xs
xsm
sm
md
lg

‘กรีนพีช’ เสนอแนวคิด Relocalisation ให้ธุรกิจทบทวนบทบาทต่อโลกในช่วงโควิด-19

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 จนนำไปสู่การปิดเมืองและปิดประเทศ ทำให้นักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม อย่าง Greenpeace เสนอแนวคิดในการใช้โอกาสนี้รื้อปรับระบบการค้าและธุรกิจใหม่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในระยะยาว


ในบรรดาแนวคิดรื้อปรับนโยบายการค้าต่าง ๆ มี 2 แนวคิดที่มีพูดถึงกันในคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป คือ Relocalisation และ Reshoring


คำว่า Relocalisation หมายความถึงการปรับช่องทางการค้าใหม่ ที่เปิดให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายสินค้าเกษตรของตนโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ในตลาดระดับท้องถิ่น


ซึ่งอาจจะดูเหมือนไม่ใช่แนวคิดแปลกใหม่แต่อย่างใด แต่หลังจากเกิดสถานการณ์โควิด-19 กรอบแนวคิดนี้กลายเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น ไม่ใช่เป็นเพียงทางเลือกเท่านั้น เพราะแนวทางนี้กลายเป็นวิถีใหม่ของการค้า ที่คำนึงถึงต้นทุนในมนุษย์ที่เกิดจากวิธีในการหาอาหารแนวกรีนและออร์แกนิกมาบริโภคอย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องผ่านการผูกขาดตัดตอนและเอาเปรียบทางการค้าของพ่อค้าคนกลางต่อการใช้แรงงานของเกษตรกร และลดต้นทุนของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก



การตัดตอนให้สินค้าผ่านมือให้สั้นลง จากการไม่ต้องมีพ่อค้าคนกลาง ได้ช่วยอย่างมากในสถานการณ์ที่เกิดวิกฤต อย่างเช่นการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังเป็นอยู่ ทำให้อาหารไปถึงมือผู้บริโภคได้รวดเร็วขึ้น และได้พบว่าต้นทุนที่แท้จริงเริ่มแรกของสินค้าเกษตรต่ำมากแค่ไหน และยังเป็นหนทางหนึ่งในการสร้างชุมชนและประชาคมในระดับท้องถิ่นหรือ community building


สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมหยุดและปิดดำเนินกิจการ แรงงานจากชนบทไม่อาจจะแบกรับภาระรายจ่ายค่าเช่า และค่าครองชีพแพงได้ ทำให้เกิดการอพยพกลับถิ่นในชนบทจำนวนมากพร้อมๆ กัน เท่ากับแรงงานในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นทันที


การนำแนวคิด Relocalisation มาใช้ยังเป็นการสร้างกระบวนการรวบรวมสินค้าเกษตร ทำให้เกษตรกรที่ยากจนสามารถเข้าถึงตลาดได้มากขึ้น และดึงคนว่างงานกลับมาทำการเกษตรกลุ่มอาหาร เพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้ได้ทันที ให้มั่นใจว่าจะมีสินค้าเกษตรเป็นอาหารอย่างเพียงพอและยั่งยืน ในขณะที่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว


แนวคิดของ Relocalisation เป็นแนวคิดในการสร้างห่วงโซ่อุปทานใหม่ทางด้านอาหารแบบยั่งยืน ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ climate change ที่อยู่บนหลักการว่ามนุษย์ทุกคนในโลกต้องพึ่งพาโลกในการดำรงชีวิตบนวิถีใหม่ในอนาคต ที่ทำเอง ผลิตเอง ค้าเองมากขึ้น


ทำให้แนวคิดนี้ไม่ใช่การกีดกันทางการค้า แต่ตรงกันข้าม เป็นการสร้างรากฐานการค้าระหว่างประเทศให้เพิ่มขึ้นสู่ความยั่งยืนระดับโลก เพราะแนวคิดนี้ ถอดบทเรียนโควิด-19 ว่าในอนาคตโลก สังคมและชุมชนหนึ่ง ๆ จะต้องเพิ่มความยืดหยุ่นและพึ่งพาตนเองให้ได้ มากกว่าที่จะรอรับผลการดำเนินงานหรือการผลิตของประชาคมหรือชุมชนอื่น



ประเด็นนี้เคยถูก Greenpeace หยิบยกขึ้นมาในธีมของโมเดลการค้าที่เน้นความเป็นธรรมและความยั่งยืน หรือ Fair and Sustainable Trade แทนที่จะเป็นการค้าแบบคนได้เปรียบเป็นคนตั้งกฎ หรือ “Rules-based Trade”


ภายใต้ธีมนี้ Greenpeace เสนอว่าให้ใช้ภาษีเป็นตัวกำหนดแรงจูงใจและส่งเสริมการค้าแบบเป็นธรรมและยั่งยืน หากการค้ากันเองระหว่างสมาชิกในระดับประชาคมจะไม่ถูกเก็บภาษีการค้าและเป็นเขตการค้าเสรีชุมชน ไม่ใช่เพราะผู้ประกอบการเป็นผู้ทรงอำนาจและอิทธิผลในฐานะผู้นำด้านราคา เป็นผู้ค้ารายใหญ่ของตลาด และผู้นำในการทำลายสภาพแวดล้อม


กิจกรรมที่ Greenpeace เรียกร้องคือ ส่งเสริมการสร้างห่วงโซ่อุปทานระดับชุมชน ให้ชุมชนใช้ประโยชน์จากการค้าเสรีที่พึ่งพากันเองภายในชุมชน โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และปกป้องจากอิทธิพลทางการค้าที่มาจากผู้ประกอบการที่ค้าแบบไม่เป็นธรรม และทำลายสิ่งแวดล้อม ด้วยการตั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมาตรฐานกลางสำหรับหน่วยงานและกิจการภายในชุมชนเอง โดยสร้างมาตรฐานกลางด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมรายชื่อผู้ประกอบการในชุมชนที่เป็น Approved list และราคากลางสำหรับสินค้าที่เป็นมาตรฐานสำหรับประกอบการ กำหนดวงเงินงบประมาณ ใช้ประกอบการจัดซื้อจัดจ้างของชุมชน เพิ่มเติมจากการพิจารณาราคาต่ำสุดเพียงอย่างเดียว


สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องถอยกลับจากการพยายามขยายการค้าระหว่างประเทศ และการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ กลับมาสู่การส่งเสริมและสนับสนุนการค้าระดับชุมชนและประชุมคมท้องถิ่น การพึ่งพาตนเองให้ครบวงจร เมื่อการตัดขาดและปิดเมืองของประเทศต่าง ๆ ยังคงมีผลใช้บังคับไปอีกนานเป็นปี และการผ่อนคลาย lockdown ไม่อาจจะทำให้กลับไปทำให้การค้าเสรีข้ามประเทศทำงานได้เต็มที่



การเปิดนโยบายส่งเสริมการค้าแบบ Relocalisation จึงเป็นทางออกในการสร้างการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า โดยเฉพาะในวงจรอาหารให้ครบวงจร ภายใต้ภัยคุกคามจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 และกอบกู้เยียวยาแรงงานที่ตกงานจำนวนมาก และผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการปิดประเทศ


การตอบโต้สถานการณืวิกฤตแนวกรีน มีส่วนในการหลีกเลี่ยงการกลับไปสู่วังวนของเศรษฐกิจแบบตกอยู่ภายใต้อิทธิผลของผู้ประกอบการรายใหญ่ และยังทำลายสิ่งแวดล้อมเหมือนเดิมด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น