวนมากยังคงฝากเป็นทองเพราะเชื่อว่าการสะสมทองคำเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการออมทรัพย์

**2 ยุคของการนำเข้าทองคำ**

การนำเข้าทองคำตั้งแต่ปี 1975 จนถึงปัจจุบันนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน

ก่อนทศวรรษ 1990 ยังไม่มีการนำเข้า จนกระทั่งต้นทศวรรษ 1990 เมื่อเวียดนามมีเงินตราต่างประเทศมากพอ ตลาดภายในประเทศนั้นได้รับรู้ถึงราคาทองคำที่พุ่งสูงขึ้น และ รัฐบาลอนุญาตนำเข้าได้

อย่างไรก็ตามการนำเข้าทองหยุดลงในปี 2540 เนื่องจากการนำเข้าทองต้องใช้เงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ปริมาณนำเข้าในขณะนั้นยังมีไม่มากนัก แต่ก็มีการลักลอบนำเข้าอย่างสูงโดยผ่านทางด่านชายแดนทางตะวันตกเฉียงใต้

ผู้ลักลอบนำเข้าทองคำผิดกฎหมายได้จ่ายเป็นดอลลาร์ที่ได้จากตลาดมืด ซึ่งได้ทำให้ค่าดอลลาร์พุ่งสูงขึ้นด้วย

ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบันรัฐบาลได้อนุญาตให้นำเข้าทองคำอีกครั้งหนึ่ง ราว10 ตันถูกนำเข้าในปีแรก ตัวเลขได้ค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นในปีต่อๆ มา ในปี 2549 มีการนำเข้าทอง 64 ตัน กับอีก60 ตันเมื่อปีที่แล้ว

ตัวเลขการนำเข้าทองคำนั้นถูกเผยแพร่ออกมาจากหลายแหล่งซึ่งแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในตบลาดวันนี้ก็คือ ทองได้หายไปเกือบหมด.
กำลังโหลดความคิดเห็น