xs
xsm
sm
md
lg

หวั่นเอเชียใต้-อาคเนย์ลุกเป็นไฟแย่งข้าว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099>ภาพถ่ายวันที่ 4 เม.ย.2551 ชาวฟิลิปปินส์ครอบครัวหนึ่งพากันนำถุงข้าวสารกลับบ้านชานกรุงมะนิลา รถทหารบรรทุกข้าวถุงที่ซื้อจากเวียดนามและสหรัฐฯ ออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนโดยตรงท่ามกลางความวิตกว่าการขาดแคลนอาจจะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในประเทศ  (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน — เจ้าหน้าที่ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี ได้แสดงความเป็นกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ขาดแคลนข้าวในประเทศเอเชียใต้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การความขัดแย้งทางสังคมที่อันตราย เช่นเดียวกับที่ความขัดแย้งทางศาสนาเคยทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นในประเทศเหล่านี้

เอดีบีได้ออกรายงานตัวเลขปลายสัปดาห์ที่แล้ว ระบุว่า ปัจจุบันปริมาณข้าวสำรองทั่วโลกได้ลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี และราคาข้าวในประเทศไทยได้พุ่งขึ้นเป็น 580 ดอลลาร์ต่อตันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

จีนและอินเดียซึ่งมีประชากรรวมกันเกือบ 3,000 ล้านคน เป็นตลาดบริโภคข้าวขนาดใหญ่ที่สุด ที่อื่นๆ ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น ปากีสถาน บังกลาเทศ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ ไทย ซึ่งมีประชากรตั้งแต่หลายสิบจนถึงหลายร้อยล้านล้วนบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ไม่ต่างกับตุรกีและอิหร่านที่อยู่ไกลออกไป

ราคาข้าวในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นย่อมทำให้ประชากรในประเทศต่างๆ เหล่านี้ตกอยู่ในภาวะยากลำบากอย่างสาหัส คนนับร้อยล้านในหลายประเทศอาจจะตกอยู่ในภาวะอดอยากในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และตลาดโลกยังมีข่าวร้ายอย่างต่อเนื่อง

ไม่เพียงแต่ไทยกับเวียดนาม ซึ่งเป็นสองประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดเท่านั้นที่เตรียมมาตรการบังคับใช้สร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านอาหารในประเทศ ประเทศผู้ผลิตข้าวใหญ่น้อย รวมทั้ง กัมพูชา และ อินโดนีเซีย ต่างมีมาตรการเคร่งครัดด้านอาหาร
<CENTER><FONT color=#660099>ภาพถ่ายวันที่ 4 เม.ย.2551 คนงานช่วยกันบรรจุข้าวลงถุงที่โกดังเก็บขององค์การอาหารแห่งชาติในกรุงมะนิลาเพื่อจำหน่ายโดยตรงให้แก่ประชาชน ข้าวทั้งหมดนำเข้าจากสหรัฐฯ และเวียดนาม  (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้สั่งการวันที่ 26 มี.ค.ห้ามส่งออกข้าวเป็นเวลา 2 เดือน อินโดนีเซียเก็บภาษีส่งออกสูงลิ่ว และอินเดียให้ส่งออกได้เฉพาะข้าวบาสมาติ ซึ่งเป็นข้าวหอมคุณภาพดีราคาแพง ขณะเดียวกัน ก็ตั้งราคาส่งออกข้าวคุณภาพต่ำเอาไว้สูงมาก

สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์ ที่มีประชากร 91 ล้านคน เป็นประเทศที่น่าวิตกที่สุด เนื่องจากต้องนำเข้าข้าวปีละ 2 ล้านตันประจำทุกปี การที่ข้าวราคาแพงขึ้น และหาซื้อยากขึ้นนับเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ปัจจุบันประชากรราว 10 ล้านคน ในประเทศกำลังขาดแคลนข้าวบริโภค

สัปดาห์ที่แล้วนายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen an Dung) ได้สั่งการให้กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ห้ามมีการทำสัญญาซื้อขายข้าวกับลูกค้าในต่างแดนตลอดเวลา 3 เดือนข้างหน้าจนถึงเดือน มิ.ย.

ผู้นำเวียดนามยังสั่งการให้ปรับเป้าส่งออกปีนี้ลงเหลือเพียง 3.5-4 ล้านตันเท่านั้น จากเป้าเดิม 4.5 ล้านตัน เพื่อเสริมความมั่นคงด้านอาหารในประเทศ หนังสือพิมพ์เตี่ยนฟง (Tien Phong) หรือ “ผู้บุกเบิก” กล่าว

มาตรการของเวียดนามซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศไทย มีขึ้นในขณะที่ข้าวกำลังเป็นที่ต้องการของนานาประเทศ และราคาแพงมาก การลดเป้าส่งออกเท่ากับว่า ข้าวกำลังจะหายไปจากตลาดโลกอีกราว 1 ล้านตันเป็นอย่างน้อย

ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งได้สูงขึ้น 3 เท่าตัวเป็นอย่างน้อยเทียบกับราคาในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว ราคาเสนอขายของข้าวเวียดนาม ซึ่งเคยเป็นข้าวราคาถูกที่สุดก็เพิ่มขึ้นราว 53% ในช่วงเดือน ม.ค.จนถึงต้น มี.ค.ที่ผ่านมา
<CENTER><FONT color=#660099>ภาพถ่ายวันที่ 3 เม.ย. คนงานกำลังขนกระสอบข้าวเข้าเก็บที่โกดังแห่งหนึ่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่นำเข้าข้าวทุกปี ส่วนใหญ่ซื้อจากเวียดนาม ปีนี้ลำบากมากขึ้นหลังจากประเทศผู้ส่งออกจำกัดปริมาณเพื่อเอาไว้บริโภคในประเทศให้เพียงพอ (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
ระหว่างเดือน ม.ค.-ก.พ.ปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวเพียง 381,000 ตัน ทั้งหมดจำหน่ายให้แก่ฟิลิปปินส์ ทำรายได้ 150 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 47% ในเชิงปริมาณ และ 78% ในเชิงรายได้ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550

นายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวว่า ข้าวชนิดพื้นฐานของประเทศปีนี้อาจจะได้ราคาสูงถึง 570 ดอลลาร์ต่อตัน แต่ในประเทศก็กำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรงและข้าวในตลาดราคาแพงขึ้นมากสำหรับประชากร 85 ล้าน

ในขณะเดียวกัน ชาวนาในเวียดนามกลับจะไม่ได้อะไรมากนัก เนื่องจากต้นทุนในการทำนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยกับยาปราบแมลงกับวัชพืชราคาสูงขึ้นหลายเท่า

ตามสถิติที่เก็บจาก จ.เตียนยาง (Tien Giang) ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดอู่ข้าวอู่น้ำในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง ปัจจุบันราคาปุ๋ยเอ็นพีเค (NPK) ขนาดบรรจุกระสอบละ 50 กก.ได้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัว และราคาปุ๋ยยูเรียขึ้นถึง 3.7 เท่าตัว

ปุ๋ยสูตรเร่งรวงและเมล็ดราคาเพิ่มขึ้นถึง 6.5 เท่าตัว ขณะที่ราคายาปราบศัตรูข้าวพุ่งขึ้นราว 2.3 เท่า

ไม่เพียงแต่ราคาปุ๋ยกับสารเคมีที่แพงขึ้นเท่านั้น ชาวนายังต้องจ่ายแพงขึ้นอีก 1 เท่าตัวสำหรับจ้างคนงานในช่วงปักดำและเก็บเกี่ยวจากวันละ 35,000 เป็น 70,000 ด่ง (อัตราแลกเปลี่ยน 15,960 ด่งต่อดอลลาร์) ที่นั่นผลิตข้าวได้เฉลี่ย7.5 ตันต่อเฮกตาร์ (6.25 ไร่)
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพถ่ายวันที่ 4 เม.ย. 2551 ชาวนากำลังหว่านปุ๋ยในนาข้าวที่เมืองไท๊จี (Taikkyi) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางเหนือ 90 กม. รัฐมนตรีศรีลังกากำลังจะเดินทางเข้าพม่าในสัปดาห์นี้ เพื่อเจรจาขอซื้อข้าวราว 100,000 ตัน ท่ามกลางความหวั่นวิตกว่าอาจจะเกิดการจลาจลขึ้นในประเทศแถบนี้ในยุคข้าวยากหมากแพง (ภาพ: AFP)</FONT></CENTER>
ถ้าหากคิดคำนวณต้นทุนใหม่เทียบกับราคาข้าวเปลือกที่จำหน่ายได้ 3,400-3,700 ด่ง ต่อ กก.ชาวนาในภาคใต้เวียดนามขาดทุนย่อยยับ ซึ่งเป็นปัญหาใหม่ในยุคที่ข้าวเวียดนามในตลาดโลกมีราคาแพงมากขึ้น เตี่ยนฟง กล่าว

ใน จ.ซ๊อกจาง (Soc Trang) ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงก็อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ชาวนากำลังมีในฐานะลำบาก เนื่องจากต้นทุนในการปลูกข้าวที่สูงขึ้นหลายเท่าตัว ขณะที่ผลิตข้าวได้ 6.5-8 ตันต่อเฮกตาร์ สื่อของทางการกล่าว

เมื่อต้นปีองค์การอาหารและการเกษตรโลก (Food and Agriculture Organization) หรือ FAO ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดยุคข้าวยากหมากแพงอันเนื่องจากการขาดแคลนข้าว

เมื่อเดือนที่แล้วสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute) ก็ได้ออกเตือนเกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดวิกฤติการณ์จากข้าว
กำลังโหลดความคิดเห็น