xs
xsm
sm
md
lg

โควิด-19 ส่งผลกระทบการอนุรักษ์และพัฒนายั่งยืนอย่างไร/ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ใม่นานนี้ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ได้โพสต์เล่าเรื่อง#โควิดกับ SDG ให้กับเพื่อนธรณ์ทางเพจเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat


บอกก่อนเลยว่าเป็นบทความยาวเหยียดแต่เต็มเปี่ยมด้วยสาระครับ


สรุปคำว่า SDG แบบสั้นๆ เป็นสิ่งที่ UN ทำขึ้นมาเพื่อช่วยเป็นเป้าให้ประเทศต่างๆ ในโลกมุ่งหน้าไปในทางเดียวกัน แยกเป็น 17 goals


แทบทุกประเทศในโลกรับ SDG ไปใช้ ไทยก็เช่นกัน และกำหนดไว้ในแผนต่างๆ ตั้งแต่ระดับชาติถึงระดับองค์กร


เพื่อนธรณ์ในภาครัฐคุ้นกับ SDG ใครอยู่ภาคเอกชนบริษัทใหญ่ๆ ก็คงรู้นะฮะ


เมื่อมีสถานการณ์โควิด UN ตั้งหลักแป๊บก่อนออกเอกสารผลกระทบโควิดต่อ SDG ซึ่งก็คือภาพที่ผมโชว์ ขอสรุปสั้นๆ แต่ละ SDG โดยเน้นที่ประเทศไทย


1 - ขจัดความยากจน
โดนเต็มๆ เพราะมาตรการต่างๆ ลดกิจกรรมมนุษย์ งานก็หายเงินก็หด รายได้ของผู้คนลดลงทั่วทั้งโลก
เรื่องนี้ทั้งโลกก็พยายามเยียวยา ก่อนหาทางเดินหน้าต่อไป แต่คงต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปีกว่าที่ทุกอย่างจะค่อยๆ เหมือนเดิม


2 - ขจัดความหิวโหย
การผลิตอาหารสะดุด การขนส่งก็ยากลำบาก เรื่องนี้บางชาติอาจโดนเยอะ แต่สำหรับไทยในฐานะเกษตร/ครัวโลก เรายังไม่มีปัญหาที่เป็นประเด็นครับ


3 - สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
สุขภาพไม่ต้องพูดมาก คนป่วย 1.4+ ล้าน มันก็ต้องแย่ลงแน่ โควิดยังดึงเงินจากส่วนต่างๆ ไปบ้าง ทำให้การลงทุนเพื่อชีวิตที่สดใสตอนนี้ต้องเทไปช่วยชีวิตให้รอดก่อน


4 - การศึกษาเท่าเทียม
ผลเต็มๆ คือโรงเรียน/มหาลัยปิด หรือเลื่อนออกไป การศึกษาออนไลน์ยังมีประสิทธิภาพสู้การศึกษาปรกติไม่ได้ โดยเฉพาะในส่วนปฏิบัติ/ภาคสนาม


5 - ความเท่าเทียมทางเพศ
เมืองไทยไม่ค่อยมีปัญหา แต่ในต่างประเทศบางแห่งเริ่มมีรายงานผู้หญิงถูกทำร้ายมากขึ้น


6 - การจัดการน้ำ/สุขาภิบาล
น้ำจำเป็นมากต่อการล้างมือทำความสะอาดสู้โควิด แต่คนบางกลุ่มเข้าไม่ถึง ยังมีเรื่องภัยแล้งที่ส่งผลชิ่งไปมากับการใช้น้ำเพิ่มเพื่อสู้โควิด


7 - พลังงานสะอาดเข้าถึงได้
สิ่งหนึ่งที่อาจส่งผลคือเชื้อเพลิงฟอสซิลราคาถูกลงมาก และอาจเป็นอีกนานพอควรเพราะความต้องการต่ำ ส่งผลต่อเนื่องถึงแรงจูงใจในการสร้างแหล่งพลังงานสะอาด
การลงทุนพลังงานสีเขียวอาจกระตุกตามเศรษฐกิจโลก ขณะที่งบ CSR ช่วยพลังงานสีเขียวก็หายไปเยอะ


8 - การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตเศรษฐกิจ
คงไม่ต้องพูดมาก งานน้อยลง/ตกงาน ฯลฯ ยังหมายถึงบุคลากรที่ฝึกฝนมาอาจต้องเปลี่ยนสาย สูญเสียเรื่องความเชี่ยวชาญ/ประสบการณ์
คิดง่ายๆ โรงแรมปิด พนักงานที่ฝึกมาหลายปี มีใจรักด้านนี้ต้องออกไปทำอย่างอื่น เมื่อถึงเวลาเปิดใหม่ คนเดิมอาจไม่กลับมา ต้องเริ่มต้นสร้างคนใหม่ การพัฒนาบุคลากรไม่ต่อเนื่อง องค์กรลำบากครับ


9 - อุตสาหกรรม/นวัตกรรม/พื้นฐาน
ในภาพ UN ไม่มีข้อนี้แต่ผมแนะให้ งานบางส่วนต้องล่าช้า/หยุดชะงัก เพราะแรงงานหาย/มาตรการทำให้สะดุด รวมถึงการดึงงบกลับไปช่วยสู้โควิด/เยียวยา


10 - ลดความเหลื่อมล้ำ
จากภาพจะเห็นว่าข้อ 4 5 8 11 ส่งผลมาที่ข้อนี้ครับ


11 - เมืองยั่งยืน
ชุมชนแออัดมีโอกาสเสี่ยงสูง ในบางประเทศอาจเป็นระเบิดเวลา เช่น อินเดีย
การให้ความสำคัญและเข้าไปช่วยดูแลในช่วงระบาด ตลอดจนพัฒนาชีวิตของคนในชุมชนหลังจากนี้ มีความสำคัญมากครับ


12 - การบริโภคและการผลิตยั่งยืน
ผลกระทบในเรื่องต่างๆ เหมือนกัน


13 - โลกร้อน/ภูมิอากาศเปลี่ยน
กิจกรรมมนุษย์น้อย ก๊าซเรือนกระจกน้อยลงจริง แต่ไม่ยั่งยืนครับ พอกิจกรรมต่างๆ กลับมาก็จะเพิ่มใหม่ ยกเว้นเราเรียนรู้และหาทางปรับตัวกัน


14,15 - ระบบนิเวศทางน้ำ/ทะเล/ป่า/บก
งบดูแลหาย โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งเงินรายได้โดยตรง เช่น กรมอุทยานไทย ถึงวันนี้หายไปหลายร้อยล้าน และถ้าลากยาวต่ออีก 1-2 เดือน หายเกินพันล้านแน่นอน
งบประมาณยังต้องถูกดึงไปสู้โควิด ขณะที่สถานการณ์ไฟป่าบนบกก็ย่ำแย่
มองภาพยาวนิด หากปีหน้างบโดนตัด รายได้ยังไม่เพิ่ม คราวนี้แหละครับย่ำแย่จริง


16 - สังคมสุขสงบ
อันนี้แล้วแต่ประเทศ ถ้ามองภาพรวม บางประเทศก็มีกรณีดูหมิ่นเชื้อชาติ มีการแย่งของ ฯลฯ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมืองไทยจะไม่เป็นเช่นนั้น


17 - ความร่วมมือเพื่อพัฒนายั่งยืน
แต่ละประเทศปิดกั้นเพิ่มขึ้น มันก็ไม่ค่อยดีต่อโลกหรอกนะ แต่มีการร่วมมือเรื่องแพทย์ระหว่างกันมากขึ้น


ทั้งหมดนี้ สรุปจาก UN ให้เพื่อนธรณ์อ่านเพื่อความเข้าใจและเผื่อเจ้านายขอให้ทำให้จะได้มีไอเดีย


อีกทั้งยังมีประโยชน์มากต่อการปรับองค์กรเพื่อรับสถานการณ์หลังโควิด


เพราะโลกจะไม่เหมือนเดิม กลยุทธ์ต่างๆ จะเปลี่ยนไป หากปรับตัวช่วงนี้ไม่ได้ ก็คงไม่มีเวลาเหลือให้ปรับอีกแล้ว


เอาไว้ว่างๆ จะมาลงรายละเอียดบางประเด็นนะครับ สู้ๆ ครับเพื่อนธรณ์


กำลังโหลดความคิดเห็น