xs
xsm
sm
md
lg

ยุโรปอากาศอุ่นหน้าหนาว ! สัญญาณโลกเผชิญสภาพอากาศสุดขั้ว ปี 2023

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นึกว่าหน้าร้อน! ผู้คนออกมาเพลิดเพลินกับอากาศอบอุ่นในฤดูหนาว แต่ชาวยุโรปจำนวนมากแสดงความกังวลถึงการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงของสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (รอยเตอร์: จอน นาซกา)

Clip Cr.Sky News

ก่อนสิ้นปี 2022 ในฤดูหนาวของหลายประเทศในยุโรปยังคงเป็นปกติ แต่พอล่วงเข้าสู่ปีใหม่ไม่กี่วัน พบว่าอากาศอุ่นผิดปกติ อุณหภูมิสูงขึ้นฉับพลันจนทุบสถิติแทบจะทั่วทั้งทวีปยุโรป เนื่องจาก “คลื่นความร้อน” ซึ่งเป็นสัญญาณเตือน ผลกระทบภาวะโลกร้อนยังไม่ลดลง

ล่วงเข้าสู่เดือนมกราคมมาแค่ไม่กี่วัน ปกติช่วงนี้อากาศต้องหนาว หลายพื้นที่มีหิมะจนเป็นฤดูกาลของสำหรับช่วงเวลานี้ของปีโดยบริเวณแถบเทือกเขาแอลป์ของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งหิมะหดหายไปจากปกติในช่วงเวลานี้ของปี จนผู้ประกอบการต้องหันไปพึ่งพาหิมะเทียมสำหรับให้นักท่องเที่ยวเล่นสกีได้ ท่ามกลางนักท่องเที่ยวที่บางตากว่าปกติ 35-40% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ซึ่งไม่กี่วันมานี้อุณหภูมิในสวิตเซอร์แลนด์พุ่งสูงแตะ 20.9 องศาเซลเซียส หลังจากก่อนหน้านี้หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของสวิตเซอร์แลนด์ รายงานว่า ปี 2022 เป็นปีที่อากาศอบอุ่นที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลสถิติ เมื่อปี 1864 โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 7.4 องศาเซลเซียส

เช่นเดียวกับที่รีสอร์ทในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งเคยเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวเมื่อปี 1980 และช่วงนี้น่าจะมีนักท่องเที่ยวมาเล่นสกีมากที่สุด แต่ปรากฏว่าแทบไม่มีหิมะให้เห็น ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอย่างหนัก โรงแรมและรีสอร์ทต้องลดราคา ลดจำนวนพนักงาน ทำให้หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวในหลายท้องที่กำลังพิจารณาจะประกาศภาวะฉุกเฉินจากภัยธรรมชาติ

อุณหภูมิฤดูหนาวที่สูงเป็นประวัติการณ์ได้แผ่ขยายไปทั่วส่วนต่างๆ ของยุโรปในช่วงปีใหม่ กระตุ้นให้นักเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกันก็เสนอการผ่อนปรนระยะสั้นให้กับรัฐบาลที่ประสบปัญหาราคาก๊าซสูง

ภาพถ่ายดาวเทียมปริมาณหิมะลดลงชัดเจน
หากจะเปรียบเทียบความรุนแรงของสถานการณ์ให้เห็นอย่างชัดเจน ดูได้จากภาพถ่ายดาวเทียมที่เปรียบเทียบภาพระหว่างช่วงปลายปี 2021 และปลายปี 2022 ถึงไม่กี่วันที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของปริมาณหิมะที่ลดลงอย่างชัดเจน ใน ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย จากเดิมที่ในช่วงนี้ของปีที่เป็นฤดูหนาวจะมีหิมะปกคลุมปริมาณมาก แต่ปีนี้บางจุดแทบไม่เห็นสีขาวของหิมะ

แม้ว่าอากาศร้อนที่เกิดในช่วงนี้จะไม่ได้ทำให้ผู้คนเสียชีวิตเหมือนอย่างคลื่นความร้อนในฤดูร้อน แต่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างหนัก

ย้อนไปในวันขึ้นปีใหม่ มีอย่างน้อย 8 ประเทศยุโรปที่ทุบสถิติวันที่อุณหภูมิสูงสุดในเดือนมกราคมเท่าที่เคยมีมา ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ , สาธารณรัฐเช็ก / โปแลนด์ , เนเธอร์แลนด์ , เบลารุส , ลิทัวเนีย , เดนมาร์ก และ ลัตเวีย ซึ่งวันที่ 31 ธันวาคมและ 1 มกราคมที่ผ่านมาเป็นวันที่คลื่นความร้อนรุนแรงมากที่สุดในหลายพื้นที่

อย่าง วาดุซ เมืองหลวงของ ลิกเตนสไตน์ อุณหภูมิสูงถึง 20 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา เทียบกับปีที่แล้วเป็นเลขตัวเดียว และช่วงต้น ม.ค. ที่แล้วยังมีหนาวจนติดลบ ส่วนกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ วัดอุณหภูมิได้ 18.9 องศาเซลเซียส เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

สถานที่หลายร้อยแห่งได้ทำลายสถิติอุณหภูมิตั้งแต่สวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ ไปจนถึงฮังการี ซึ่งลงทะเบียนวันคริสต์มาสอีฟที่อบอุ่นที่สุดในบูดาเปสต์ และมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 18.9 องศาเซลเซียสในวันที่ 1 มกราคม

ในฝรั่งเศส คืนวันที่ 30-31 ธันวาคมเป็นคืนที่อบอุ่นที่สุดตั้งแต่เริ่มมีการบันทึก อุณหภูมิพุ่งขึ้นเกือบ 25 องศาเซลเซียสทางตะวันตกเฉียงใต้ในวันปีใหม่ โดยปกติแล้วสกีรีสอร์ตในยุโรปที่พลุกพล่านจะถูกทิ้งร้างเพราะไม่มีหิมะ

หน่วยงานด้านสภาพอากาศในเยอรมนีซึ่งมีการบันทึกว่าอุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส ระบุว่าไม่มีการสังเกตการเปลี่ยนแปลงอย่างอ่อนโยนของปีในประเทศนี้เลย นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกในปี พ.ศ. 2424

สถานีโทรทัศน์เช็กรายงานว่า ต้นไม้บางต้นเริ่มผลิดอกในสวนส่วนตัว ขณะที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาและภูมิอากาศวิทยาของสวิตเซอร์แลนด์ออกคำเตือนละอองเรณูแก่ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้จากต้นเฮเซลที่บานเร็ว

ต้องยกเลิกกิจกรรมการเล่นสกีหลายรายการเนื่องจากไม่มีหิมะในเมืองต่างๆ ในยุโรป (รอยเตอร์: เดนิส บาลีบูส)
ผู้เชี่ยวชาญ ยืนยันปรากฏการณ์จากภาวะโลกร้อน

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศที่ผิดปกติ เช่น คลื่นความร้อนในฤดูหนาว (Reuters: Jon Nazca)

นักอุตุนิยมวิทยาบางคนถึงกับเรียกว่านี่เป็นคลื่นความร้อนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของยุโรป เมื่อประเมินจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ

หลายคนอธิบายว่า ปรากฏการณ์นี้เกิดจากมวลอากาศอุ่นเคลื่อนตัวจากบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อน จากริมชายฝั่งทางตะวันตกของแอฟริกา พัดเข้าไปในยุโรป ซึ่งแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะไม่ได้ฟันธงว่า ปรากฏการณ์นี้เป็นผลจากภาวะโลกร้อนโดยตรง แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่า อากาศที่ร้อนผิดปกติ หรือสภาวะอากาศที่ผิดแปลกไปจากปกติต่างๆ เกิดบ่อยครั้งขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

แต่ขณะเดียวกันกลับกลายเป็นว่าอากาศแปรปรวนนี้ส่งผลดีต่อยูเครนที่ก่อนหน้านี้อากาศหนาวจัดและเผชิญวิกฤตพลังงานจากการพุ่งเป้าโจมตีโครงสร้างพื้นฐานของรัสเซีย รวมถึงประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่เผชิญปัญหาจากราคาแก๊สที่สูงลิ่ว ล่าสุดปรากฏว่า อากาศหนาวที่เบาบางกว่าปกติส่งผลให้ราคาแก๊สธรรมชาติในยุโรปดิ่งลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.2021 เพราะความต้องการลดลง จากเดิมที่ราคาพุ่งสูงท่ามกลางการเปิดสงครามบุกยูเครนของรัสเซีย

นี่คือปรากฎการณ์ สภาพอากาศสุดขั้วในยุโรป

คาร์โล บูออนเทมโป แห่ง European Center for Medium-Range Weather Forecasts (ECMWF) หรือ ศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางแห่งยุโรป ระบุว่า "เราคาดว่าอุณหภูมิของยุโรปในช่วงฤดูหนาวปีนี้อาจสูงกว่าระดับเฉลี่ย" "อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Blocking Pattern ที่อาจนำไปสู่ความเย็นและลมหนาวแบบฉับพลันทั่วยุโรปได้"

ทั้งนี้ Blocking Pattern ในฤดูหนาว คือปรากฏการณ์ทางสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดอุณหภูมิเยือกแข็งแบบคงที่ขึ้น ซึ่งบูออนเทมโป กล่าวว่า มีโอกาสเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคมปีนี้

แต่ บูออนเทมโป กล่าวด้วยว่า ปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งเกิดขึ้นในปีนี้ จะมีผลให้ช่วงหลังของฤดูหนาวในยุโรปมีอุณหภูมิสูงขึ้น และความชื้นเพิ่มขึ้น จากลมที่พัดมาจากทางตะวันตก

ศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางแห่งยุโรป หรือ ECMWF ใช้ข้อมูลจากสำนักงานอุตินิยมวิทยาทั่วยุโรปในการพยาการณ์สภาพภูมิอากาศ โดยใช้ตัวบ่งชี้ เช่น อุณหภูมิในมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศ ตลอดจนความเร็วลมในชั้นบรรยากาศ ในการคำนวณ ซึ่งมีแความแม่นยำในระยะกลางมากกว่าในระยะสั้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเชื่อว่า ยุโรปจะสามารถผ่านความยากลำบากจากการถูกตัดการขนส่งก๊าซธรรมชาติของรัสเซียในฤดูหนาวปีนี้ได้ หากอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์หรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว แต่หากอุณหภูมิหนาวเย็นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยราว 10% จะสร้างปัญหาอย่างมากต่อระบบพลังงานของยุโรปโดยรวม

ทว่าริมชายหาดสเปนคึกคัก
ในสเปน สภาพอากาศที่อุ่นเป็นพิเศษทำให้บรรยากาศแถบสถานที่ท่องเที่ยวริมทะเลในสเปนมีผู้คนไปใช้เวลาริมชายหาดอย่างคึกคักมากเป็นพิเศษ ซึ่งนอกจากบริเวณตอนใต้ของสเปนจะร้อนกว่า 20 องศาเซลเซียสแล้ว

อย่างในเมืองบิลเบา วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 25.1 องศาเซลเซียส มากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 10 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนพอๆ กับค่าเฉลี่ยอุณหภูมิในช่วงเดือน ก.ค. ส่วนที่กาตาลุญญา อากาศร้อนทำให้ต้องสั่งจำกัดการใช้น้ำ รวมถึงที่บาร์เซโลนา

หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาสเปนเพิ่งจะประกาศว่าเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติปี 1916 โดยอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีคือ 15.5 องศาเซลเซียส

อ้างอิง https://www.abc.net.au/news/2023-01-05/europe-faces-record-breaking-hot-winter-heatwave/101828308


กำลังโหลดความคิดเห็น