ในวันครบรอบ 5 ปีของข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เรามาเปิดขวดแชมเปญฉลองกันดีไหม? ยัง…มันยังไม่เร็วขนาดนั้น
โลกโดยรวมยังคงตกอยู่ในอันตรายจากความล่าช้าในการชะลอผลกระทบภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงห้าปีที่ผ่านมามีหลายสัญญาณเชิงบวกของการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น รวมทั้งจากผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ที่สุดของโลกด้วย
“เรากำลังก้าวไปอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมา” Christiana Figueres อดีตนักการทูตแห่งสหประชาชาติซึ่งเป็นผู้นำการเจรจาให้เกิดข้อตกลงปารีสในปี 2015 นั้น ได้กล่าวในงานแถลงข่าวครบรอบในสัปดาห์ที่ผ่านมา
เนื่องจากใกล้สิ้นปีแล้ว เราจึงตัดสินใจที่จะโฟกัสไปยังแก้วที่เต็มเพียงครึ่งใบ และไฮไลต์5อันดับแรกผลงานความสำเร็จของข้อตกลงปารีสในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา:
1.ความยืดหยุ่นทางการเมือง: ผู้ปล่อยก๊าซโลกร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลกส่วนใหญ่รวมถึงจีนได้ให้สัญญาว่าจะลดการปล่อยก๊าซให้เหลือศูนย์ภายในกลางศตวรรษนี้ หมายความว่าจะกำจัดก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากเท่าที่มีการปล่อยออกมา
2.การทำให้ยอดสุทธิเป็นศูนย์: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) กลายเป็นคำที่แพร่หลายอย่างรวดเร็วของปี 2020 โดยจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลกได้เข้าร่วมกับสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรในการกำหนดเป้าหมายการปลอดคาร์บอน
3.การเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด: การผลิตไฟฟ้าในโลกเกือบทั้งหมดนั้นเคยมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นพิษ เช่น ถ่านหิน แต่ในปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวได้เปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับราคาของพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงเร็วกว่าที่คาดไว้มาก
4.การเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน: สถาบันต่างๆ ตั้งแต่หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินไปจนถึงหน่วยงานของเมืองเทศบาลต่างๆ ได้ตั้งเป้าหมายและหลักการของข้อตกลงไว้ในนโยบายของพวกเขา นับเป็นการสร้างช่องทางใหม่ในการรับผิดชอบต่อสภาพอากาศของโลก
5.การปรับเป้าหมายลดการเพิ่มของอุณหภูมิโลกเป็น 1.5 องศาเซลเซียส: หนึ่งในเซอร์ไพร์สของข้อตกลงปารีสคือการจำกัดอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นไว้ที่ 1.5°C รายงานสำคัญโดยIPCC ซึ่งเผยแพร่ในปี 2018 ได้ตอกย้ำความแตกต่างครึ่งองศา (จาก 2°C เป็น 1.5°C) นั้นจะสามารถสร้างรายได้ให้กับชีวิตนับล้านชีวิต
เราจะบอกออะไร... ในโอกาสวันครบรอบ 5 ปีของข้อตกลงปารีส นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ว่า 1) บริษัทต่างๆ
ทั่วโลกยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเท่าใดในปัจจุบัน และ 2) ผลกระทบโดยนัยของการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก
ในประเด็นแรก เราพบว่าสัดส่วนของบริษัทที่เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซอย่างน้อย Scope 1 และ Scope 2 เพิ่มขึ้นจาก 44 เปอร์เซ็นต์เป็น 68 เปอร์เซ็นต์จากปี 2014 ถึง 2019 อย่างไรก็ตาม อัตราการเปิดเผยข้อมูลไม่ได้สอดคล้องกันในทุกภูมิภาค โดยยุโรปเป็นผู้นำด้วยอัตราการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มขึ้นจาก 51 เปอร์เซ็นต์เป็น 72 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เอเชียมาแรงชิงอันดับสองจากสหรัฐอเมริกาในปี 2019 โดยได้แรงหนุนมาจากทั้งการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในสหรัฐอเมริกาที่ลดลงและการเปิดเผยข้อมูลจากบริษัทในเอเชียที่เพิ่มขึ้น
ประเด็นที่สอง ในส่วนของผลที่ตามมาของการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า 45 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทในยุโรปมีความสอดคล้องกับข้อตกลงปารีสในระยะยาว (ปี 2050) โดยมีคะแนน TemperatureTM Score ที่คำนวณโดย Arabesque S-Ray อยู่ที่ 1.5ºC หรือ 2ºC ในขณะที่เอเชียและสหรัฐอเมริกาตัวเลขเหล่านี้อยู่ต่ำกว่ามากที่ 37 เปอร์เซ็นต์และ 33 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังมีสัดส่วนของบริษัทที่ได้รับคะแนนการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ หรือที่มีคะแนน 3ºC มากที่สุด ถึงร้อยละ 36 แม้ว่าจะมีสัดส่วนจำนวนบริษัทขนาดใหญ่ที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดก็ตาม ในขณะที่จำนวนบริษัทในเอเชีย และบริษัทในยุโรปที่ได้รับคะแนน3ºC มีสัดส่วนต่ำกว่ามากที่ 33 เปอร์เซ็นต์และ 28 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ตัวเลขเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงขนาดของความท้าทายในการประเมินการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกจากการขาดการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซอีกด้วย
จะเห็นว่าความโปร่งใสในการเผยข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเป็นสิ่งสำคัญในการปิดช่องว่างของข้อมูลเหล่านี้
หมายความว่าอย่างไร… มันสำคัญที่เราจะต้องตระหนักถึงพัฒนาการที่สำคัญต่างๆ ของการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่ถูกขับเคลื่อนโดยข้อตกลงปารีสที่กำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา แต่การมองโลกในแง่ดีของความคืบหน้าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น อาจต้องถูกลดทอนไปกับความเป็นจริงอันโหดร้ายว่าเราจะไปต่อได้ไกลแค่ไหน
รายงานสำคัญขององค์การสหประชาชาติซึ่งเผยแพร่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยร้อยละ 1.4 ต่อปีในฃ่วงระหว่างปี 2010 ถึง 2019 โดยเฉพาะในปี 2019 มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่เกิดจากการปล่อยก๊าซที่เกิดจากไฟป่า ซึ่งไฟป่านั้นก็เป็นผลมาจากการที่สภาพอากาศร้อนขึ้น
ในปี 2020 มีการคาดว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะลดลงประมาณร้อยละ 7 เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งส่งผลกระทบต่อแนวโน้มภาวะโลกร้อนโดยรวมเพียง "เล็กน้อย" เท่านั้น ในความเป็นจริงคืออุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นแล้ว 1ºC นับตั้งแต่ยุคก่อนอุตสาหกรรม และยังคงมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมากกว่า 3ºC ภายในสิ้นศตวรรษนี้
สรุปแล้วเรามาทำงานให้หนักมากขึ้นกันต่อไปเถิด แล้วค่อยมาฉลองให้หนักขึ้นเมื่อมีความคืบหน้าของการลดอุณหภูมิโลกที่มากขึ้น
บทความโดย ธัญญรัศม์ ริลินเกอร์
Arabesque
S-Rayผู้ให้บริการข้อมูล คำปรึกษา และโซลูชั่นด้านความยั่งยืน (ESG) โดยมีการประเมินความยั่งยืนในมิติต่างๆของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลก ข้อมูลอัพเดททุกวัน
Credit Clip : New India Junction