กระแสโลกในปัจจุบันให้ความสำคัญกับหลัก “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development) คือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่สร้างผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต
นั่นคือ ต้องไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการพยายามอนุรักษ์ธรรมชาติไว้เป็นประโยชน์ให้ส่วนรวม แต่หากมีความจำเป็นที่จะดำเนินการแล้วเกิดกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่ใดที่หนึ่ง ก็จะต้องเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่อื่นๆ เป็นการชดเชยเพื่อให้ในแง่มหภาคของคุณภาพสิ่งแวดล้อมคงอยู่ได้ดังเดิม
ผู้นำในการบริหารกิจการจึงต้องมีจุดยืนในความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR (Corporate Social Responsibility)
และในปัจจุบันได้พัฒนาแนวทางไปในหลายมิติ เช่น การต่อยอดด้วยการสร้างมูลค่าร่วมหรือ CSV (Creating Shared Value) ซึ่งเป็นการพัฒนาสังคมในวิถีของการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือสังคมที่เกิดผลดีทั้งต่อกิจการธุรกิจและต่อชุมชน กล่าวคือ การสร้างคุณค่าร่วมต้องผนวกเข้ากับความสามารถในกระบวนการดำเนินงานขององค์กร
ในโลกของความเป็นจริง เราจะเห็นได้ว่าความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเป็นตัวหลักที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตจึงมีการขยายธุรกิจเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ค่อยมีใครตระหนักรู้ว่าได้ทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมา ซึ่งคิดว่าเรา “โตด้วยการทำลายทรัพยากร ไม่ได้โตด้วยความยั่งยืน” แล้วก็เกิดความเหลื่อมล้ำภายในสังคม เราได้เห็นว่าประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมขณะที่มีการทำให้สภาพของสิ่งแวดล้อมเสียหายไปนี่เป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน
ผมเคยได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาในหัวข้อเกี่ยวกับความยั่งยืน ที่กล่าวถึง 17 เป้าหมายสร้างความยั่งยืนของโลก ที่ผู้นำทุกประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์กรประชาชาติลงนามยืนยันจะนำไปดำเนินการแก้ปัญหา แต่ดูเหมือนไทยเรายังให้ความสำคัญน้อยกว่านานาชาติ
ทั้งนี้ โลกเห็นแล้วว่าประเทศที่ยึดปรัชญาของสังคมนิยมนั้นได้ล่มสลายไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อวิเคราะห์กันก็เห็นประเด็นพิจารณาว่าการใช้เสรีภาพของเศรษฐกิจแบบการตลาดยังเป็นคำตอบที่ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ และต้องคำนึงถึงการทำอย่างไรให้ยั่งยืน
เพราะถ้าระบบเศรษฐกิจทำให้สังคมมีความเหลื่อมล้ำและสิ่งแวดล้อมทรัพยากรถูกทำลายแล้วการมุ่งแต่เป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในยุคนี้เห็นกันแล้วว่าไม่ถูกต้อง ในระดับโลกจึงเกิดแนวทางที่เป็นการหาทางออก เช่น อังกฤษเกิดกระบวนการริเริ่ม 10 กว่าปีแล้วคือ กิจการเพื่อสังคม หรือ SE (Social Enterprise) ที่มีการสนับสนุนให้เกิดองค์กรเล็กๆให้มาเป็นแนวร่วม บริษัทที่ค้าขายใหญ่โตก็เข้าร่วมในกระบวนการนี้ด้วย
องค์กรใช้วิธีการบริหารเชิงธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยแก้ปัญหาสังคมกระจายไปทั่วโลกและที่ประเทศไทยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก็เริ่มมีแนวคิดเรื่องนี้จนมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริม SE ขึ้น แต่ยังไม่เกิดเป็นรูปธรรม
นี่เป็นแนวคิดใหม่ เพราะในอดีตคนทำธุรกิจก็คาดหวังเรื่องกำไรต้องทำให้ดีที่สุด ปัจจุบันนี้เริ่มมีความคิดว่ากำไรที่ได้รับการแบ่งปันไปพัฒนาสังคม เป็นการมองผลลัพธ์สามมิติ (Triple Bottom Line) คือ มองความสมดุลของเศรษฐกิจ (Profit) สังคม (People) และสิ่งแวดล้อม (Planet) ซึ่งเป็นองค์ประกอบช่องทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน สังคม ชุมชนรวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย ถ้าขาดไปคุณภาพชีวิตก็ไม่สมดุล เพราะการสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจต้องควบคู่กับโลกใบนี้ต้องอยู่ในการเจริญเติบโตที่ไม่ใช่มุ่งแต่ผลกำไรแต่ต้องมองผลระยะยาวเพื่อความยั่งยืน
สำหรับบทบาทของสถาบันคีนันแห่งเอเชียนั้น เห็นได้ชัดจากการระบุในพันธกิจขององค์กรก็คือ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยการให้องค์ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ โดยร่วมมือกับพันธมิตรจากภาคส่วนต่างๆ
ดังนั้น แนวคิดใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจึงหมายถึงการทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) มีความเข้าใจและมีจิตสำนักว่า ถ้าโลกใบนี้ต้องการ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อให้เกิดความมั่นคง มีเสถียรภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสงบสุข ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมต้องทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยส่งเสริม ลดละการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมโลก ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมและแบ่งปันรายได้ส่วนเกินสู่ผู้ด้อยโอกาส
“ในปัจจุบันได้พัฒนาแนวทางไปในหลายมิติ เช่น การต่อยอดด้วยการสร้างมูลค่าร่วมหรือ CSV (Creating Shared Value) ซึ่งเป็นการพัฒนาสังคมในวิถีของการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือสังคมที่เกิดผลดีทั้งต่อกิจการธุรกิจและต่อชุมชน”
นั่นคือ ต้องไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการพยายามอนุรักษ์ธรรมชาติไว้เป็นประโยชน์ให้ส่วนรวม แต่หากมีความจำเป็นที่จะดำเนินการแล้วเกิดกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่ใดที่หนึ่ง ก็จะต้องเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่อื่นๆ เป็นการชดเชยเพื่อให้ในแง่มหภาคของคุณภาพสิ่งแวดล้อมคงอยู่ได้ดังเดิม
ผู้นำในการบริหารกิจการจึงต้องมีจุดยืนในความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR (Corporate Social Responsibility)
และในปัจจุบันได้พัฒนาแนวทางไปในหลายมิติ เช่น การต่อยอดด้วยการสร้างมูลค่าร่วมหรือ CSV (Creating Shared Value) ซึ่งเป็นการพัฒนาสังคมในวิถีของการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือสังคมที่เกิดผลดีทั้งต่อกิจการธุรกิจและต่อชุมชน กล่าวคือ การสร้างคุณค่าร่วมต้องผนวกเข้ากับความสามารถในกระบวนการดำเนินงานขององค์กร
ในโลกของความเป็นจริง เราจะเห็นได้ว่าความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเป็นตัวหลักที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตจึงมีการขยายธุรกิจเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ค่อยมีใครตระหนักรู้ว่าได้ทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมา ซึ่งคิดว่าเรา “โตด้วยการทำลายทรัพยากร ไม่ได้โตด้วยความยั่งยืน” แล้วก็เกิดความเหลื่อมล้ำภายในสังคม เราได้เห็นว่าประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมขณะที่มีการทำให้สภาพของสิ่งแวดล้อมเสียหายไปนี่เป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน
ผมเคยได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาในหัวข้อเกี่ยวกับความยั่งยืน ที่กล่าวถึง 17 เป้าหมายสร้างความยั่งยืนของโลก ที่ผู้นำทุกประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์กรประชาชาติลงนามยืนยันจะนำไปดำเนินการแก้ปัญหา แต่ดูเหมือนไทยเรายังให้ความสำคัญน้อยกว่านานาชาติ
ทั้งนี้ โลกเห็นแล้วว่าประเทศที่ยึดปรัชญาของสังคมนิยมนั้นได้ล่มสลายไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อวิเคราะห์กันก็เห็นประเด็นพิจารณาว่าการใช้เสรีภาพของเศรษฐกิจแบบการตลาดยังเป็นคำตอบที่ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ และต้องคำนึงถึงการทำอย่างไรให้ยั่งยืน
เพราะถ้าระบบเศรษฐกิจทำให้สังคมมีความเหลื่อมล้ำและสิ่งแวดล้อมทรัพยากรถูกทำลายแล้วการมุ่งแต่เป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในยุคนี้เห็นกันแล้วว่าไม่ถูกต้อง ในระดับโลกจึงเกิดแนวทางที่เป็นการหาทางออก เช่น อังกฤษเกิดกระบวนการริเริ่ม 10 กว่าปีแล้วคือ กิจการเพื่อสังคม หรือ SE (Social Enterprise) ที่มีการสนับสนุนให้เกิดองค์กรเล็กๆให้มาเป็นแนวร่วม บริษัทที่ค้าขายใหญ่โตก็เข้าร่วมในกระบวนการนี้ด้วย
องค์กรใช้วิธีการบริหารเชิงธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยแก้ปัญหาสังคมกระจายไปทั่วโลกและที่ประเทศไทยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก็เริ่มมีแนวคิดเรื่องนี้จนมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริม SE ขึ้น แต่ยังไม่เกิดเป็นรูปธรรม
นี่เป็นแนวคิดใหม่ เพราะในอดีตคนทำธุรกิจก็คาดหวังเรื่องกำไรต้องทำให้ดีที่สุด ปัจจุบันนี้เริ่มมีความคิดว่ากำไรที่ได้รับการแบ่งปันไปพัฒนาสังคม เป็นการมองผลลัพธ์สามมิติ (Triple Bottom Line) คือ มองความสมดุลของเศรษฐกิจ (Profit) สังคม (People) และสิ่งแวดล้อม (Planet) ซึ่งเป็นองค์ประกอบช่องทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน สังคม ชุมชนรวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย ถ้าขาดไปคุณภาพชีวิตก็ไม่สมดุล เพราะการสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจต้องควบคู่กับโลกใบนี้ต้องอยู่ในการเจริญเติบโตที่ไม่ใช่มุ่งแต่ผลกำไรแต่ต้องมองผลระยะยาวเพื่อความยั่งยืน
สำหรับบทบาทของสถาบันคีนันแห่งเอเชียนั้น เห็นได้ชัดจากการระบุในพันธกิจขององค์กรก็คือ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยการให้องค์ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ โดยร่วมมือกับพันธมิตรจากภาคส่วนต่างๆ
ดังนั้น แนวคิดใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจึงหมายถึงการทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) มีความเข้าใจและมีจิตสำนักว่า ถ้าโลกใบนี้ต้องการ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อให้เกิดความมั่นคง มีเสถียรภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสงบสุข ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมต้องทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยส่งเสริม ลดละการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมโลก ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมและแบ่งปันรายได้ส่วนเกินสู่ผู้ด้อยโอกาส
“ในปัจจุบันได้พัฒนาแนวทางไปในหลายมิติ เช่น การต่อยอดด้วยการสร้างมูลค่าร่วมหรือ CSV (Creating Shared Value) ซึ่งเป็นการพัฒนาสังคมในวิถีของการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือสังคมที่เกิดผลดีทั้งต่อกิจการธุรกิจและต่อชุมชน”
ปิยะบุตร ชลวิจารณ์
ประธานกรรมการอำนวยการ
สถาบันคีนันแห่งเอเชีย