ขณะนี้ กรีนพีซ ประเทศไทย กำลังรณรงค์เรียกร้องไปยังภาครัฐและเอกชน ให้มีนโยบายที่จะยุติการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastics) แต่ก็ยังดำเนินไปได้อย่างช้าๆ เพราะถูกขัดขวางจากภาคอุตสาหกรรมพลาติก
ซึ่งเป็นสาเหตุให้ กรีนพีซ ประเทศไทย โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก Greenpeace Thailand เพื่อชวนทุกคนเข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงวิกฤตจากมลพิษพลาสติก โดยการร่วมทำแบบสอบถามสนับสนุนงานวิจัยมลพิษพลาสติก (1 แบบสอบถามเทียบเท่าการบริจาค 5 บาท ซึ่งได้ส่วนลดจาก ItAllCounts บริษัทผู้ดำเนินวิจัย) ล่าสุด (19 มิ.ย.2563) มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามแล้ว 22,512 คน
พร้อมอธิบายให้เห็นภัยอันตรายของการเกิดขยะพลาสติกว่า ในทุกๆปี มีการผลิตพลาสติกขึ้นราว 300 ล้านตัน และครึ่งหนึ่งนั้นเป็นพลาสติกที่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง นอกจากนี้ยังมีพลาสติกเพียง 10-13 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล และพลาสติกกว่าปีละ 8 ล้านตันถูกทิ้งลงสู่มหาสมุทร โดยมีถุงพลาสติกอีก 5 เท่ากระจายไปทั่วทุกชายฝั่งบนโลก
พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น หลอดพลาสติก,ขวดน้ำอัดลม,และบรรจุภัณฑ์อาหารต่างถูกใช้แค่เพียงเสี้ยวนาทีและถูกโยนทิ้ง มันอยู่กับเราเพียงแค่ชั่วคราวแต่จะคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมนานนับทศวรรษ ก่อมลพิษในทะเลและมหาสมุทร แหล่งน้ำและผืนดิน ดิน และส่งผลกระทบต่อสัตว์และมนุษย์
ปัจจุบันผู้คนที่อาศัยบริเวณลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทั่วโลก ต่างได้รับผละกระทบจากขยะพลาสติกถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นผู้สร้างขยะเหล่านั้น กรีนพีซจึงต้องการส่งขยะพลาสติกคืนไปยังกลุ่มผู้ผลิตต่างๆในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ
เราต้องการให้คุณเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้กลุ่มบริษัทต่างๆ นั้น ลดปริมาณการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่นำไปสู้ปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกในมหาสมุทรก่อนที่จะสลายตัวเป็นไมโครพลาสติกที่ไม่สามารถกำจัดได้ เพื่อรักษาชีวิตสัตว์ทะเลต่างๆ เช่น เต่าและวาฬ ที่ต้องตายลงทุกปีเพราะกินพลาสติกเป็นอาหาร หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข ท้องทะเลจะมีขยะพลาสติกมากกว่าปริมาณปลาทั้งหมดในปี พ.ศ.2593 (ค.ศ. 2050)
เราต้องการให้ผู้ผลิตมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาและลดการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งทั้งในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ต่างๆโดยกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนรวมทั้งลงทุนกับระบบนำมาใช้ซํ้าและระบบการกระจายสินค้าเพื่อลดขยะพลาสติก
กับอีกประเด็น อาเซียนไม่ใช่ถังขยะโลก แต่ขณะนี้ภูมิภาคของเรากำลังกลายเป็นพื้นที่สำหรับทิ้งขยะจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ขณะที่บรรจุภัณฑ์พลาสติกยังคงเพิ่มจำนวนและเป็นปัญหาหลักต่อสิ่งแวดล้อม
“ทุกคนสามารถช่วยกรีนพีซระดมทุน 5 บาท / 1 แบบสอบถาม โดยร่วมทำแบบสอบถามศึกษาแนวทางยุติปัญหามลภาวะ พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง”