ปัจจุบันมีหลายองค์กร พยายามที่จะทำสถิติเพื่อให้เราเห็น plastic footprint และที่มาของพลาสติก โดยเฉพาะขยะพลาสติก แม้ว่าพลาสติกเหล่านี้ส่วนใหญ่จะสามารถรีไซเคิลได้
แต่วิธีการใช้ วิธีการนำเสนอ กระบวนการจัดการ รวมไปถึงวัฒนธรรมใช้แล้วทิ้ง ยังก่อให้เกิดปัญหาขยะอย่างต่อเนื่อง และไม่มีแนวโน้มที่จะมีอะไรที่ดีขึ้นหรือมีอะไรที่จะเปลี่ยนแปลงได้
จริงๆ เราสามารถ ใช้ข้อมูลการบริโภคพลาสติกเพื่อประเมินผลกระทบจากพลาสติกที่แต่บริษัทก่อขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยข้อมูลนี้เข้าถึงไม่ได้ ด้วยข้ออ้างทางการแข่งขันทางการค้าของบริษัท แต่ข้อมูลภาพใหญ่ของโลกเรายังสามารถเห็นได้อยู่
ยิ่งไปกว่านั้น เรายังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการบริโภคพลาสติก เข้ากับข้อมูลขยะพลาสติก ได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ โดยกระบวนการที่เรียกว่า brand audit (การตรวจสอบแบรนด์) เมื่อนำขยะที่เก็บได้มาแยกจำนวนชิ้นโดยผู้ผลิต เราจะได้ภาพกว้างๆ ของ บริษัทที่ใช้พลาสติกสูงที่สุด ทำความสกปรกให้กับโลกมากที่สุดไปด้วย
Brand Audit จึงเป็น exercise และกิจกรรมที่ให้ความรู้ ให้พลังทางด้านข้อมูลกับเราเมื่อถึงเวลาต้องทำงานกับภายนอก ข้อมูลเหล่านี้เป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจที่สำคัญ
ในไทยการทำแบรนด์ออดิทมีภาพที่ต่างกันเล็กน้อย อันดับต้นเป็นเครือ ซีพี แทนบริษัทเครื่องดื่ม ตามมาด้วย ดัชมิลท์ โอสถสภา TCP และ แลคตาซอย แต่เมื่อเรามองภาพรวมของอุตสาหกรรม จะเห็นว่า มีอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม น้ำดื่มและ ที่เรียกรวมๆ ว่า FMCGs หรือ fast moving consumer goods ที่เป็นจำเลยหลักที่ใช้ และก่อปัญหาพลาสติก
เราแยกปัญหาออกเป็นสองส่วนหนึ่ง คือ ใช้พลาสติก แม้ว่าจะมีสัดส่วน LCA ที่ต่ำ (Life Cycle Assessment: LCA หมายถึงการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์) แต่อีกฝั่งของการใช้พลาสติก ผลักดันให้มีการเผา fossil fuel สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถแยกกันได้ และการรีไซเคิลพลาสติก สามารถทำได้จำกัด จึงไม่ใช่วัสดุที่ sustainable หรือ renewable หรือแม้กระทั่ง ไม่ควรถูกเรียกว่า recycle ทั้งที่ความเป็นจริงวัสดุถูก down cycle ก่อปัญหา ขยะพลาสติก เนื่องจากวิธีการใช้ ที่ผลักดันโดยผู้ผลิต และเลี่ยงความรับผิดชอบ ที่จะจัดการบรรจุภัณฑ์ของตัวเอง ทำให้พลาสติกจำนวนมากไม่เคยถูกรีไซเคิล
มีเพียง 9% ของพลาสติกที่ถูกผลิตขึ้นมานั้นถูกรีไซเคิล ที่เหลือเป็นขยะทั่วโลก เทียบกับ อลูมิเนียมที่ 70% ถูกรีไซเคิล
เราจึงเห็นบริษัทเหล่านี้ในปัจจุบันพยายามมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ ที่จะช่วยลดปัญหาพลาสติก ซึ่งเป็นโจทย์ต่อไปที่เราจะมาประเมินว่ากิจกรรมเหล่านั้นมีสัดส่วนช่วย มากน้อยเพียงใด หรือเป็นเพียงการสับขาหลอก และที่ทำนั้น เจตนาหรือไม่ หรือเพียงขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยรวมแล้ว กระบวนการที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่เรียกว่า Green Washing (การฟอกเขียว) หรือไม่?
การฟอกเขียว (Green Washing) คือ การทฎให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดด้วยการโฆษณาสินค้าหรือองค์กรให้มี ภาพลักษณ์ว่ารับผิดชอบต่อสังคมโดยการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ไว้วันหลังคุยกันเรื่อง green washing ต่อไป
บทความโดย ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย นักวิทยาศาสตร์ /อาจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ /เจ้าของแนวคิด “รองเท้าทะเลจร”
ข้อมูลอ้างอิง https://www.facebook.com/DrNattapongNithiUthai/
เครดิตคลิป Bottom Line