จากบทสรุปผู้บริหาร เรื่องยานยนต์ไฟฟ้า (EV EXECUTIVE SUMMARY) รายงานต่อคณะอนุกรรมาธิการยานยนต์ไฟฟ้า สภาผู้แทนราษฎร ชี้ถึงตัวแปรสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย คือ
1. การส่งเสริมสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ล่าสุดมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ
นโยบายและ ยุทธศาสตร์ยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ
2. ข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่าง อาเซียนและจีน (ASEAN - China Free Trade Agreement : ACFTA) ทำให้การนำเข้า EV และอุปกรณ์เสริมจากจีน = 0 %
3. คู่แข่งของไทยจากการผลิต EV ในประเทศต่างๆ เช่น จีนและในอาเชียนด้วยกัน
4. ประสิทธิภาพการผลิตกับราคาที่ต้องมีราคาต่ำ จากการผลิตจำนวนมาก (Economy of Scales)
ส่วนความเคลื่อนไหวที่สำคัญๆ ของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย (EV) (ระหว่าง ม.ค. – พ.ค. 2563)
1.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ แจ้งหลังจากสิ้นสุดระยะที่กำหนดให้ยื่นขอ มาตรการส่งเสริมการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้าไปแล้วว่าจะมีมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มขึ้นอีก ในส่วนของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (มอเตอร์ไซด์ EV) ในขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรการ ส่งเสริมร่วมกับเอกชน
2.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบในการส่งเสริมพื้นที่ติดตั้งสถานีอัด ประจุยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station Mapping) ให้ครอบคลุมพื้นที่ชุมชน สถานีบริการน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน ถนนสายหลักระหว่างเมือง สำหรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น หรือรองรับผู้ที่เดินทางมาจากเมืองอื่น โดยให้ภาครัฐและเอกชนสามารถยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ และมีผลการศึกษาให้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าแบบคงที่ ตลอดทั้งวัน มีค่าเท่ากับอัตราค่าพลังงานไฟฟ้า ช่วงเวลา Off Peak ของผู้ใช้ไฟฟ้าตามโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบันประเภท 2.2 กิจการขนาดเล็ก อัตราตามช่วงเวลา (Time Of Use (TOU) หรือเท่ากับ 2.6369 บาท ต่อหน่วย (สำหรับแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า 22 kV)
3.รัฐบาลญี่ปุ่น โดย Japan International Cooperation System (JICS) และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) ร่วมส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในหน่วยงานภาครัฐ และเป็นหลักชัยสำคัญในการวิจัย และพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ที่มีราคาค่าพลังงานต่ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมอบครุภัณฑ์รถยนต์ ไฟฟ้า EV จำนวน 7 คัน และสถานีชาร์จไฟ Normal/Quick Charger จำนวน 5 สถานี จากโครงการ Japan’s Non-Project Grant Aid for Provision of Next-Generation Vehicle (FY2014) ให้แก่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
4.บริษัท Mercedes Benz และ BMW ได้ฤกษ์ทำตลาด “อีวี” ในเมืองไทยใช้สิทธิ์ไม่เสียภาษี นำร่อง “จำนวนหนึ่ง” ของ บีโอไอ นำเข้า เบนซ์ “อีคิวซี” จากจีน ขายไตรมาส 3 ปีนี้ ส่วน “มินิ” ในเครือ
บีเอ็มดับเบิลยู เปิดตัว “คูเปอร์ เอสอี” แล้วได้โควตาล็อตแรก 20 คันจากอังกฤษ ก่อนปี 2565 มีแผนสั่งจากโรงงานผลิตแห่งใหม่ในจีน โดยไม่เสียภาษีนำเข้า
5.นิสสัน มอเตอร์ ปิดโรงงานอินโดนีเซียโยกงานมาไทย ผลิตรถยนต์หลายประเภท และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนผลิต 1 หมื่นล้านบาท ในโครงการรถยนต์ไฟฟ้า เปิดตัวด้วยลูกผสม นิสสัน คิกส์ อี-พาวเวอร์ไทยเป็นประเทศแรกของโลก และเป็นประเทศที่ 2 ต่อจากญี่ปุ่นที่ได้ผลิตเทคโนโลยีนี้ โดยยังคงใช้เครื่องยนต์เบนซิน บวกเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อินเวอร์เตอร์ (Inverter) มอเตอร์ไฟฟ้า (Electic motor) และแบตเตอรี่ ลิเทียมไอออน (Lithiumion battery)
6.GWM (Great Wall Motors) ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีนรายใหญ่ และเป็นผู้ผลิตรถยนต์ อเนกประสงค์ (SUV) และรถปิกอัพรายใหญ่ที่สุดของจีน ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา GWM มีปริมาณการจำหน่ายในจีนเฉลี่ย 1 ล้านคันต่อปี ได้ตัดสินใจเข้าซื้อศูนย์การผลิตรถยนต์ GM (General Motors) ประเทศไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนของโลก (Mega Trend) และการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยียานยนต์ไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า โดยการลงทุนของ GWM มีขนาดกำลังการผลิตในระยะแรก 100,000 คันต่อปี เมื่อเทียบกับการผลิตของ GM ในปัจจุบันผลิตได้เพียง 50,000 คันต่อปี ส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และเป็นฐานการผลิตยานยนต์แห่งเอเชียต่อไป
7.บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ (EA ) รถยนต์ไฟฟ้า ผู้ผลิต MINE เรือไฟฟ้า และสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EA Anywhere รุดหน้ามากขึ้นในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าโดยในช่วงไตรมาส 2/63 จะเริ่มทยอยส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าประมาณ 800 คัน จากยอดจองเดิมในช่วงปี 62 ที่มีประมาณ 3,500 คัน และคาดยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 63 จะทำได้ประมาณ 5,000 คันตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนโครงการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เฟสแรก ขนาดกำลังการผลิต 1 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) มูลค่าลงทุนประมาณ 5 พันล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่าง การดำเนินการแม้กำหนดการแล้วเสร็จจะล่าช้าไปจากแผนงานเดิมบ้าง โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในช่วงไตรมาส 3 นี้ และเห็นว่ามีคู่แข่งเข้ามาในตลาดนี้มากขึ้น
8. บ้านปูเน็กซ์ บริษัทลูกของบ้านปูฯ ในฐานะผู้ให้บริการด้านพลังงานสะอาดชั้นนำในภูมิภาค
เอเชียแปซิฟิก นำศักยภาพและความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้ามาต่อยอด พร้อมผนึกความร่วมมือกับ “ฮ้อปคาร์” (HAUPCAR) ผู้ให้บริการแบ่งปันรถยนต์ (Car Sharing) ผ่านแอปพลิเคชัน และ FOMM CORPORATION จัดทำโครงการในชื่อ “บ้านปูเน็กซ์ อีวี คาร์ แชริ่ง ฟอร์ แคริ่ง” (BanpuNext EV Car Sharing for Caring) โดยเฉพาะบริการให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในช่วงโควิด-19
9.สิงคโปร์เปิดตัวมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในไทย Swag EV หรือ Supreme Wagon Automotive Group Electric Vehicle รถจักรยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แบบถอดได้ที่ สามารถเสียบเข้ากับเต้าไฟฟ้าได้โดยตรง
10.บริษัท เมทัลชีต (BM) เพิ่มสายการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า โดยรับจ้างผลิตชิ้นส่วนประกอบ รถยนต์ไฟฟ้าให้กับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทยอยู่ ส่วนงานผลิตจำหน่ายรถสามล้อไฟฟ้า (ตุ๊กตุ๊ก) ปัจจุบัน ผลิตได้ 2 คันต่อวัน และเพิ่มกำลังการผลิตได้หากมีความต้องการเพิ่มขึ้น
11.บริษัทเอกชนแข่งกันผลิตและขายเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ EV ทั่วโลก และรุกคืบเข้าไทยเน้นแบบ ชาร์จได้เอง ไม่รอรัฐบาลและสถานีชาร์จทั่วไป บมจ. เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (SC) ร่วมมือกับ บมจ. ปตท. (PTT) ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle Charger Station) หรือ EV Charger Station เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกบ้านที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV)
12.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ได้มีการ ริเริ่มโครงการวิจัยชุดรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ตั้งแต่ในปี 2553 ได้จัดทำโครงการการวิจัยและพัฒนาชุดประกอบ รถไฟฟ้าดัดแปลงและคู่มือการดัดแปลง EV Kit & Blueprint project โดยตั้งเป้าหมายว่า คนไทยทุกคนจะสามารถดัดแปลงรถยนต์ ที่เติมน้ำมันดีเซลให้สามารถกลายเป็นรถไฟฟ้าที่มีต้นทุนไม่เกินคันละ 200,000 บาท ซึ่งราคานี้ไม่รวมแบตเตอรี่ อีกทั้งยังมีการจัดทำคู่มือดัดแปลง EV Kit & Blueprint project เพื่อมอบให้กับผู้ประกอบการรถยนต์ หรืออู่รถยนต์ ให้สามารถดัดแปลงรถยนต์น้ำมันดีเซลธรรมดากลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
ที่มา: บทสรุปผู้บริหาร เรื่องยานยนต์ไฟฟ้า (EV EXECUTIVE SUMMARY)
โดย ดร. สมชาย สาโรวาท ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการยานยนต์ไฟฟ้า