xs
xsm
sm
md
lg

ราชภัฏบุรีรัมย์แชมป์โครงการรากแก้ว พัฒนาชุมชน-สวล.ได้ผลลัพธ์ยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ทีมนศ.มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์และทีมนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำขบวนคว้ารางวัลดีเด่นโครงการรากแก้วระดับ Platinum ตามมาด้วยทีมนศ.มหาวิทยาลัยมหาสารคามและทีมนศ.สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา ซึ่งผ่านด่านการคัดสรรจาก 26 โครงการของ 22 สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ตัวแทนอาจารย์และนิสิตนักศึกษา 2 อันดับแรกยังจะได้เข้าร่วมสังเกตการณ์งาน Enactus World Cup ปีนี้ ที่ประเทศคาซัคสถาน มูลค่ากว่า 150,000 บาทต่อทีม

การนำเสนอผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่สร้างผลลัพธ์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs ของสหประชาชาติ ประจำปีนี้ หรือ “2024 Rakkaew National Expo” จัดโดยมูลนิธิรากแก้วมากว่า 17 ปี ในการส่งเสริมการมีจุดมุ่งหมายชีวิตที่มีคุณค่าต่อสังคม สร้างกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงนอกห้องเรียน พัฒนาศักยภาพและทักษะด้านต่างๆของนิสิตนักศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมให้เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่พร้อมทำประโยชน์ให้ผู้อื่น สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวก และมีส่วนลดความเหลื่อมล้ำของสังคม โดยใช้หลักเชิงกลยุทธธุรกิจขับเคลื่อนกิจกรรม


นิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รวมกลุ่มกันคิดและลงมือทำงานที่ตอบโจทย์ปัญหาของชุมชนกรณีศึกษา โดยนำความรู้ทางธุรกิจใช้แนวทางแบบผู้ประกอบการ นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์
และวิธีการใหม่ๆมาดำเนินโครงการสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชน ผู้สนับสนุนหลักโครงการนี้ ได้แก่ เคพีเอ็มจีประเทศไทย บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มูลนิธิจูเนียร์อะชีฟเม้นท์ประเทศไทย และมูลนิธิเอสซีจี

ทีมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้นำเสนอผลงาน "ส่งเสริมสืบสานงานมรดกทางวัฒนธรรมอิสานใต้ หัตถกรรมพื้นบ้านจักสานผ้าทอ" ที่ช่วยเพิ่มรายได้ชุมชนจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ถึง 3 เท่า และเพิ่มรายได้รวม 63% เมื่อเทียบกับปี 2566

โครงการนี้ยังเกิดผลดีด้านสังคม โดยสร้างกลุ่มเยาวชนช่างฝีมือกว่า 20 คนที่เชี่ยวชาญในงานจักสานและผ้าทอ รวมถึงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม มีการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้ในการผลิตทั้งหมด และนำภูมิปัญญาการรมควันเพื่อป้องกันมอด เพิ่มความคงทนให้กับผลิตภัณฑ์ และความปลอดภัยของผู้บริโภค

 ทีมอันดับ 3  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โครงการ เด็กกำปุ๋ย
ส่วนทีมนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอโครงการ "นวัตกรรมการจัดการห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ บนฐานโมเดลเศรษฐกิจ BCG" ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรโกโก้จากการจำหน่ายผลโกโก้คุณภาพตกเกรดและของเหลือทิ้งอย่างน้อย 15%

ขณะเดียวกันยังเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนคุณภาพอีก 15% ขณะเดียวกันโกโก้ตกเกรดถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น 100% และช่วยลดค่าอาหารโคขุนคุณภาพเฉลี่ย 35%ต่อวัน

ในด้านสังคมโครงการได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ เกิดเป็นชุมชนเกษตรแห่งการเรียนรู้ ศูนย์กลางธุรกิจโกโก้ครบวงจร

นอกจากนี้ ยังช่วยลดของเหลือทิ้งทางการเกษตรจากโกโก้ตกเกรดได้ 100% สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลโกโก้ตกเกรดจาก 0 บาทเป็น 2 บาทต่อกิโลกรัม อีกทั้งยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตปศุสัตว์ด้วยสูตรอาหารที่ยับยั้งการผลิตก๊าซมีเทนในกระเพาะโค

ทีมลำดับที่4 สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
ส่วนรางวัลระดับ Platinum อันดับ 3 ได้แก่ ทีมจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากโครงการ "เด็กกำปุ๋ย" ที่มุ่งพัฒนาชุมชนคาร์บอนต่ำผ่านการจัดการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัจฉริยะจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ลดปัญหาการเผาวัสดุการเกษตร ลดก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้สารเคมี สร้างความมั่นคงทางอาหาร เพิ่มรายได้เป็น 16 เท่า จากปีแรก เกิดธุรกิจเกื้อกูล เกิดห่วงโซ่คุณค่าไปยังกลุ่มปลูกผัก และข้าวอินทรีย์ในชุมชน ชุมชนเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงยุคโลกเดือด

ทีมลำดับที่4 นักศึกษาจากสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย กับโครงการ "STIN
อาสาพัฒนาชุมชนเตรียมพร้อมรับสาธารณภัย"
ที่มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมของชุมชนในการรับมือกับสาธารณภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหาย และสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ทีมได้พัฒนาอาชีพ เพิ่มรายได้ของประชาชน ลดความยากจน ฐานการตลาดในธุรกิจชาเพิ่มมากขึ้น เยาวชนและชุมชนสามารถดูแลตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกันชุมชนสามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้มากขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น