บรรดาธุรกิจค้าปลีกที่ยึดมั่นต่อการเพิ่มความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลถึงความมุ่งมั่นสู่การลดขยะ ความสูญเสียและดำเนินธุรกิจบนแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โลกยกย่องและเชิดชูธุรกิจแบรนด์แฟชั่นว่าดำเนินการเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เห็นชัดถึงการปฏิบัติที่ยั่งยืน
การพัฒนาที่น่ายกย่องของแบรนด์แฟชั่น ซึ่งไม่ค่อยมีธุรกิจชั้นนำอื่นของโลกกล้าทำมากนัก คือ การกล้าที่จะสัญญาและผูกมัดกับบุคคลที่ 3 อย่างองค์กร Greenpeace และ Canopy ในการติดตามกำกับแผนการพัฒนาสู่ความยั่งยืนว่าสามารถดำเนินการได้ภายในกรอบเวลาที่แน่นอน
นอกเหนือจากการประกาศตัวเป็นแบรนด์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อหน้าสาธารณชนแล้ว แบรนด์แฟชั่นเหล่านี้ยังมีการเคลื่อนไหวเชิงโครงสร้างภายในที่เป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐานสู่ Greener มากขึ้น
กรีนพีช องค์กรเพื่อความยั่งยืนที่ทุกแบรนด์เกรงกลัวนักหนา ได้เริ่มเปิดแคมเปญพิเศษ ชื่อ Detox My Fashionที่มุ่งแฉพฤติกรรมการดำเนินธุรกิจสิ่งทอว่าได้ผลิตสินค้าที่อันตรายของสารเคมีมากน้อยเพียงใด เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักและตื่นตัวในพฤติกรรมการซื้อของตนว่ามีส่วนสร้างมลภาวะให้แก่โลกมากน้อยตามไปด้วย และได้รับรู้ว่าแบรนด์แฟชั่นเสื้อผ้ายี่ห้อใดที่รับผิดชอบน้อยมากต่อมลภาวะของสารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมของโลก ผ่านการปล่อยสารเคมีสู่แหล่งน้ำ
ขณะเดียวกัน วงการต้องกระตุ้นให้ผู้ผลิตสิ่งทอและผู้ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่น รับผิดชอบต่อวิธีปฏิบัติทางธุรกิจของตน หันไปเข้มงวดวิธีปฏิบัติของซัปพลายเออร์ของแบรนด์แฟชั่น เพื่อรับผิดชอบต่อสังคมและโลกให้มากขึ้น ในการปล่อยสารทอกซิสสู่แหล่งน้ำ
การทำงานของกรีนพีช เริ่มจากการมุ่งเน้นที่แบรนด์เสื้อผ้ากีฬาก่อนเป็นอันดับแรก ด้วยการตรวจสอบสถานะของแบรนด์ขายปลีกระหว่างประเทศ 76 แบรนด์ ผ่านการคัดกรองด้วย 5 ขั้นตอนของ Detox Program และตั้งเป้าให้แบรนด์แฟชั่นเป็นธุรกิจที่ปราศจากสารเคมีภายในปี 2020
นับจากปี 2013 เป็นต้นมา กรีนพีชเฝ้าติดตามความคืบหน้าของแบรนด์ดังเหล่านั้นทุกปีว่ามีการพยายามจะลดสารเคมีหรือไม่ และโจมตีด้วยการออกรายงาน Detox Catwalk ว่าแบรนด์ใดก้าวหน้าในการพัฒนารูปแบบธุรกิจสู่ toxic-free และแบรนด์ใดล้าหลัง ไม่ใส่ใจบ้าง
ในปี 2016 กรีนพีชหันมาติดตาม ว่ามีแบรนด์แฟชั่นรายใดที่สามารถบรรลุเป้าหมาย toxic-free ได้ภายในปี 2020 ที่เป็นเส้นตายบ้าง และแสดงว่ามี 3 แบรนด์ดังที่มีความก้าวหน้าไกลกว่าเพื่อนและเข้าข่ายตามมาตรฐานของกรีนพีช
รายแรกInditux ที่เป็นบริษัทแม่ของแบรนด์ Zera
รายที่สองH2M Group
รายที่สามBenetton
รายที่สี่Pull&Bear
รายที่ห้าMassion Dutti
รายที่หกBershka
พฤติกรรมที่กรีนพีช ถือว่าก้าวหน้าพิจารณาจากหลายปัจจัยในการเรียงลำดับ 3 แบรนด์ดังกล่าว
ปัจจัยที่ 1 การยึดมั่นต่อรายการที่เข้มงวดในสัดส่วนการผลิตไม่เกินเกณฑ์ (Manufacturing Restricted Substances List
ปัจจัยที่ 2 การลดระดับและกำจัดสัดส่วนของสารเคมีในห่วงโซ่การผลิต
ปัจจัยที่ 3 ระดับความน่าเชื่อถือในความซื่อสัตย์ของพฤติกรรมการพัฒนาและความพยายาม
จากการประเมินของกรีนพีช แบรนด์ที่ทำการปรับตัวได้ไม่ดีนัก ได้แก่ แบรนด์ Limited Brands ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ Victories Secre t และ Henri Bendel และ Nike ซึ่งถูกกลุ่มกรีนพีชเรียกร้องให้เร่งมือปรับปรุงสภาพโดยด่วน
แบรนด์ที่ดำเนินการพัฒนาได้ดีขึ้นในแง่ของความโปร่งใสด้านเดียว ได้แก่ Limited Brands ขณะที่ Nike ไม่ผ่านเกณฑ์ทั้งสามปัจจัยข้างต้น และเป็นแบรนด์ในลำดับท้ายๆ ร่วมกับ Esprit และ Li-Ning
ในปี 2016 กรีนพีชได้แสดงให้เห็นชัดว่าแบรนด์แฟชั่นมีความใส่ใจและความเคลื่อนไหวที่ก้าวหน้าดีขึ้นหลายแบรนด์ โดยเฉพาะการปรับกระบวนการผลิตในห่วงโซ่อุปทานของตน ให้มีสารเคมีอันตรายที่ปล่อยสู่แหล่งน้ำลดลง และมีโอกาสที่จะก้าวสู่ toxic-free ภายในปี 2020 โดยแบรนด์ที่น่าพอใจมีถึง 19 แบรนด์
สำหรับแบรนด์ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาดีขึ้นในความเห็นของกรีนพีช คือ Mango, Adidas, Burberry, Primark, Levis, Pumaและ M&S ซึ่งกรีนพีชได้แต่หวังว่าการเปิดเผย Detox Catwalk จะทำให้แบรนด์เนมแฟชั่นทั้งหลายดีขึ้นและไม่กล้าหยุดอยู่กับที่