ปีนี้เป็นครั้งแรกที่จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยไทยแห่งเดียวที่ได้ขึ้นสู่ 100 อันดับแรก ด้านชื่อเสียงทางวิชาการ ในการจัดการอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดย QS World University Ranking 2021 ซึ่งประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นข่าวดีต้อนรับการดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวาระที่ 2 ของ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
การจัดอันดับครั้งนี้ มีมหาวิทยาลัยจากทั่วโลก 1,600 แห่งเข้าร่วม โดยพิจารณาตัวชี้วัด6 ด้าน ได้แก่ ความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ (40%) การยอมรับจากนายจ้าง (10%) สัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษา (20%) ผลงานวิชาการต่ออาจารย์ (20%) สัดส่วนของอาจารย์ชาวต่างชาติ (5%) และสัดส่วนของนักศึกษาชาวต่างชาติ (5%)
จะเห็นได้ว่าปัจจัย “ความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ (Academic Reputation)” เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย โดย QS โดยประมวลผลจากการแสดงความคิดเห็นของตัวแทนนักวิชาการ ผู้ประกอบการและสถาบันการศึกษากว่า 100,000 คนทั่วโลก
ผลการจัดอันดับปีล่าสุด (2021) จุฬาฯครองอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยไทยเป็นปีที่ 12 และเป็นอันดับ 22ของมหาวิทยาลัยไทยในเอเชีย และอันดับ 96 ของโลก
นี่จึงคล้ายการประเมินผลงานของ ดร.บัณฑิต ในการบริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวาระที่ผ่านมา ที่ยืนยันด้วยการบรรลุเป้าหมายติดอันดับโลกแล้วด้านชื่อเสียงทางวิชาการ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญตามพันธกิจ
ศ.ดร.บัณฑิตบอกว่า ปีนี้จุฬาฯได้รับการจัดอันดับดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากปีที่แล้วถึง 39 อันดับ ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาระบบการเรียนการสอนและสร้างผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องของชาวจุฬา ที่มุ่งให้ความรู้ทางวิชาการนำไปช่วยสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยให้หลุดจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน
วิสัยทัศน์ยุคใหม่ที่เริ่มขึ้นแล้ว จึงมุ่งให้เป็นต้นแบบมหาวิทยาลัยที่สรรค์สร้างนวัตกรรมหลากหลายเพื่อสังคม ที่จุฬาฯ มุ่งผลักดัน 3 แกนหลักให้ถึงขีดสุด คือ 1.การพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต 2.การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบสูง 3.มุ่งความยั่งยืนทางสังคม
การพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต บัณฑิตจุฬาฯ ต้องเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของประเทศและโลก ดังนั้น จึงสร้างบัณฑิตให้มีทักษะทันสมัยของศตวรรษที่ 21 โดยมีจุดเด่น 3 มิติ คือ 1.มีความรู้พื้นฐานเชิงวิชาการ 2.มีความพร้อมในการแข่งขันและแก้ปัญหาของสังคมโลกที่ซับซ้อน อีกทั้งรู้จักคิดและรู้จักสงสัย 3.กล้าที่จะเผชิญความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
“ผมคิดว่า ทักษะเหล่านี้ควรมีอยู่ในระบบการศึกษาทุกระดับของไทยด้วย” ศ.ดร.บัณฑิต กล่าว
การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบสูง จากความคิดที่ต้องการใช้นวัตกรรมมาช่วยแก้ปัญหาของสังคมไทย ในวันที่สังคมไทยมีปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จุฬาฯจึงนำองค์ความรู้มาสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่การป้องกัน-ตรวจสอบ
ผลก็คือ จุฬาฯ ได้ผลิตนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ได้แก่ สเปรย์ฉีดเพิ่มประสิทธิภาพหน้ากากอนามัย หน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield) ที่ออกแบใหม่ให้เบาเป็นพิเศษ และเครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ส่วนนวัตกรรมการตรวจสอบโควิด-19 ได้แก่ Chula COVID-19 Strip Test ตู้ความดันลบ และเครื่องตรวจโควิด-19 อัตโนมัติที่รู้ผลเร็วและแม่นยำถึง 99%
นอกจากนี้ ในแง่การแก้ไขผลกระทบจากโควิด-19 จุฬาฯไม่เพียงเป็นผู้นำการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA และวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบยาสูบแห่งแรกของประเทศไทย แต่ยังมองไกลถึงผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมซึ่งทำให้คนว่างงานเป็นจำนวนมาก จุฬาฯ จึงเปิดหลักสูตรการเรียนออนไลน์ฟรีแก่คนทั่วไป ได้แก่ Chula MOOC, Quick MBA และ Coursera เพื่อเพิ่มทักษะคนอย่างรอบด้าน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและกลับมาเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศได้อีกครั้ง
การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน จุฬาฯกำหนดให้ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable Development เป็นหลักคิดในการดำเนินนโยบายของมหาวิทยาลัยตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา การจัดการสิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และได้ขยายขอบเขตการทำงานไปสู่การยกระดับงานวิจัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
ด้วยนโยบายทำงานในเชิงโครงสร้าง ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้รับการจัดอันดับเป็นที่หนึ่งของประเทศไทย และเป็นที่ 45 ของโลกด้านบทบาทในการพัฒนาระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน จากการจัดอันดับของ The Times Higher Education University Impact Rankings 2020 (THE University Impact Rankings 2020) ซึ่งเป็นการประเมินบทบาทและคุณูปการของมหาวิทยาลัยตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของโลก
ข้อคิด...
ด้วยผลของโลกยุคดิจิทัล ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ทั้งฝั่งผู้ดำเนินกิจการและฝั่งผู้บริโภค คือ ผู้ซื้อสินค้าและบริการ
เพราะโลกยุคนี้ สภาวะแวดล้อมต่างๆ ถูกผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการสื่อสารและใช้ในการดำเนินการมิติต่างๆ ทำให้เกิดการรับรู้ เรียนรู้ เลียนแบบและเปรียบเทียบกันอย่างชนิดไม่มีความลับและไร้ข้อจำกัด
ธุรกิจการศึกษาทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนล้วนเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะวิกฤตโควิด-19 เป็นตัวเร่งและตัวบังคับให้ “ต้องเปลี่ยนแปลง”
ผมได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยเฉพาะที่แสดงบทบาทเด่นชัดในระดับชั้นนำ ก็มีหลายแห่งที่สภามหาวิทยาลัยและคณะผู้บริหารมีวิธีคิดใหม่และมียุทธศาสตร์ ยุทธวิธีที่เริ่มปรับตัวกันคึกคัก
suwatmgr@gmail.com
การจัดอันดับครั้งนี้ มีมหาวิทยาลัยจากทั่วโลก 1,600 แห่งเข้าร่วม โดยพิจารณาตัวชี้วัด6 ด้าน ได้แก่ ความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ (40%) การยอมรับจากนายจ้าง (10%) สัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษา (20%) ผลงานวิชาการต่ออาจารย์ (20%) สัดส่วนของอาจารย์ชาวต่างชาติ (5%) และสัดส่วนของนักศึกษาชาวต่างชาติ (5%)
จะเห็นได้ว่าปัจจัย “ความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ (Academic Reputation)” เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย โดย QS โดยประมวลผลจากการแสดงความคิดเห็นของตัวแทนนักวิชาการ ผู้ประกอบการและสถาบันการศึกษากว่า 100,000 คนทั่วโลก
ผลการจัดอันดับปีล่าสุด (2021) จุฬาฯครองอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยไทยเป็นปีที่ 12 และเป็นอันดับ 22ของมหาวิทยาลัยไทยในเอเชีย และอันดับ 96 ของโลก
นี่จึงคล้ายการประเมินผลงานของ ดร.บัณฑิต ในการบริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวาระที่ผ่านมา ที่ยืนยันด้วยการบรรลุเป้าหมายติดอันดับโลกแล้วด้านชื่อเสียงทางวิชาการ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญตามพันธกิจ
ศ.ดร.บัณฑิตบอกว่า ปีนี้จุฬาฯได้รับการจัดอันดับดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากปีที่แล้วถึง 39 อันดับ ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาระบบการเรียนการสอนและสร้างผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องของชาวจุฬา ที่มุ่งให้ความรู้ทางวิชาการนำไปช่วยสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยให้หลุดจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน
วิสัยทัศน์ยุคใหม่ที่เริ่มขึ้นแล้ว จึงมุ่งให้เป็นต้นแบบมหาวิทยาลัยที่สรรค์สร้างนวัตกรรมหลากหลายเพื่อสังคม ที่จุฬาฯ มุ่งผลักดัน 3 แกนหลักให้ถึงขีดสุด คือ 1.การพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต 2.การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบสูง 3.มุ่งความยั่งยืนทางสังคม
การพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต บัณฑิตจุฬาฯ ต้องเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของประเทศและโลก ดังนั้น จึงสร้างบัณฑิตให้มีทักษะทันสมัยของศตวรรษที่ 21 โดยมีจุดเด่น 3 มิติ คือ 1.มีความรู้พื้นฐานเชิงวิชาการ 2.มีความพร้อมในการแข่งขันและแก้ปัญหาของสังคมโลกที่ซับซ้อน อีกทั้งรู้จักคิดและรู้จักสงสัย 3.กล้าที่จะเผชิญความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
“ผมคิดว่า ทักษะเหล่านี้ควรมีอยู่ในระบบการศึกษาทุกระดับของไทยด้วย” ศ.ดร.บัณฑิต กล่าว
การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบสูง จากความคิดที่ต้องการใช้นวัตกรรมมาช่วยแก้ปัญหาของสังคมไทย ในวันที่สังคมไทยมีปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จุฬาฯจึงนำองค์ความรู้มาสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่การป้องกัน-ตรวจสอบ
ผลก็คือ จุฬาฯ ได้ผลิตนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ได้แก่ สเปรย์ฉีดเพิ่มประสิทธิภาพหน้ากากอนามัย หน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield) ที่ออกแบใหม่ให้เบาเป็นพิเศษ และเครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ส่วนนวัตกรรมการตรวจสอบโควิด-19 ได้แก่ Chula COVID-19 Strip Test ตู้ความดันลบ และเครื่องตรวจโควิด-19 อัตโนมัติที่รู้ผลเร็วและแม่นยำถึง 99%
นอกจากนี้ ในแง่การแก้ไขผลกระทบจากโควิด-19 จุฬาฯไม่เพียงเป็นผู้นำการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA และวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบยาสูบแห่งแรกของประเทศไทย แต่ยังมองไกลถึงผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมซึ่งทำให้คนว่างงานเป็นจำนวนมาก จุฬาฯ จึงเปิดหลักสูตรการเรียนออนไลน์ฟรีแก่คนทั่วไป ได้แก่ Chula MOOC, Quick MBA และ Coursera เพื่อเพิ่มทักษะคนอย่างรอบด้าน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและกลับมาเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศได้อีกครั้ง
การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน จุฬาฯกำหนดให้ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable Development เป็นหลักคิดในการดำเนินนโยบายของมหาวิทยาลัยตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา การจัดการสิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และได้ขยายขอบเขตการทำงานไปสู่การยกระดับงานวิจัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
ด้วยนโยบายทำงานในเชิงโครงสร้าง ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้รับการจัดอันดับเป็นที่หนึ่งของประเทศไทย และเป็นที่ 45 ของโลกด้านบทบาทในการพัฒนาระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน จากการจัดอันดับของ The Times Higher Education University Impact Rankings 2020 (THE University Impact Rankings 2020) ซึ่งเป็นการประเมินบทบาทและคุณูปการของมหาวิทยาลัยตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของโลก
ข้อคิด...
ด้วยผลของโลกยุคดิจิทัล ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ทั้งฝั่งผู้ดำเนินกิจการและฝั่งผู้บริโภค คือ ผู้ซื้อสินค้าและบริการ
เพราะโลกยุคนี้ สภาวะแวดล้อมต่างๆ ถูกผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการสื่อสารและใช้ในการดำเนินการมิติต่างๆ ทำให้เกิดการรับรู้ เรียนรู้ เลียนแบบและเปรียบเทียบกันอย่างชนิดไม่มีความลับและไร้ข้อจำกัด
ธุรกิจการศึกษาทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนล้วนเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะวิกฤตโควิด-19 เป็นตัวเร่งและตัวบังคับให้ “ต้องเปลี่ยนแปลง”
ผมได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยเฉพาะที่แสดงบทบาทเด่นชัดในระดับชั้นนำ ก็มีหลายแห่งที่สภามหาวิทยาลัยและคณะผู้บริหารมีวิธีคิดใหม่และมียุทธศาสตร์ ยุทธวิธีที่เริ่มปรับตัวกันคึกคัก
suwatmgr@gmail.com