ในยุคดิจิทัลปัจจุบันการดำเนินธุรกิจก็ไม่เหมือนเดิมอยู่แล้ว แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนทุกประเทศถูกกระหน่ำด้วยสภาวะคล้ายเข้าสู่สงครามโลกด้านชีวภาพ ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำเนินชีวิตและการงานอาชีพในสังคมโลก
ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นและประสบการณ์ที่เผชิญอยู่ ย่อมส่งผลต่อวิธีคิดและจุดมุ่งหมายการใช้ชีวิตที่ได้บทเรียนสอนใจจากศึกโควิด
ความสุข คือความรวยใหม่
ความสงบภายใน คือความสำเร็จใหม่
สุขภาพ คือความมั่งคั่งใหม่
ความเมตตา คือความเท่ใหม่
บนสื่อสังคมออนไลน์มีการส่งต่อถ้อยคำข้างต้น จากการให้ความหมายด้วยหลักคิดใหม่เชิงอุดมคติของ Syed Bakhi หนุ่มชาวปากีสถาน ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฟลอริดา ผู้ก่อตั้ง Optin Monster และเขาได้รับรางวัลชนะเลิศจากสหประชาชาติในฐานะ 10 ผู้ประกอบการดาวเด่นที่อายุต่ำกว่า 30 ปี
การที่มีคนสนใจคำนิยามที่คนทั่วไปไม่ค่อยฉุกคิด แต่ในยามที่เผชิญวิกฤติขณะนี้ ก็ได้เวลาทบทวนให้คิดใหม่ต่อ 4 คำสำคัญ ได้แก่ ความสุข ความสงบภายใน สุขภาพและความเมตตา ที่ล้วนเป็นผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งช่วยให้เราพึ่งตนเองให้อยู่รอดและไปได้ดีกับสถานการณ์วิกฤติโควิด
บทวิเคราะห์ของแมคคินซีย์ แอนด์ คอมพานี บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารชั้นนำของโลก และออกซฟอร์ดอีโคโนมิกซ์ ได้สร้างฉากทัศน์ (Scenario) สถานการณ์นี้ว่าจะฉุดให้อัตรากรเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปี 2563 กลายเป็น -4.7% และคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นสู่ภาวะปกติประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 (หรืออีก 2 ปีข้างหน้า)
ขณะที่ผู้อำนวยการองค์การค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่า ปริมาณการค้าโลกในปีนี้จะหดตัวประมาณร้อยละ 13-32
ส่วนจะฟื้นตัวในปีหน้าหรือไม่ ยังไม่มีความชัดเจน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด และนโยบายรวมทั้งมาตรการที่แต่ละประเทศนำมาใช้
สำหรับประเทศไทย ที่อยู่ในกระแสโลกาภิวัฒน์เราก็หลีกหนีไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสตระกูลล่าสุดนี้ ที่มีผลทั้งต่อด้านสุขภาวะ สุขภาพของชีวิต อีกทั้งและส้รางผลกระทบต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ จนรัฐจำเป็นต้องใช้มาตรการเข้มในการปิดเมืองเช่นเดียวกับหลายประเทศ เพื่อจำกัดการไปปะปนที่คนหมู่มากและจึงส่งเสริมให้ทำงานจากบ้านหรืออยู่แต่ในบ้าน เพื่อลดโอกาสการรับเชื้อและแพร่เชื้อ
ขณะที่กิจกรรมทางธุรกิจจึงถูกระงับ จนเกิดการโล่งว่างของถนนในเมืองย่านธุรกิจอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งที่แนวคิดในการรณรงค์ให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดโลกร้อน และการดูแลสภาพแวดล้อมธรรมชาติทั้งในน้ำ บนดินและอากาศ เพื่อลดปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ยังไม่เห็นโอกาสที่จะสำเร็จ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย มีเป้าหมายจะบรรลุการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิต และสภาพแวดล้อมธรรมชาติ 17 หัวข้อ ให้สำเร็จภายในปี 2030 โดยมีผู้นำ 93 ประเทศ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีประเทศไทยไปร่วมลงนามสนับสนุนด้วย
แต่ในภาวะวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมาประมาณ 3 เดือนเศษ และยังมีแนวโน้มไม่จบง่ายๆในระดับโลก ตอนนี้เหมือนธรรมชาติได้มาจัดระเบียบโลกใหม่ให้เป็นความหวัง เชิงตัวอย่าง เช่น
•อากาศรอบโลกค่อยๆดีขึ้น เพราะการปล่อยมลพิษจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง
•เครื่องบินบนน่านฟ้าลดลง สายการบินต่างหยุดบินชั่วคราว
•มลพิษในทะเลน้อยลง จนสัตว์น้ำบางชนิดที่เกือบศูนย์พันธุ์ก็สามารถโผล่ให้เห็นได้
•ควันพิษบนถนนน้อยลง เพราะรถวิ่งบนถนนน้อย ลดการเดินทาง มีโครงการจัดคนทำงานที่บ้าน
•พฤติกรรมการกินอาหารดีขึ้น สนใจสุขภาพและความสะอาด
•แหล่งบันเทิงอบายมุข หยุดให้บริการ ช่วยลดอาชญากรรม
•ครอบครัวมีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น
•ทุกคนรักความสะอาด ล้างมือมากขึ้น
ข้อคิด...
การปรับตัวที่คิดดีทำดี โดยคำนึงถึงการดำเนินชีวิตและประกอบกิจการงานอาชีพโดยไม่สร้างผลเสีย แต่สร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นจุดยืนใหม่ วิธีคิดใหม่ ที่สังคมโลกให้การยอมรับ
นั่นคือ เป้าหมาย “ความรวยยุคใหม่” คือความสุข ขณะที่ผลการกระทำดีและไม่สร้างความทุกข์ความกังวลใจจนเกิดความสงบภายใน จึงเป็น “ความสำเร็จใหม่” และการมีความเมตตา มีจิตอาสาช่วยเหลือ แก้ความเดือดร้อนของสังคม คือ “ความเท่ใหม่”
ดังนั้น สถานการณ์ขณะนี้คล้ายกับเชื้อโควิด-19 เป็นตัวแทนของธรรมชาติที่กำลังมาทำความสะอาดโลก จัดการคนที่ไม่ดูแลสุขภาพอนามัย กดดันการผลิตและการบริโภคที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ต้องกลับตัว
ปัญหาที่โลกเคยแก้ไม่ตก เช่นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ เมื่อเศรษฐกิจเกิดภาวะทดถอยอย่างขณะนี้การลดลงอย่างชัดเจนของ Carbon Footprint ก็เกิดขึ้นได้
ดังนั้นเราควรมีจิตสำนึก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (E) รับผิดชอบต่อสังคม (S) ยึดหลักธรรมาภิบาล (G) ในการใช้ชีวิตและการทำงาน ที่ดีต่อตัวเองและผู้เกี่ยวข้อง
ความยั่งยืน คือมีการพัฒนาอย่างสมดุลที่เรียกย่อว่า ESG ก็จะเป็นแนวทางฟื้นฟูโลกได้ แล้วจะย้อนกลับมาดีต่อตัวเราและกิจการของเรา อย่างมีความสุข มีสุขภาพ มีเมตตาต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
suwatmgr@gmail.com
ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นและประสบการณ์ที่เผชิญอยู่ ย่อมส่งผลต่อวิธีคิดและจุดมุ่งหมายการใช้ชีวิตที่ได้บทเรียนสอนใจจากศึกโควิด
ความสุข คือความรวยใหม่
ความสงบภายใน คือความสำเร็จใหม่
สุขภาพ คือความมั่งคั่งใหม่
ความเมตตา คือความเท่ใหม่
บนสื่อสังคมออนไลน์มีการส่งต่อถ้อยคำข้างต้น จากการให้ความหมายด้วยหลักคิดใหม่เชิงอุดมคติของ Syed Bakhi หนุ่มชาวปากีสถาน ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฟลอริดา ผู้ก่อตั้ง Optin Monster และเขาได้รับรางวัลชนะเลิศจากสหประชาชาติในฐานะ 10 ผู้ประกอบการดาวเด่นที่อายุต่ำกว่า 30 ปี
การที่มีคนสนใจคำนิยามที่คนทั่วไปไม่ค่อยฉุกคิด แต่ในยามที่เผชิญวิกฤติขณะนี้ ก็ได้เวลาทบทวนให้คิดใหม่ต่อ 4 คำสำคัญ ได้แก่ ความสุข ความสงบภายใน สุขภาพและความเมตตา ที่ล้วนเป็นผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งช่วยให้เราพึ่งตนเองให้อยู่รอดและไปได้ดีกับสถานการณ์วิกฤติโควิด
บทวิเคราะห์ของแมคคินซีย์ แอนด์ คอมพานี บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารชั้นนำของโลก และออกซฟอร์ดอีโคโนมิกซ์ ได้สร้างฉากทัศน์ (Scenario) สถานการณ์นี้ว่าจะฉุดให้อัตรากรเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปี 2563 กลายเป็น -4.7% และคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นสู่ภาวะปกติประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 (หรืออีก 2 ปีข้างหน้า)
ขณะที่ผู้อำนวยการองค์การค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่า ปริมาณการค้าโลกในปีนี้จะหดตัวประมาณร้อยละ 13-32
ส่วนจะฟื้นตัวในปีหน้าหรือไม่ ยังไม่มีความชัดเจน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด และนโยบายรวมทั้งมาตรการที่แต่ละประเทศนำมาใช้
สำหรับประเทศไทย ที่อยู่ในกระแสโลกาภิวัฒน์เราก็หลีกหนีไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสตระกูลล่าสุดนี้ ที่มีผลทั้งต่อด้านสุขภาวะ สุขภาพของชีวิต อีกทั้งและส้รางผลกระทบต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ จนรัฐจำเป็นต้องใช้มาตรการเข้มในการปิดเมืองเช่นเดียวกับหลายประเทศ เพื่อจำกัดการไปปะปนที่คนหมู่มากและจึงส่งเสริมให้ทำงานจากบ้านหรืออยู่แต่ในบ้าน เพื่อลดโอกาสการรับเชื้อและแพร่เชื้อ
ขณะที่กิจกรรมทางธุรกิจจึงถูกระงับ จนเกิดการโล่งว่างของถนนในเมืองย่านธุรกิจอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งที่แนวคิดในการรณรงค์ให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดโลกร้อน และการดูแลสภาพแวดล้อมธรรมชาติทั้งในน้ำ บนดินและอากาศ เพื่อลดปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ยังไม่เห็นโอกาสที่จะสำเร็จ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย มีเป้าหมายจะบรรลุการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิต และสภาพแวดล้อมธรรมชาติ 17 หัวข้อ ให้สำเร็จภายในปี 2030 โดยมีผู้นำ 93 ประเทศ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีประเทศไทยไปร่วมลงนามสนับสนุนด้วย
แต่ในภาวะวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมาประมาณ 3 เดือนเศษ และยังมีแนวโน้มไม่จบง่ายๆในระดับโลก ตอนนี้เหมือนธรรมชาติได้มาจัดระเบียบโลกใหม่ให้เป็นความหวัง เชิงตัวอย่าง เช่น
•อากาศรอบโลกค่อยๆดีขึ้น เพราะการปล่อยมลพิษจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง
•เครื่องบินบนน่านฟ้าลดลง สายการบินต่างหยุดบินชั่วคราว
•มลพิษในทะเลน้อยลง จนสัตว์น้ำบางชนิดที่เกือบศูนย์พันธุ์ก็สามารถโผล่ให้เห็นได้
•ควันพิษบนถนนน้อยลง เพราะรถวิ่งบนถนนน้อย ลดการเดินทาง มีโครงการจัดคนทำงานที่บ้าน
•พฤติกรรมการกินอาหารดีขึ้น สนใจสุขภาพและความสะอาด
•แหล่งบันเทิงอบายมุข หยุดให้บริการ ช่วยลดอาชญากรรม
•ครอบครัวมีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น
•ทุกคนรักความสะอาด ล้างมือมากขึ้น
ข้อคิด...
การปรับตัวที่คิดดีทำดี โดยคำนึงถึงการดำเนินชีวิตและประกอบกิจการงานอาชีพโดยไม่สร้างผลเสีย แต่สร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นจุดยืนใหม่ วิธีคิดใหม่ ที่สังคมโลกให้การยอมรับ
นั่นคือ เป้าหมาย “ความรวยยุคใหม่” คือความสุข ขณะที่ผลการกระทำดีและไม่สร้างความทุกข์ความกังวลใจจนเกิดความสงบภายใน จึงเป็น “ความสำเร็จใหม่” และการมีความเมตตา มีจิตอาสาช่วยเหลือ แก้ความเดือดร้อนของสังคม คือ “ความเท่ใหม่”
ดังนั้น สถานการณ์ขณะนี้คล้ายกับเชื้อโควิด-19 เป็นตัวแทนของธรรมชาติที่กำลังมาทำความสะอาดโลก จัดการคนที่ไม่ดูแลสุขภาพอนามัย กดดันการผลิตและการบริโภคที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ต้องกลับตัว
ปัญหาที่โลกเคยแก้ไม่ตก เช่นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ เมื่อเศรษฐกิจเกิดภาวะทดถอยอย่างขณะนี้การลดลงอย่างชัดเจนของ Carbon Footprint ก็เกิดขึ้นได้
ดังนั้นเราควรมีจิตสำนึก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (E) รับผิดชอบต่อสังคม (S) ยึดหลักธรรมาภิบาล (G) ในการใช้ชีวิตและการทำงาน ที่ดีต่อตัวเองและผู้เกี่ยวข้อง
ความยั่งยืน คือมีการพัฒนาอย่างสมดุลที่เรียกย่อว่า ESG ก็จะเป็นแนวทางฟื้นฟูโลกได้ แล้วจะย้อนกลับมาดีต่อตัวเราและกิจการของเรา อย่างมีความสุข มีสุขภาพ มีเมตตาต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
suwatmgr@gmail.com