xs
xsm
sm
md
lg

“ธรรมศาสตร์”ชู 5 จุดแข็งตอบรับเทรนด์พลังงานชีวภาพ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คณะวิทย์ฯ มธ. เผยสาขาเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ งัด 5 จุดแข็งรองรับการเรียนยุคใหม่ ตอบโจทย์เทรนด์พลังงาน

“อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ”เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมศักยภาพสูงของประเทศไทย และมีแนวโน้มเติบโตเร็ว ด้วยความพร้อมด้านวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น “มันสำปะหลัง” ที่สามารถต่อยอดสู่ “เชื้อเพลิงชีวภาพ” (Biofuel) ประสิทธิภาพสูงได้เป็นอย่างดี สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภาคการเกษตร กระตุ้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสร้างการตื่นตัวแก่สังคมไทยในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) หรือ SCI-TU ด้วยการเปิดสอน หลักสูตร BEB (Bachelor of Science Program in Bioenergy and biochemical refinery technology) หรือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ (ปริญญาตรีภาคพิเศษ) หลักสูตรพันธุ์ใหม่ที่มีจุดแข็งใน 5 มิติ


1. ได้เรียนรู้แบบบูรณาการถึง 3 ศาสตร์! การผสมผสานทั้ง 3 ศาสตร์ “เทคโนโลยีชีวภาพ เคมี และวิศวกรรมพื้นฐาน” ของ Pure Science และ Applied Science เข้าด้วยกันอย่างลงตัว อย่าง ซึ่งจะทำให้มองเห็นถึงการใช้ประโยชน์ของสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ในหลากมิติ ทั้งการขยายพันธุ์พืช การถนอมและแปรรูปอาหาร การใช้คุณสมบัติจุลินทรีย์แก้ปัญหามลพิษ หรือการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสิ่งเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร และยังมีหลักคิดหรือคำนวณเชิงวิศวกรรมอีกด้วย ผ่านการเรียนรู้จริง ณ ห้องปฏิบัติการที่พรั่งพร้อมด้วยเครื่องมือทางเคมีและเทคโนโลยีชีวภาพ


2. ได้เรียนกับนักวิจัยระดับชาติและนานาชาติ มีคณาจารย์ระดับเซียนที่ต่อยอดองค์ความรู้ สู่นวัตกรรมระดับโลกด้านเชื้อเพลิง-เคมีชีวภาพ ที่ช่วยคลี่คลายปัญหาสำคัญของประเทศได้อย่างชาญฉลาด เช่น ‘โฟมยางพาราดูดซับน้ำมัน’ รางวัลเหรียญทองจากเวทีประกวดนวัตกรรม กรุงเจนีวา ช่วยแก้ปัญหาน้ำมันรั่วไหลลงทะเล-แหล่งน้ำสาธารณะ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบน้ำยางพาราของประเทศ และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์พลอยได้จากโรงงานเอทานอล ด้วยการสนับสนุนจากภาคเอกชนและสภาวิจัยแห่งชาติ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

3. ได้เปิดประสบการณ์ทำงานจริง 1 ปีเต็ม! เพราะการลงมือทำจริง จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนรู้ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ดังนั้น การเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จะได้ฝึกประสบการณ์การทำงานจริง ใช้เครื่องมือในภาคอุตสาหกรรมจริง ณ สถานประกอบการชั้นนำของประเทศที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือของคณะเป็นเวลา 1 ปีเต็ม เช่น บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) , บริษัท เบทาโกร จำกัด (BETAGRO) } กลุ่ม KTIS โดยบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด , บริษัท มิตรผล จำกัด (Mitrphol) , บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (Thaioil Group) , บริษัท เอสซีจี จำกัด (SCG) ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้ไปทำงานต่างประเทศภายใต้ความร่วมมือของคณะฯ


โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการทำงานกับสารเคมีอันตรายและการเก็บกู้สารเคมี

4. ได้ทักษะคิดแก้ปัญหาที่ฉับไว ! เพราะการทำงานโรงงานสายผลิต อาจจะมีสถานการณ์ให้ต้องคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่บ่อยครั้ง หรือต้องเตรียมการวางแผนรองรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการทำงานในกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน ดังนั้น การฝึกประสบการณ์ ณ สถานประกอบการ จึงเปรียบเสมือนการเรียนรู้แบบ PBL (Problem Based Learning) เช่น โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการทำงานกับสารเคมีอันตรายและการเก็บกู้สารเคมี ฯลฯ ที่จะช่วยฝึกให้มีทักษะไหวพริบที่ฉับไว คล่องแคล่ว และพร้อมก้าวสู่โลกการทำงานจริงในอนาคต


5. มีงานรองรับจำนวนมาก ปัจจุบันอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ(New S-curve) จึงมีความต้องการบุคลากรด้านนี้ อย่าง นักวิจัยปิโตรเคมี นักวิจัยและพัฒนา นักเคมีวิเคราะห์เกี่ยวกับพลังงานทดแทน ฯลฯ


กำลังโหลดความคิดเห็น