xs
xsm
sm
md
lg

ยูเอ็น เตือนโลกร้อนยังไม่ชะลอตัว ‘โควิด-19’ ไม่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศแต่อย่างใด

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง
รายงานขององค์การสหประชาติ หรือ UN สะท้อนวิกฤตโควิดไม่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศช้าลง แม้ว่าผลจากการแพร่ระบาดในปีนี้ ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกรอบปีลดลงถึง 7% ทว่าการชะลอตัวของผลกระทบที่มีต่อชั้นบรรยากาศนั้น มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ผลการวิเคราะห์การปล่อยสารจากการเผาไหม้ฟอซซิลลดลงต่ำสุดในเดือนเมษายน 2020 ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว การปล่อยก๊าซกลับมาพุ่งสูงเทียบเท่ากับเมื่อปีก่อน

Dr.Pep Canadell จากCSIRO สถาบันทางสภาพอากาศในออสเตรเลียกล่าวว่า ในช่วงสิ้นปี 2020 ผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อ covid-19 จะลดการปล่อยก๊าซได้มากเป็น 2 เท่าของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2007 "สำหรับปีนี้ ความเข้มข้นพื้นฐานของก๊าซ co2 ยังไม่เปลี่ยนแปลง นั่นเป็นเพราะ พวกเราปล่อยก๊าซถึง 42 ล้านตันในปีก่อน ดังนั้นแม้เราจะลดการปล่อยก๊าซไปถึง3% ของค่าเฉลี่ย มันก็ไม่ช่วยอะไรเลย"

จากการวิเคราะห์การปล่อยก๊าซในเดือนมิถุนายน ในรายงานของ The United in Science ระบุว่า ปี 2020 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยจะน้อยกว่าปี 2019 ถึง 4-7% แต่ถึงอย่างนั้น ปริมาณก็ยังเทียบเท่ากับปี 2006 หรือ 14 ปีก่อน

ในช่วงเดือนเมษายน การปล่อยก๊าซประจำวันลดลงถึง 17% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่หลังจากนั้นกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติที่มีการปล่อยก๊าซซึ่งก็กลับมาเท่าเดิม

การปล่อยก๊าซที่ลดลงในปีนี้ เทียบเท่ากับประมาณ 0.23 ppm ซึ่งพอๆ กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้จากปัจจัยทางธรรมชาติอื่นๆ

Prof.Petteri Taalas เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) กล่าวว่า "การสะสมก๊าซเรือนกระจกได้เกิดขึ้นมา 3 ล้านปี และมันก็ยังสะสมมสกขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2016-2020 ซึ่งเป็นช่วง 5 ปีที่โลกมีอากาศร้อนที่สุดเท่าที่มีการจดบันทึก นั่นเป็นการบอกว่า แม้ชีวิตพวกเราจะเปลี่ยนแปลงหลายอย่างแต่สภาพอากาศก็ยังร้อนขึ้นเรื่อยๆ นอกเสียจากเศรษฐกิจจะพักตัวนาน และรัฐบาลทั่วโลกหันมาเห็นความสำคัญของภาวะโลกร้อน เท่าๆกับที่เห็นความสำคัญของเศรษฐกิจ"

ผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก 3 ครั้งในช่วง 4 ปี เกิดขึ้นจากไฟป่า และมีโอกาสถึง 1 ใน 4 ที่ในช่วง 2020-2024อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้น 1.5 องศาเมื่อเทียบกับช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม

ผลการศึกษาระบุว่าภายในปี 2030 โลกจะต้องลดการปล่อยก๊าซรวมของประเทศผู้ผลิตคาร์บอน 6 อันดับแรกเพื่อให้มีโอกาสอยู่ต่ำกว่า 1.5 C ได้อย่างสมเหตุสมผล แม้ว่าดูจะเป็นไปไม่ได้ แต่รายงานระบุว่าโดยพื้นฐานแล้วจะต้องมีการชะลอตัวของคาร์บอนเสมือนว่าเกิดการระบาดของโควิดทุกปีนับจากนี้ไปจนถึงสิ้นทศวรรษ

หลักฐานที่แสดงถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่เคยบันทึกไว้ ระหว่างปี 2016 ถึง 2020 อัตราการเพิ่มขึ้นคือ 4.8 มม.ต่อปี เพิ่มขึ้นจาก 4.1 มม. ที่บันทึกไว้ระหว่างปี 2011 ถึง 2015

ปริมาณน้ำแข็งในทะเลในอาร์กติกลดลงอย่างต่อเนื่องในอัตรา 13% ต่อทศวรรษ อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังทำให้เกิดภัยแล้งและคลื่นความร้อน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า

ในไซบีเรียการศึกษาการระบุแหล่งที่มาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าความร้อนที่ยังคงมีอยู่ระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปีนี้มีโอกาสอย่างน้อย 600 เท่าจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ขับเคลื่อนโดยมนุษย์

"ไม่เคยมีความชัดเจนมาก่อนเลยว่าเราต้องการการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่ครอบคลุมและจัดการกับวิกฤตสภาพอากาศและบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน" นายอังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวไว้ในคำนำของรายงานนี้

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.theguardian.com/.../impact-of-covid-slowdown...

https://www.bbc.com/news/science-environment-54074733


กำลังโหลดความคิดเห็น