xs
xsm
sm
md
lg

เปิดแคมเปญ #ShowMeYourTree ปกป้องป่าฝนในลุ่มแม่น้ำโขง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์





Pulitzer Center องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสื่อสารมวลชนและการศึกษาเปิดตัวแคมเปญ #ShowMeYourTree เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและภูมิภาคอื่น ๆ มาร่วมมือกันปกป้องป่าฝนในภูมิภาคผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองและสมาร์ทโฟนที่ทุกคนใช้งานอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่อยู่อาศัยของป่าไม้เขตร้อนเกือบ 15 เปอร์เซ็นต์ของโลก และมีชนิดพันธุ์พืช สัตว์ และสัตว์ทะเลถึง 20 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั้งหมดทั่วโลก แต่ภูมิภาคนี้ยังมีอัตราการตัดไม้ทำลายป่าที่สูงที่สุดในโลกอีกด้วย โดยสูญเสียป่าฝน 1.2 เปอร์เซ็นต์ ต่อปีนับตั้งแต่ปี 2013

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา แม่น้ำโขงได้สูญเสียป่าไม้ไปถึง 38,230 ตารางกิโลเมตรเพื่อการตัดไม้ โครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรม ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไอร์แลนด์ ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม กำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่จากธุรกิจขนาดใหญ่ แผนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ และธรรมาภิบาลที่อ่อนแอ จากการมุ่งเน้นในการสร้างเม็ดเงินจากทรัพยากรผืนป่าซึ่งเป็นทรัพยากรส่วนรวม ทำให้ผืนป่าไม่สามารถปกป้องผู้คนจากระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่พร้อมสร้างภัยอันตรายต่อมนุษย์ได้ดีเท่าเดิมอีกต่อไป

แคมเปญ #ShowMeYourTree ได้รับแรงบันดาลใจจากกองทุน Rainforest Journalism Fund และรายงานของRainforest Investigations Network เป็นแคมเปญเพื่อสังคมบนโลกโซเชียลมีเดียเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมที่ง่ายต่อการมีส่วนร่วมสำหรับทุกคน โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับป่าไม้ในมุมมองของตนเอง

นางสาวฟลอรา เปเรรา ผู้อำนวยการด้านการศึกษานานาชาติและการประชาสัมพันธ์กล่าวว่า “ปัญหาสิ่งแวดล้อม การตัดไม้ทำลายป่า และสิทธิของชนพื้นเมืองไม่ใช่หัวข้อที่ง่ายต่อการสื่อสารหรือทำให้คนอยากมีส่วนร่วมเสมอไป อินฟลูเอนเซอร์ จึงเป็นส่วนสำคัญของสมการนี้เพราะเสียงของพวกเขาจะส่งต่อไปยังผู้ติดตามได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นท่ามกลางข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่มีอยู่มหาศาล”

นายแอนทอน แอล. เดลกาโด ผู้ที่ได้รับทุนจาก Rainforest Investigations Network กล่าวว่า "การเข้าถึงคนบนโลกโซเชียลมีเดียมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกป้องป่าฝนและทรัพยากรธรรมชาติ เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ และนักข่าว จะทำให้เราสามารถเผยแพร่ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจของ Pulitzer Center ไปสู่ผู้คนหลากหลายกลุ่มได้ในวงกว้างมากขึ้น"

นางสาวแคทเธอรีน แฮร์รี่ vlogger ชาวกัมพูชาและผู้ก่อตั้งบล็อก “A Dose of Cath” กล่าวว่า “ต้นไม้ทุกต้นล้วนมีประวัติความเป็นมา เรื่องราว และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ต้นไม้สามารถบอกเล่าเรื่องราวได้โดยที่ไม่ต้องเอ่ยปากพูดออกมา นั่นเป็นเหตุผลที่ฉันดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญนี้ เพราะประวัติศาสตร์ของป่าฝนของเราและรากเหง้าของมันมีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์มนุษย์อย่างแยกไม่ออก พวกเราเป็นหนึ่งเดียวกัน”

จากปัญหาชุมชนพลัดถิ่นอันเป็นผลมาจากการทำเหมืองทองคำในเมียนมาร์ ไปจนถึงการลักลอบล่าสัตว์และตัดไม้บนภูเขากระวานของกัมพูชาอย่างผิดกฎหมาย และการขับไล่ชนเผ่าพื้นเมืองออกจากดินแดนบรรพบุรุษในประเทศไทย ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคที่เสียงของเรามักถูกปิดปาก

นายอาล็อค ชาร์มา ประธาน COP 26 เคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าเราลงมือทำตอนนี้ และลงมือทำร่วมกัน เราจะสามารถปกป้องโลกอันมีค่าของเราได้”

ร่วมต่อสู้เพื่อปกป้องป่าไม้ที่เป็นของพวกเราทุกคนผ่านแคมเปญ #ShowMeYourTree ได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
เพียงแค่แชร์คอนเทนต์ของคุณเกี่ยวกับ กับป่า ต้นไม้ หรือพืชที่คุณรักไม่ว่าจะเป็น ความทรงจำ ภาพถ่าย อินสตราแกรมสตอรี่ อินสตราแกรมรีล มีม สโลแกน หรือภาพวาด... ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริง เรื่องตลก หรือเรื่องบังเอิญ และส่งเสียงตะโกนบอกให้โลกรู้ผ่านแฮชแท็ค #ShowMeYourTree

ข้อมูลน่าสนใจ "สภาพป่าไม้-ผลกระทบ ของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"


• 8 ประเทศในอาเซียน ซึ่งรวมไปถึง เมียนมาร์ กัมพูชา และไทย ติดอันดับในกลุ่ม 50 ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ


• พื้นที่ป่าไม้ใน อาเซียน ลดลง 10 เปอร์เซ็นต์ ในทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เปอร์เซ็นต์ของป่าชุมชนที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มาจากการปลูกป่า แต่เพราะว่าป่าชุมชนมีการตั้งคำจำกัดความไว้ชัดเจนมากกว่า


• กัมพูชา สูญเสียต้นไม้ปกคลุมไปเกือบ 22,000 ตารางกิโลเมตร (8,494 ตารางไมล์) มากกว่า 20% ระหว่างปี 2001 ถึง 2019 ตามข้อมูลจาก Global Forest Watch ตัวขับเคลื่อนหลักที่อยู่เบื้องหลังการตัดไม้ทำลายป่าในกัมพูชาคือการแปลงพื้นที่ป่าเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและการตัดไม้สายพันธุ์ที่มีค่า เช่น Rosewood สำหรับตลาดเฟอร์นิเจอร์ในเอเชีย


• ในประเทศไทย ระหว่างปี 2014-2015 คดีที่เอาผิดชุมชนท้องถิ่นเพิ่มเป็น 7,000 คดี และมีการยึดที่ดินกว่า 30,000 ตารางเมตร อันเป็นผลมาจากนโยบายทวงคืนผืนป่า อย่างไรก็ตาม 20 ปีหลังจากการบังคับใช้นโยบายนี้ ป่าของประเทศไทยยังคงมีพื้นที่เท่าเดิม


• เมียนมาร์ มีแหล่งถ่านหินขนาดใหญ่ 17 แห่ง โดยมีทรัพยากรรวมมากกว่า 500 ล้านตัน ตามรายงานอิสระของ Myanmar Alliance for Transparency and Accountability (MATA) ในปี 2019 พบว่าขี้เถ้าถ่านหินที่เก็บไว้ในโรงงานรั่วไหลออกมาและทำลายสุขภาพของคนในท้องถิ่น รวมถึงการแท้งบุตร โรคมะเร็ง และโรคร้ายแรงอื่นๆ


• ชาวเมียนมาร์และนักเคลื่อนไหวกล่าวถึงการทำลายสิ่งแวดล้อมในวงกว้างอันเป็นผลมาจากตื่นทอง ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสีย การกัดเซาะ การตัดไม้ทำลายป่า และการสูญเสียพื้นที่การเกษตร

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ searainforest.org


กำลังโหลดความคิดเห็น