ตลอดระยะเวลา 30 ปี โครงการกระเช้าลอยฟ้าถู กผลักดันมานับครั้งไม่ถ้วน เป็นคำถามว่าทำไมการขับเคลื่ อนทุกยุคสมัยไม่สามารถทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้จริง ซึ่งเสียงจากฝ่ายคัดค้านสะท้อนให้เห็น 10 เหตุผลหลักที่ทำให้โครงการนี้ ไม่ควรเกิดขึ้น
1.ครั้งหนึ่งในชีวิตเราคือผู้พิชิตภูกระดึง คือเสน่ห์ที่จะสูญเสียไป เมื่อกระเช้าสามารถพานักท่องเที่ยวจำนวน 253,500 คนต่อปี หรือเพิ่มจากเดิมประมาณ 4 เท่าขึ้นไปด้านบนได้ จากความยากที่กว่าจะได้ขึ้นไปถึงยอดภู กระเช้าจะทำให้ทุกอย่างง่ายลง และเสน่ห์ทั้งหมดต้องสูญเสียไป
2.เมื่อรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ก็เสี่ยงที่ธรรมชาติจะถูกทำลายลงมากเช่นกัน แม้โครงการจะระบุว่าสามารถสร้างเส้นทางเพื่อบังคับให้นักท่องเที่ยวใช้พื้นที่อย่างจำกัด แต่สภาพบนภูกระดึง ตั้งแต่หลังแปกินพื้นที่บริเวณกว้างซึ่งยากที่จะควบคุมไม่ให้นักท่องเที่ยวออกไปนอกเส้นทางได้
3.พื้นที่ป่าต้องมีการฟื้นฟู ในช่วงหน้าฝนประมาณ 3-4เดือน แต่เงินลงทุนจำนวนมาก ผลประโยชน์ที่คาดการณ์ว่าจะได้รับก็ต้องคุ้มทุนเช่นกัน ซึ่งอาจหมายถึงความจำเป็นที่ต้องเปิดรับนักท่องเที่ยวตลอดปี กลายเป็นความเสี่ยงต่อธรรมชาติ ในช่วงที่สมควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
4.เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แหล่งอำนวยความสะดวกจะเกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ หรือห้องน้ำ และตามมาด้วยขยะและน้ำเสียที่จะมากขึ้นบนพื้นที่อุทยาน
5.ประเทศไทยมีพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่มีความสมบูรณ์ และสวยงามเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายแห่งสะดวกสบายในการเดินทางไปถึง โดยสถานที่เหล่านั้นจะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวในกลุ่มเด็ก คนชรา หรือผู้พิการได้ จึงไม่จำเป็นที่จะทำลายพื้นที่ป่าบนภูกระดึง ทั้งๆ ที่แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ก็ยังคงมีศักยภาพในการให้บริการ
6.สิ่งแปลกปลอมที่มากขึ้นส่งผลต่อจำนวนของพันธุ์พืชและสัตว์ป่า ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีชุมชนโดยรอบจำนวนมาก สัตว์ป่าหลากหลายชนิด จึงเลือกที่จะอาศัยอยู่บนหลังแปเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนจากชุมชน แต่เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่ถูกส่งจากกระเช้ามายังหลังแปมากขึ้น ความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าเหล่านี้ก็จะถูกกระทบด้วย
7.อาชีพที่จะสูญเสียไปคือลูกหาบ อาชีพของคนท้องถิ่นที่มีความเป็นอิสระ ด้วยองค์ความรู้ของพวกเขาจึงยากที่จะมีอาชีพหลากหลายรองรับ การสร้างกระเช้าก็คือการลอยแพอาชีพของชาวบ้านเหล่านี้ ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมร้านค้าระหว่างทาง รวมไปถึงรีสอร์ทในบริเวณใกล้เคียง เพราะเมื่อกระเช้ามีจุดประสงค์ เพื่อหมุนนักท่องเที่ยวให้เดินทางได้เร็วขึ้น ไม่ต้องค้างคืนด้านบน พฤติกรรมนักท่องเที่ยวอาจเปลี่ยนไปโดยเดินทางต่อไปยังแหล่งท่ องเที่ยวอื่น เม็ดเงินที่คาดการณ์ว่าจะกระจายสู่คนในท้องถิ่นจึงอาจไม่เกิดขึ้นจริง
8.การเกิดขึ้นของผู้กระดึงขั ดแย้งต่อจุดประสงค์หลักของการตั ้งพื้นที่อุทยานที่มีเพื่อรั กษาพื้นที่ป่า และเป็นแหล่งศึกษาวิจัย ส่วนในด้านการให้บริการเพื่อสั นทนาการเป็นประเด็นที่รองลงมา แต่สิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นคือจุ ดประสงค์ของอุ ทยานในการกอบโกยรายได้เพื่ อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
9.ความไม่รอบคอบรัดกุมของการศึกษาผลกระทบ ที่เห็นว่าไม่ครอบคลุมทั้งผืนป่า โดยข้อมูลพบว่าเป็นเพียงการศึกษาเฉพาะพื้นที่ก่อสร้างเท่านั้ น รวมไปถึงการสำรวจความคิดเห็นที่ทำเฉพาะคนในพื้นที่ และสอบถามแหล่งตัวอย่างจำนวนน้อย ทั้งที่จุดประสงค์ของการก่อสร้างมีเพื่อคนไทยทุกคน
10. แม้ท้ายที่สุดการออกแบบโครงการ การจัดการ และการประเมินผลกระทบ จะตอบโจทย์ในทุกด้านได้ตามอย่างวัตถุประสงค์ที่วางไว้ แต่หนามยอกอกคนไทยคือคำมั่นสัญญาที่เขียนไว้ในกระดาษจะนำมาปฏิบัติจริงได้ มากน้อยเพียงใด ซึ่งอุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่ เปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ ก็สะท้อนให้เห็นว่าหลากหลายมาตรการยังคงหละหลวม ผลกระทบจึงไปตกอยู่ที่ทรัพยากรธรรมชาติ และงบประมาณจากภาษีของประชาชนที่ต้องสูญเสียไป
(ความคิดเห็นทั้งหมดนี้ถูกสะท้อนผ่านเวทีเสวนากระเช้าภูกระดึง มโน…โปรเจกต์ ที่จัดโดยเครือข่ายคัดค้านกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึง เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
ความคืบหน้า
28 ก.พ. 2559 พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวยืนยันว่ายังไม่ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึง โดยอยู่ระหว่างทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบผลการศึกษาโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึง จังหวัดเลย ขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)
“การเดินหน้าโครงการสร้างกระเช้าต้องได้รับความยินยอมจากทุกฝ่ายไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด โดยเฉพาะการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ยังไม่ได้ส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
ขณะที่ พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาย้ำถึงกระแสข่าวการจัดสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จ.เลย ว่า ครม. เพียงแค่รับทราบผลการศึกษาโครงการที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เสนอมาเท่านั้น ยังไม่ได้มีการเห็นชอบหรืออนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างใดๆ ทั้งสิ้น
"ครม.มีมติให้ อพท.ไปหารายละเอียดเพิ่มเติมทั้งด้านเทคนิคและความคุ้มค่า ซึ่งรัฐบาลเห็นว่าไม่ควรให้น้ำหนักไปที่เรื่องมูลค่าของตัวเงินที่จะได้รับจากนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเมื่อขึ้นภูสะดวกขึ้น ก็จะทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของธรรมชาติและเกิดความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้น การพัฒนาจึงต้องพิจารณาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพควบคู่กัน"
"โครงการนี้ยังจำเป็นต้องรอผลการพิจารณาเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกกว่า 6 เดือน ดังนั้น จึงขอให้พี่น้องประชาชนได้เข้าใจตามข้อเท็จจริงนี้ เพื่อลดความสับสนตามที่มีการกล่าวอ้างกัน"
7 มี.ค.2559 สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ยื่น 17,000 รายชื่อคัดค้านการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดนำโดย ศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน พร้อมด้วยเครือข่ายภาคประชาชน ได้นำรายชื่อ ประชาชนที่ลงชื่อผ่านเวปไซต์ Change.org คัดค้านโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จังหวัดเลย จำนวน 17,000 รายชื่อ พร้อมความเห็นของประชาชนที่คัดค้านมายื่นให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำไปเป็นข้อมูลในการพิจารณาก่อนตัดสินใจดำเนินโครงการ
“ยืนยันว่าจะเดินหน้าคัดค้านการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงต่อไป เพราะไม่เชื่อว่าหลังการก่อสร้างแล้ว จะมีการบริหารจัดการดูแลธรรมชาติได้”