xs
xsm
sm
md
lg

น่าตกใจ! ประชากรสัตว์ป่า ลดฮวบ 70 % ในช่วง 50 ปี เหตุหลัก “การกระทำของมนุษย์”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


สิงโตหนุ่มกำลังมองไปยังเส้นขอบฟ้าของเมืองในอุทยานแห่งชาติไนโรบี สิงโตถูกระบุว่ามีความเสี่ยงในรายการแดงของ IUCN โดยอาจเหลือเพียง 23,000 ตัวในป่า เครดิตภาพ: Tony Karumba/AFP/Getty Images
จากการที่มนุษย์เรากวาดล้างป่าไม้ บริโภคทรัพยากรธรรมชาติที่มากเกินจำเป็น และก่อมลพิษจากการทำอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 50 ปี ที่ผ่านมา ประชากรของสัตว์ป่านั้นลดลงมากถึง 70%

นักวิทยาศาสตร์หลายคนคาดกันว่า ตั้งแต่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ มนุษย์เราได้อาศัยผ่านการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่มาถึง 6 ครั้ง และการสูญพันธุ์แต่ละครั้งนั้น เป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์

ระหว่างปี 2520-2562 ลูกสิงโตทะเลของออสเตรเลียลดลง 64% เนื่องจากการล่า การเข้าไปพัวพันกับอุปกรณ์ตกปลา หรือเศษซากสัตว์ทะเล และโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ ภาพ: Brad Leue/Alamy

Clip Cr.BBC News


Clip Cr.Al Jazeera English

ผู้เขียนรายงานปัญหาการลดลงของประชากรสัตว์ป่า ‘Living Planet’ จำนวน 89 คน ได้เรียกร้องและกระตุ้นให้ผู้นำโลกทำข้อตกลงภายในการประชุมสุดยอดความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ COP 15 ที่จะมีจัดขึ้นที่ประเทศแคนาดาในเดือนธันวาคมนี้ โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศา และเพื่อเป็นการหยุดยั้งการเสื่อมโทรมและการทำลายธรรมชาติ

รายงาน Living Planet ได้รวบรวมการวิเคราะห์ประชากรสัตว์จำนวน 32,000 ตัว จาก 5,230 สายพันธุ์จากทั่วโลก และสร้างกราฟดัชนีเพื่อทำการวัดหาการเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ป่าทั่วทวีป

การลดลงของประชากรสัตว์ป่าที่เลวร้ายที่สุดนั้น เกิดขึ้นในบริเวณ เขตลาตินอเมริกาและแคริเบียน รวมถึงอเมซอน แหล่งที่อยู่อาศัยเขตป่าดิบชื้นที่ใหญ่ที่สุดของสัตว์ป่า โดยกราฟดัชนีประชากรของสัตว์ป่าในเขตบริเวณนี้เห็นได้ชัดเจนเลยว่า ประชากรเฉลี่ยของสัตว์ป่านั้นดิ่งลงเป็นอย่างมาก โดยอัตราการลดของประชากรนั้นมากถึง 94% ภายใน 48 ปี

ส่วนทวีปแอฟริกานั้นมีการลดลงของประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 โดยอัตราการลดลงนั้นตกอยู่ที่ 66% ตามด้วย ทวีปเอเชียและเขตแปซิฟิก ที่ 55% และทวีปอเมริกาเหนือที่ 20% และอันดับสุดท้ายคือ ทวีปยุโรปและเขตเอเชียตอนกลาง ที่มีการลดลงของประชากรอยู่ที่ 18% ซึ่งคาดว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราการลดลงของประชากรสัตว์ป่านั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราการลดลงของประชากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ หรือเรียกได้ว่า ยิ่งประชากรมนุษย์เราในพื้นที่น้อยลง อัตราการลดลงของประชากรสัตว์ป่านั้นก็จะต่ำลงเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงในการใช้พื้นที่ธรรมชาติของมนุษย์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก การใช้พื้นที่ของมนุษย์นั้นทำให้ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เริ่มกระจัดกระจายและสูญหาย อีกทั้งยังทำให้การเคลื่อนย้ายของสิ่งมีชีวิตนั้นเป็นไปได้ยากขึ้นเนื่องจากมีสิ่งปลูกสร้างกีดขวางการเดินทาง ปัจจุบันเพียง 37% ของแม่น้ำที่มีความยาวมากกว่า 1,000 กิโลเมตร นั้นยังไม่มีสิ่งปลูกสร้างกีดขวางการ ในขณะที่พื้นที่บนบกที่มีระยะทางยาว 1,000 กิโลเมตร ที่ยังไม่โดนสิ่งก่อสร้างโดยมนุษย์กีดขวาง เหลือเพียงแค่ 10%

ซึ่งในขณะนี้ IUCN หรือ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ กำลังพัฒนาการจัดมาตรฐานการวัดความเป็นไปได้ในการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์ โดยมาตรฐานการวัดนี้จะเป็นตัวช่วยนักวิจัยวางแผนวิธีการฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตนับล้านชนิดที่กำลังตกอยู่ในภัยคุกคามการสูญพันธุ์ ซึ่งจากการจัดมาตราฐานและศึกษา นักวิจัยได้พบว่า พิราบชมพู แรดสุมาตรา และ สัตว์ท้องถิ่นหายากของประเทศออสเตรเลียอย่าง burrowing bettong ถูกจัดให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเป็นไปได้ในการฟื้นฟูประชากร

ตัวเลข 70% นั้น ถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้เป็นเพียงอัตราการลดของประชากรสัตว์ป่าโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 1970 ไม่ใช่ตัวเลขของจำนวนสิ่งมีชีวิตและสายพันธุ์ที่ตายหรือสูญพันธุ์ไป ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เราได้รู้ว่าการลดลงของประชากรสัตว์ป่านั้นเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยง หากเราทำแต่เพียงสงวนสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่าง ๆ ไว้ในเขตอนุรักษ์โดยที่ไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลิตและบริโภคของเรา

ที่มา :
WWF-Thailand
https://www.theguardian.com/environment/2022/oct/13/almost-70-of-animal-populations-wiped-out-since-1970-report-reveals-


กำลังโหลดความคิดเห็น