xs
xsm
sm
md
lg

รู้หรือไม่! “ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก” กลางลานดิสคัฟเวอรี่ “คือการเปลี่ยนขยะพลาสติกสร้างมูลค่าเพิ่ม”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ขยะพลาสติกที่ทิ้งแล้วนำไปกำจัดไม่ถูกวิธีนั้นจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก รวมถึง เพิ่มก๊าซเรือนกระจก เร่งการเพิ่มอุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น ปัญหาใหญ่ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

ขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติก หากมนุษย์ยังใช้แล้วทิ้ง กลายเป็นขยะทันทีทันใดซึ่งมีจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน ย่อมจะเร่งอุณหภูมิของโลกให้ร้อนเร็วขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการมีระบบจัดการแยกขยะที่ดีจำเป็นอย่างมากต่อการนำกลับมารีไซเคิล (Recycle) หรือ อัปไซเคิล (Upcycle) สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มซึ่งจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติและเป็นวิถีโลกยุคใหม่ที่จะสร้างความยั่งยืนและอยู่รอดได้

เมื่อไม่นานนี้ ส.ค.ส.ส่งท้ายปีเสือ โดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมกับบริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด และ Smiley” ได้เนรมิต “ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก” จากขยะพลาสติกทั้ง 7 ชนิด ให้เป็นแลนด์มาร์คแห่งการเฉลิมฉลองต้อนรับวันคริสต์มาส รวมถึงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ปี 2566

ต้นคริสต์มาสรักษ์โลกตั้งอยู่กลางลานดิสคัฟเวอรี่พลาซา สยามดิสคัฟเวอรี่ ดิเอ็กซ์พลอราทอเรี่ยม ขณะนี้เปิดให้ประชาชนได้ชื่นชมและได้เรียนรู้ไปจนถึงวันที่ 8 มกราคม 2566






ปีนี้ การออกแบบต้นคริสต์มาสรักษ์โลก “Circular Living X'mas Tree 2022”อยู่ในคอนเซ็ปต์ “SIAM SMILEY Celebration Infinite Happiness” ผสานแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ด้วยการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด นำพลาสติกใช้แล้วมาดีไซน์ เป็นต้นคริสต์มาสในรูปทรงกลมหน้ายิ้มแบบ Smiley เพื่อเข้าถึงทุกความสุขของทุกคนที่พบเห็น

“ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก” ถือเป็นแบบอย่างของการนำทรัพยากรมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดปริมาณการเกิดขยะ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในปีนี้ได้นำของที่ใช้แล้ว ซึ่งประกอบด้วยพลาสติกทั้ง 7 ชนิด มาออกแบบสร้างสรรค์ร่วมกับทาง Smiley จัดทำต้นคริสต์มาสหลากหลายแบบน่ารักๆ เพื่อทำให้เห็นว่าการทำเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นเรื่องใกล้ตัว ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้” ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ GC กล่าวถึงวัตถุประสงค์

พอหลังจากเสร็จสิ้นงานพลาสติกที่นำมาตกแต่งจะถูกนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ผ่าน YOUเทิร์น แพลตฟอร์มของ GC ที่สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนคัดแยกขยะมาสู่การเพิ่มคุณค่าให้กับพลาสติกได้อย่างครบวงจร และเป็นครั้งแรกที่จะนำพลาสติกทั้งหมดนี้กลับไปผ่านกระบวนการอัปไซคลิง(Upcycling) เพิ่มมูลค่าต่อไป

ทั้งนี้ GC เป็นอีกบริษัทชั้นนำที่มุ่งลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Decarbonization ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปล่อยทาง โดยการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% ภายในปีพ.ศ. 2573 และมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี พ.ศ. 2593 เพื่อลดโลกร้อน




กำลังโหลดความคิดเห็น