xs
xsm
sm
md
lg

อนาคตของการศึกษานอกระบบ! 20 ปีแห่งความสำเร็จของ แมทเฮ้าส์ เลิร์นนิ่ง เซ็นเตอร์

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์





พันธกิจของกระทรวงศึกษาธิการและแผนการปฏิรูปด้านการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งมีทิศทางตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่ต้องเร่งเดินหน้า โดยเฉพาะต้องเร่งเรื่องการเตรียมคนสู่ศตวรรษที่ 21 นั้น ได้รับความร่วมมือจากแวดวงผู้เกี่ยวข้องและเกิดการขับเคลื่อนแบบบูรณาการจากภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้ปกครองที่ต้องทำความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากความก้าวล้ำด้านเทคโนโลยีและรูปแบบการเรียนรู้

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ การวิจัยและพัฒนาเพื่อประกันคุณภาพการศึกษาเอกชนทั้งในระบบและนอกระบบ ทั้งนี้โดยรวมถึงโรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนวิชาชีพ และ โรงเรียนศิลปะและกีฬา อีกด้วย ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงทางเลือกด้านการศึกษาที่มีเพิ่มมากขึ้น

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานเสวนา Match Star Journey to Success ในหัวข้อ "การศึกษาไทยกับอนาคตเด็กยุคไฮบริด" ซึ่งจัดขึ้นในโอกาสครบรอบ 20 ปี แมทเฮ้าส์ เลิร์นนิ่ง เซ็นเตอร์ กล่าวในตอนหนึ่งว่า

“โลกในปัจจุบันและอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราต้องก้าวตามให้ทัน แต่การที่จะพัฒนาให้การศึกษาของไทยก้าวไปข้างหน้าได้นั้น ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าระบบการศึกษาของเรามีโครงสร้างที่ใหญ่ ทุก ๆ เรื่องขึ้นตรงกับศูนย์กลาง ทำให้หลายอย่างปรับเปลี่ยนยาก มีความล่าช้า การที่จะช่วยกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านการศึกษานั้น เราต้องมีความเข้าใจและพร้อมจะก้าวกระโดดออกไปจากระบบโครงสร้างเดิม ๆ เพื่อให้เด็กอีกจำนวนไม่น้อยได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา”

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ,พรพิมล ปักเข็ม และ ดร.พะโยม ชิณวงศ์
ปรับโครงสร้างทางการศึกษา เพิ่มโอกาสให้เด็กยุคใหม่ได้เข้าสู่เส้นชัยของตนเอง

“ยุคนี้ไม่ควรใช้วิธีคิดเป็นเหมือนในยุคก่อนที่หากไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาก็ไม่สามารถหาความรู้ได้ แต่ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องเข้าไปอยู่ในระบบการศึกษาแบบเดิมก็สามารถหาความรู้ได้แล้ว โดยอาศัยเทคโนโลยี เครื่องมือสื่อสาร และอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการของเด็กยุคนี้ก็ไม่เหมือนในยุคก่อน คนยุคนี้ต้องการอิสระ รู้จักตั้งคำถาม ค้นหาตัวเอง และรู้ว่าตนเองต้องการอะไร ที่สำคัญตลาดแรงงานควรหันมาให้ความสำคัญกับทักษะ มุ่งเน้นการนำความรู้มาใช้ได้จริง เลิกติดยึดกับค่านิยมเดิม ๆ ที่ยังต้องดูเกรด ต้องดูสถาบันการศึกษา ถ้ายังเป็นแบบนี้แปลว่าสังคมยังไม่รองรับวิธีคิดแบบใหม่ อย่าให้ค่านิยมเดิม ๆ กลายเป็นตัวถ่วงอนาคตของเด็กไทยและสวนทางกับเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำในยุคปัจจุบัน”

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน ใครรู้จักตัวเอง ค้นพบตัวเองได้เร็วก็ถึงเป้าหมายได้เร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก โดยเฉพาะปัจจุบันมีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในหลาย ๆ ด้านอยู่แล้ว ด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทั้งสามฝ่าย คือผู้เรียน ผู้สอน และผู้ปกครองที่ต้องมีความเข้าใจและความใส่ใจในการที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุนเด็ก ๆ ที่เป็นบุตรหลานของท่าน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษาก็ยังต้องมีหน้าที่ในการดูแลทักษะที่จำเป็นซึ่งอาจไม่ใช่ความชอบหรือความถนัด เนื่องจากในกระบวนการสร้างคนนั้น จำเป็นต้องสอดแทรกหลักวิชาที่มีผลต่อวิธีคิด ความถูกผิด ความมีเหตุมีผล เพราะในชีวิตจริงเราก็ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม แค่ทักษะเฉพาะตัวและความสำเร็จเฉพาะด้านก็ยังไม่ครบถ้วนเพียงพอในการใช้ชีวิต จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทักษะที่จำเป็นอื่น ๆ เข้ามาเติมเต็มด้วย

พรพิมล ปักเข็ม
นางสาวพรพิมล ปักเข็ม ประธานกรรมการ บริษัท แมทเฮ้าส์ เลิร์นนิ่ง เซ็นเตอร์ เปิดเผยว่าจากประสบการณ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาแมทเฮ้าส์ เลิร์นนิ่ง เซ็นเตอร์ สถาบันซึ่งจัดอยู่ในประเภทการศึกษานอกระบบ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ด้วยการวางจุดยืนของสถาบันฯ ให้เป็นศูนย์การเรียนครบวงจรที่เน้นการพัฒนาศักยภาพรายบุคคลด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ ประมวลผล ค้นหาศักยภาพและนำไปสู่แนวทางการเรียนรู้ที่ถูกต้องชัดเจน

ค้นพบศักยภาพของตนเองให้เร็วที่สุด ย่นระยะเวลาสู่ความสำเร็จ

“เพราะเราเชื่อว่าสมองของเด็กทุกคนมีความเป็นอัจฉริยะซ่อนอยู่และมีศักยภาพที่แตกต่างกัน เราจึงต้องค้นหาศักยภาพโดยกำเนิดเป็นรายบุคคล เนื่องจากบางคนเรียนรู้ได้ดีจากการฟัง บางคนเรียนรู้ได้ดีจากการเห็น บางคนเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัส ด้วยเหตุนี้เราจึงร่วมมือกับ TalentDetective สถาบันวิเคราะห์และพัฒนาศักยภาพ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านศาสตร์ลายผิววิทยา Dermatoglyphics โดยนำนวัตกรรมการสแกนลายนิ้วมือมาประเมินศักยภาพโดยกำเนิดของเด็กแต่ละคน เพื่อกำหนดทิศทางการศึกษาและกลุ่มอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของน้อง ๆ ควบคู่ไปด้วยกันกับการสอนวิชาหลักอย่างคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือเด็กแต่ละคนจะสามารถค้นพบตนเอง รู้จักตนเอง และดึงศักยภาพที่เขามีออกมาใช้ได้อย่างคุ้มค่า ไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหาตัวเองแบบไร้ทิศทาง อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจและทำงานไปด้วยพร้อมกัน ทั้ง โรงเรียน ครู นักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อช่วยกันส่งเสริมให้เด็กเติบโตและโดดเด่นในเส้นทางของตนเอง”

อยากเชิญชวนให้ผู้ปกครองให้โอกาสกับลูกหลาน เข้ามาวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน เข้ามาค้นพบความสามารถที่ซ่อนอยู่ของลูก ๆ หรือแม้แต่ตัวท่านผู้ปกครองเองก็ยังสามารถนำผลการสแกนลายนิ้วมือของเราไปใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้อีกด้วย ติดต่อนัดหมายได้ที่สาขาบางแค เพชรเกษม 84 สาขาเซ็นทรัล พระราม 2 และ ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ นอกจากนี้ในส่วนของเทคโนโลยีสแกนลายนิ้วมือ TalentDetective ทางสถาบันฯ ยังเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษารวมถึงองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เล็งเห็นถึงคุณค่าความสำคัญของการค้นพบตนเองและศักยภาพที่ซ่อนเร้นของแต่ละคน สามารถเข้ามาเป็นพันธมิตรในลักษณะ partner licensing ได้ ทั้งนี้เพื่อการเรียนรู้และการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้คนให้ถูกกับงาน และใช้ประโยชน์ในทรัพยากรมนุษย์ให้ได้อย่างคุ้มค่า นางสาวพรพิมล กล่าวในตอนท้าย

ดร.พะโยม ชิณวงศ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เปิดเผยว่า การส่งเสริมการศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนให้สอดคล้องกับโลกยุคปัจจุบัน การจะพัฒนาคนจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทุกคนมีศักยภาพ แต่ด้วยความชอบความถนัดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าเอาเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปมาใช้กับคนทุกคนแล้วคาดหวังว่าจะให้เกิดผลสัมฤทธิ์นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กล้านคนจึงน่าจะมีล้านหลักสูตรนอกเหนือจากหลักสูตรพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาเป็นรายบุคคล ซึ่งในกระบวนการบริหารจัดการนั้นยังเป็นเรื่องยาก ฉะนั้นผู้เรียนต้องกำหนดทิศทางให้ตัวท่านเอง โดยต้องรู้จักตัวเอง ค้นพบตนเองให้เร็วที่สุด และเพื่อความชัดเจนแม่นยำยังสามารถใช้เทคโนโลยีสแกนลายนิ้วมือซึ่งเป็นเครื่องมือชี้วัดศักยภาพที่แท้จริงของแต่ละคนว่าควรเรียนด้านไหน ประกอบอาชีพเกี่ยวกับอะไร เพราะอะไร จะได้รู้ตั้งแต่แรกว่าความชอบกับความถนัดที่แท้จริงของท่านสามารถไปด้วยกันได้หรือไม่


เลือกทางเดินอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง บนมาตรฐานที่หลากหลาย

ในส่วนของการเรียนขั้นพื้นฐานยังมีความจำเป็น แต่รูปแบบการเรียนการสอน ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ เมื่อก่อนเรายึดการศึกษาในระบบเป็นหลัก แต่ผมเชื่อว่าด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยวิธีคิด และความก้าวล้ำด้านเทคโนโลยีที่สามารถย่อโลกให้แคบลงได้ สามารถสื่อสารกันได้อย่างใกล้ชิดและทันท่วงที ทำให้ในขณะนี้ช่องทางการศึกษามีมากขึ้น สมัยนี้เด็ก ม.ปลาย เริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น การศึกษานอกระบบมีบทบาทมากยิ่งขึ้น 

"ที่สำคัญผู้เรียนต้องสามารถนำเอาความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์มาใช้ผสมผสานกันได้ เพื่อให้เกิดศักยภาพในการประกอบอาชีพ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข เพราะขณะนี้ผู้เรียนมีทางเลือกมากมาย และไม่ตีกรอบคำว่ามาตรฐานอยู่แค่บรรทัดฐานเดียว" ดร.พะโยม กล่าวโดยสรุป