xs
xsm
sm
md
lg

เพื่อ“คน-ป่า”อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน “Mivana Community” มุ่งสร้างพันธมิตรด้วยแนวคิด “Partnership for Sustainability“

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


จากการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ของไทยในปัจจุบัน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความต้องการใช้พื้นที่ป่าในการทำเกษตรกรรมของชาวบ้าน ไม่เพียงทำให้พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยลดลง แต่การทำการเกษตรที่ใช้สารเคมีอย่างรุนแรงยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศนานัปการ ทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติ สภาพอากาศที่แปรปรวน ภาวะโลกร้อนอันนำมาสู่ผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตรวมทั้งมนุษย์อีกมากมาย และปัญหาการบุกรุกป่ายังนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐผู้ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาป่าอีกด้วย

จากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้วันนี้ บริษัท มีวนา จำกัด ร่วมเป็นหนึ่งในการจัดตั้ง “ชุมชนมีวนา” (Mivana Community) ที่มีภารกิจหลักในการเชื่อมต่อสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ในการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืนที่ได้จากการเกษตร ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำไปจนถึงกระบวนการปลายน้ำ คือเกษตรกรในพื้นที่ ภาครัฐผู้เป็นเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ภาคธุรกิจร้านค้า ร้านกาแฟและตัวแทนจำหน่าย สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เพื่อเป้าหมายในการขยายพื้นที่ป่า แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่า จ. เชียงราย ภายใต้แนวปฏิบัติ “Partnership for Sustainability“ ให้เป็นต้นแบบการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ “คน” กับ “ป่า” อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

ธชา อุนนานนท์ กล่าวว่า “เริ่มแรกก่อนที่จะมาเป็นชุมชนมีวนา หรือ Mivana Community เราทำโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่ามีวนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ที่ป่าต้นน้ำแม่ลาว โดยมีเป้าหมายหลักคือการรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่บ้านขุนลาว บ้านห้วยคุณพระ และบ้านห้วยไคร้ จากนั้นได้ขยายพื้นที่ในการพัฒนาไปต้นน้ำแม่สรวย คือบ้านดอยช้าง บ้านใหม่พัฒนา และบ้านผาแดงหลวง รวมไปถึงต้นน้ำแม่กรณ์ ที่มีหมู่บ้านร่มเย็น โดยสร้างการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน และความสามารถในการประกอบอาชีพที่มั่นคง ลดทอนปัญหาการทิ้งถิ่น”

ธชา อุนนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ งานการตลาด บริษัท พีเอ็ม เอสอี จำกัด

“เรามองเห็นถึงการขยายผลการรักษาป่าต้นน้ำ เพิ่มพื้นที่ป่า ด้วยการสร้างเครือข่ายพันธมิตร ที่มีเจตนารมณ์ในการรักษาผืนป่าของประเทศไทย ด้วยแนวคิด Partnership for Sustainability โดยมีเป้าหมายขยายพื้นที่ป่าด้วยการมีส่วนร่วมเพื่อ ให้ “คน” กับ “ป่า” อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน สู่การเป็นชุมชนมีวนา ซึ่งการพัฒนาห่วงโซ่ชุมชนมีวนาเพื่อรักษาผืนป่า เราต้องพัฒนาทั้งห่วงโซ่ ตั้งแต่กระบวนการปลูกและผลิตกาแฟ จนถึงการหาช่องทางจำหน่ายเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภค โดยเฉพาะคนเมืองที่มองเห็นปัญหาเดียวกับเราแต่ไม่มีเวลาดูแลแหล่งน้ำและผืนป่าโดยตรง แต่พวกเขาก็สามารถมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าและคืนผืนป่าได้จากการเลือกบริโภคกาแฟจากชุมชนมีวนา โดยเรามีพันธมิตรผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ที่ยินดีเข้าร่วมกับชุมชนมีวนา ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งภาครัฐ คือเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ, ชุมชน เกษตรกรในพื้นที่, ภาคธุรกิจ และผู้บริโภค”

พิชิต ปิยะโชติ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติขุนแจ จ.เชียงราย

ทุกพันธมิตรเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อน Mivana Community โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่จะช่วยสร้างการตระหนักรู้ไปสู่กลุ่มผู้บริโภค ประกอบด้วย เกรฮาวด์ คาเฟ่, บีนส์แอนด์บราวน์ ร้านกาแฟแบรนด์ “Casa Lapin”, เกรทเอิร์ธ อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้จัดจำหน่ายและกระจายกาแฟพรีเมี่ยมไปยังกลุ่มธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ระดับ 5 ดาว และ สยามแม็คโคร ค้าส่งรายใหญ่ ตลอดจนร้านสินค้าออร์แกนิก อาทิ ร้านใบเมี่ยง ร้านเลม่อนฟาร์ม และเอสแอนด์พีอีกด้วย”

อภิรุณ คาปิ่น หรือพ่อหลวง (ผู้ใหญ่บ้าน) และประธานกลุ่มกาแฟอินทรีย์รักษาป่า บ้านขุนลาว เล่าว่า “ที่ผ่านมาชุมชนได้ฝ่าฟันอุปสรรคในการปกป้องผืนป่าต้นน้ำ เมื่อมีวนาเข้ามาสร้างการมีส่วนร่วม มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้เกษตรกรและคนในพื้นที่เข้าใจในการทำเกษตรแบบอินทรีย์ พัฒนาชุมชนให้ปลูกกาแฟ ทำให้ชุมชนเรามีแต่สิ่งที่ดี สุขภาพร่างกายของเกษตรก็ดีขึ้น รายได้ก็มีความแน่นอน ที่สำคัญคือเรื่องของการค้าที่เป็นธรรมที่ทางมีวนามีให้กับเรามาตลอด พร้อมกับการช่วยสร้างแบรนด์กาแฟอินทรีย์มีวนาและการกระจายสินค้าไปยังกลุ่มผู้ดื่มกาแฟระดับพรีเมี่ยม และการทำให้คนปลายน้ำเข้าใจและหันมาใส่ใจความเป็นอยู่ของคนต้นน้ำ ที่จะต้องเกื้อกูลและมีส่วนร่วมในการพลิกฟื้นผืนป่าที่ต้องเกิดการร่วมมือไม่ใช่เพียงหน้าที่ใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น”

ประสบสุข ถวิลเวชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เกรทเอิร์ธ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

ด้านตัวแทนภาคธุรกิจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนมีวนา ประสบสุข ถวิลเวชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เกรทเอิร์ธ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่เป็นผู้นำกาแฟไปกระจายต่อให้กับกลุ่มธุรกิจโรงแรม กล่าวว่า “เราเริ่มต้นธุรกิจจากการนำเข้าแบรนด์ชั้นนำที่เน้นการปลูกกาแฟที่ตระหนักถึงการสร้างสังคมยั่งยืน และต้องการเพิ่มสัดส่วนการจำหน่ายเมล็ดกาแฟ ที่มาจากภายในประเทศ และต้องมีความเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ซึ่งตรงกับผลิตภัณฑ์จากชุมชนมีวนา ที่มีเรื่องราวในการพัฒนาชุมชน และพลิกฟื้นผืนป่า ที่สร้างคุณค่าให้กับแบรนด์โรงแรมที่ใช้เมล็ดกาแฟ ซึ่งเมื่อก่อนผู้ประกอบการทำธุรกิจจะนึกถึงกำไรมาก่อน แต่เมื่อปัจจุบันลูกค้าในกลุ่มพรีเมี่ยมเริ่มตระหนักรู้ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงทำให้กลุ่มธุรกิจโรงแรมเครือข่ายระดับโลกหันมานำเข้ากาแฟที่สร้างความยั่งยืน ซึ่งเกรทเอิร์ธจำหน่ายกาแฟออร์แกนิกในสัดส่วน 30% ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของกลุ่มธุรกิจต้องการเพิ่มเป็น 100% ในอนาคต เมื่อตลาดและผู้บริโภคร่วมกันขับเคลื่อน”

วรุณทิพย์ โตวรรณสูตร ผู้จัดการอาวุโสการตลาด บริษัท เกรย์ฮาวด์ คาเฟ่ จำกัด

"เกรย์ฮาวด์ได้มีส่วนร่วมกับมีวนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การใช้เมล็ดกาแฟในช่วงแรกๆ ซึ่งเรามองถึงการช่วยรักษาป่าต้นน้ำ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากการใช้สารเคมี การสร้างอาชีพให้ชาวบ้าน และมีวนายังเป็นกาแฟที่เต็มไปด้วยคุณภาพคับแก้ว ตั้งแต่การปลูก เก็บ การแปรรูป จนนำมาชงเป็นกาแฟรสชาติเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร"วรุณทิพย์ โตวรรณสูตร ผู้จัดการอาวุโสการตลาด บริษัท เกรย์ฮาวด์ คาเฟ่ จำกัด เล่าถึงการมีส่วนร่วม

เติมพงศ์ อยู่วิทยา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีนส์ แอนด์ บราวน์ จำกัด

จากนั้นเกรย์ฮาวได้ร่วมคิดค้นกาแฟสูตรกาแฟร่วมกับมีวนาให้เป็น Signature “Greyhound Blend by Mivana Organic Forest Coffee” เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการทำสิ่งดีๆ ให้กับสังคม ได้บอกต่อเรื่องราวดีๆ ที่ทีมงานของเราได้ไปสัมผัสในพื้นที่จริง ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้และเกิดการมีส่วนร่วมว่ากาแฟที่พวกเขาดื่มนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูธรรมชาติและเพิ่มพื้นที่ป่าในจ.เชียงราย”

เติมพงศ์ อยู่วิทยา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีนส์ แอนด์ บราวน์ จำกัด เจ้าของแบรนด์ “Casa Lapin” มองว่า “จุดยืนของธุรกิจต้องการพัฒนาแบรนด์กาแฟโดยมุ่งเน้นกาแฟออร์แกนิกที่รับซื้อจากเกษตรกรของไทย และจุดขายของกาแฟที่ร้านเน้นเรื่องกลิ่น รสชาติ และกาแฟที่ดีต้องอยู่กระบวนการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพราะเรารู้ว่ากาแฟที่ดี ต้องมาจากดินที่ดี บริสุทธิ์ และกระบวนการคั่วตลอดจนการชงที่ดี ดังนั้นการอนุรักษ์ผืนป่าจึงเป็นทางอ้อมที่จะทำให้คนตระหนักรู้ว่าเมื่อทานกาแฟมีวนา ภายใต้ร้าน Casa Lapin แล้วยังได้มีส่วนเพิ่มผืนป่าอีกด้วย”

ทัศนีย์ ทิมสถิตย์ Senior Manager-Commercial Dry food บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)

"การขยายฐานลูกค้ากาแฟออร์แกนิกให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น ด้วยการวางจำหน่ายกาแฟของชุมชนมีวนาให้กับกลุ่มผู้บริโภคกาแฟ และผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย ในปัจจุบันสินค้าเริ่มออกสูตรออร์แกนิกมาให้เลือกซื้อกันอย่างมากมาย ซึ่งในกระบวนการผลิตสินค้าแบบออร์แกนิกนั้น โดยมากจะใช้วัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติ ไม่ทำลายระบบนิเวศ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และดีต่อสุขภาพ แม็คโครในฐานะที่เป็นช่องทางการจำหน่าย จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ” ทัศนีย์ ทิมสถิตย์ Senior Manager-Commercial Dry food บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าว

กระบวนการทำงานของชุมชนมีวนา การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืน และขยายผลการมีส่วนร่วม ให้ผู้ที่มาร่วมงานได้มีส่วนร่วมเพิ่มพื้นที่ป่ามีวนาในรูปแบบที่ถนัด และยังมีการเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจร่วมกิจกรรม “การทำแนวกันไฟป่า” ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีในการปกป้องแหล่งต้นน้ำและเพิ่มพื้นที่ป่า ทั้งหมดนี้ ชุมชนมีวนามุ่งหวังสร้างพันธมิตรเพื่อนำแนวคิด Partnership for Sustainability ให้ขยายผลให้เกิดเป็น “โมเดลป่ามีวนา” อนุรักษ์ฟื้นฟูป่าอย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้ “คน” กับ “ป่า” อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน