xs
xsm
sm
md
lg

“เชลล์ ประเทศไทย”ร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน 2562 เดินหน้าการพัฒนาอย่างยั่งยืน ย้ำสร้างสมดุล“คน-เทคโนโลยี”

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมการประชุมผู้นำธุรกิจ และผู้นำระดับโลกในการประชุมสุดยอดอาเซียนปี 2562 ชูแนวทางความร่วมมือระหว่างภูมิภาค และการพัฒนาศักยภาพของคนเป็นหลักสำคัญ เพื่อก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อย่างยั่งยืน

นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “มิติของการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ามิติที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี อนาคตจะถูกกำหนดโดยความสมดุลระหว่างทั้งสองมิตินี้ว่าจะสามารถสนับสนุนและส่งเสริมกันได้เพียงใด การขับเคลื่อนด้วยทั้งบุคคล ภาคธุรกิจ และรัฐบาล รวมไปถึงภาคสังคม การตลาด และกฎหมาย ก็จะมีบทบาทสำคัญ เราเชื่อว่าการร่วมมือกันระหว่างทุกภาคส่วน และนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะมีส่วนในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต และช่วยให้มนุษย์ก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จนถึงโลกอนาคตอย่างยั่งยืน”

ปัจจุบัน ประเทศในอาเซียนประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ความยากจนยังคงเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนเกินกว่าที่รัฐบาลใดจะแก้ไขได้เพียงฝ่ายเดียว จากสถิติของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) สัดส่วนของประชากรไทยที่อยู่ใต้เส้นแบ่งความยากจน มีสูงถึง 7.9% ในปี 2560 และประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดคือกลุ่มที่ประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม

จากความท้าทายเหล่านี้ เชลล์ ประเทศไทย เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างเสริมศักยภาพบุคลากรอย่างเร่งด่วน ในประเด็นต่างๆ อาทิ:

● การกระจายรายได้ - ความยากจนยังคงเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน ประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมและขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพที่จำเป็นเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล

● การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและผลกระทบต่อแรงงาน - การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรม จากการนำระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ แรงงานในประเทศอาเซียนประมาณ 28 ล้านคนมีแนวโน้มที่จะต้องรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ตลอดระยะเวลาอีกสิบปีข้างหน้า

หนึ่งในหลายๆ โครงการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพมนุษย์ของเชลล์ คือ โครงการเติมสุขให้ทุกชีวิต ซึ่งเชลล์ ร่วมกับ มูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ ในการส่งเสริมพัฒนาโรงเรียนสำหรับผู้สมควรได้รับโอกาสและบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว จัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนและชุมชน ภายใต้โครงการดังกล่าว ในช่วงแรกของโครงการลูกค้า พันธมิตร รวมถึงพนักงานของเชลล์ได้ร่วมกันระดมเงินทุนเพื่อจัดให้โรงเรียน 12 แห่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับชุมชน นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้สร้างธุรกิจเล็กๆ ตั้งแต่การทำแปลงเพาะปลูก ไปจนถึงงานฝีมือ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการให้โอกาสในการเข้าถึงการสร้างรายได้ ซึ่งทำให้นักเรียนในโครงการมีอาชีพและสามารถเลี้ยงตัวเองได้ภายใน 2-3 ปี


ปัจจุบัน โครงการดังกล่าวได้มีการขยายไปสู่ 74 โรงเรียน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากโรงเรียนต้นแบบ และดำเนินโครงการในแนวทางเดียวกัน โดยเข้าถึงนักเรียนในระดับประถมและมัธยมจำนวนกว่า 32,000 คน นอกจากนี้ มีการสนับสนุน “การเกษตรแบบอัจฉริยะ” ซึ่งช่วยให้ผู้ด้อยโอกาส อย่างเช่นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว สามารถทำการเกษตรได้ รวมถึงยังขยายผลจนเป็นโครงการระดับชุมชน โดยโรงเรียนได้รับงบประมาณเพิ่มเติมในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนใกล้เคียง สิ่งเหล่านี้จึงส่งผลให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของเด็กและชุมชนในวงกว้าง โดยทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถสร้างคุณค่าในตัวเองและสร้างประโยชน์ให้กับสังคม

“กลุ่มผู้ด้อยโอกาสก็เป็นบุคลากรที่มีคุณค่าได้ ในขั้นต่อๆ ไปของโครงการ เรามีแผนที่จะขยายผล อาทิ ให้ทุนสนับสนุนโรงเรียนเพื่อนำไปเป็นเงินทุนสำหรับชุมชนใกล้เคียงซึ่งเข้ามาร่วมกับโครงการ ที่สำคัญ เด็กนักเรียนซึ่งอาจมีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว จะไม่ใช่ผู้รอรับความช่วยเหลือ แต่กลับเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น เชลล์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นแรงผลักดันให้เด็กๆ มีความภาคภูมิใจและรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่อไป” นายอัษฎากล่าวสรุป


ตลท.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การระดมทุนผ่านพันธบัตรสีเขียว
ตลท.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การระดมทุนผ่านพันธบัตรสีเขียว
ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วย ฮิเดอากิ ฮิวาซากิ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย ประจำประเทศไทย เปิดงานสัมมนา Capital Market Research Forum “Seminar on development of green bond in Thailand” โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารภาคตลาดทุน อาทิ อมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ ศิษฏศรี นาคะศิริ ผู้อำนวยการ ฝ่ายตราสารหนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. นพเดช กรรณสูต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บมจ. บีกริม เพาเวอร์ สุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การระดมทุนผ่านตราสารทางการเงิน และ โอกาสในการระดมทุนผ่านพันธบัตรสีเขียว โดยมีผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ผู้ลงทุน และนักวิชาการ ร่วมรับฟัง