นักวิเคราะห์เผยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ส่งผลให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจากทั่วโลก (Carbon Emission) ซึ่งมีการประมาณการว่าอาจจะลดลงถึง 2.5 พันล้านตัน หรือคิดเป็น 5%
สาเหตุจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าการเดินทาง หรือการทำงานในภาคอุตสาหกรรม คาดว่าลดการใช้น้ำมันกว่าพันล้านบาร์เรล ก๊าซธรรมชาติกว่าล้านล้านลูกบาศก์เมตร และถ่านหินกว่าล้านตัน
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดี Dr Fatih Birol หัวหน้า International Energy Agency กล่าวว่า “การลดลงครั้งนี้เป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ประชาชนต้องถูกจำกัดให้อยู่แต่ในบ้าน ไม่ได้มาจากการดำเนินการอย่างถูกต้องของรัฐบาลต่างๆ ต่อภาวะโลกร้อน”
นักวิเคราะห์พบว่า ปริมาณความต้องการน้ำมันต่อวันลดลงถึง 11 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ คิดเป็นทั้งหมด 4พันล้านบาร์เรล ซึ่งเท่ากับลดการสร้างคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ 1.8 พันล้านตัน
ในขณะเดียวกันความต้องการไฟฟ้าและอุตสาหกรรมลดลง ความต้องการของก๊าซธรรมชาติและถ่านหินลดลง 2.3% เท่ากับลดคาร์บอน 200 ล้านตัน และ 500 ล้านตันตามลำดับ จากครั้งสุดท้ายที่การใช้น้ำมันลดลง คือช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2008-2009 แต่ปีนี้ ผลจากไวรัสโคโรนาอาจมากกว่าปี 2008 ถึง 5 เท่า
นักวิเคราะห์คาดว่าความต้องการน้ำมันจะกลับมาฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี ส่วนภาคพลังงานของจีน อาจจะกลับมาฟื้นตัวในเดือนหน้า หลังจากการแพร่ระบาด 4 เดือนที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะกลับสู่ระดับปกติเร็วที่สุดภายในเดือนกันยายนนี้
นี่ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีที่ก๊าซเรือนกระจกลดลง เพราะมีผู้คนมากมายต้องเสียชีวิต และได้รับผลกระทบ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดจากวิกฤตครั้งนี้ที่บอกต่อมนุษย์บนโลก คือ ทุกกิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุโดยตรงของภาวะโลกร้อน ต่อจากนี้ไปควรต้องมีการทบทวนกันใหม่ เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และที่สำคัญรัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องร่วมมือกันทบทวนการใช้แหล่งพลังงานสะอาดเพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเร่งด่วน เช่นเดียวกับที่พวกเขาลงมือแก้ไขปัญหาไวรัสโคโรนา
ข้อมูลอ้างอิง https://www.theguardian.com/…/global-carbon-emisions-could-…