การสัมมนา CG Forum ครั้งที่ 1 เมื่อเร็วๆ นี้ มุ่งให้กรรมการและผู้บริหารเห็นความสำคัญของการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนขององค์กร
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น ได้ส่งเสริมหลัก CG หรือธรรมาภิบาล มาตั้งแต่เปิดดำเนินงาน จึงมีผลในการสร้างความเข้มแข็ง เป็นที่เชื่อมั่น เป็นประโยชน์ต่อสังคม และส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนที่มีคุณภาพ
จากภาวการณ์ที่ดำเนินมาถึงปัจจุบันขอตั้งประเด็นในมุมมองที่กว้างขึ้น 6 ประเด็นเพื่อเชื่อมโยงความสำคัญที่อยู่ในกระแสความสนใจ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD), ธรรมาภิบาล (CG), จริยธรรม และความเป็นผู้นำ
1.ความเชื่อมโยงของ CG กับ SD
การบริหารกิจการด้วยหลักธรรมาภิบาล (CG) มีผลดีแน่ เพราะนอกจากมีคุณภาพด้วยตัวเองแล้ว ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในหลายมิติ การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD) ซึ่งเป็นการดำเนินงานเพื่อช่วยโลกและสังคมยั่งยืน มีผลให้องค์กรยั่งยืน ทั้งนี้ โดยใช้หลักการพัฒนา 3 มิติ คือ ESG ได้แก่ E (Environmental) เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม S (Social) การสร้างคุณค่าต่อสังคม และG (Governance) มีธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสนับสนุนเศรษฐกิจและธุรกิจให้ก้าวหน้ายั่งยืน
ด้วยการบริหารจัดการสำคัญ 3 ด้าน คือ การบริหารความเสี่ยง การบริหารห่วงโซ่อุปทานและการบริหารนวัตกรรม
2.การส่งต่อจากบทบาทคณะกรรมการสู่การปฏิบัติทั้งองค์กรในเรื่อง CG
ความสำคัญอยู่ที่บทบาทของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ดังที่สถาบัน IOD กระตุ้นให้ตระหนักใน “การกำกับดูแลกิจการที่ดี” บริษัทจึงจะต้องกำกับดูแลให้องค์กรขับเคลื่อนไปโดยคำนึงถึง หลัก 5 ประการ ได้แก่ (1) สิทธิและความเท่าเทียมของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย (2) การดูแลไม่ให้มีความขัดแย้งของผลประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ (3) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (4) การควบคุมและบริหารความเสี่ยง (5) มีจริยธรรมธุรกิจหรือจรรยาบรรณตามที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรทั้งนี้ ต้องถ่ายทอดแนวคิดสู่การปฏิบัติของพนักงานทั้งองค์กรที่คำนึงถึง Core Values (ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร)
3.ทำไมจึงเชื่อมั่นหลัก CG หรือหลักจริยธรรม
คณะกรรมการและผู้บริหารต้องมีความเชื่อใจและทำด้วยใจมุ่งมั่น โดยไม่มองว่าเป็นเพียงหลักที่ทำตามกระแสสากล แต่เป็นเรื่องเข้ากับวัฒนธรรมไทย และหลักคำสอนของสังคมไทยเราเอง เช่น สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนาที่สอนให้ทำความดีมีเมตตา เอื้อเฟื้อและไม่เบียดเบียนผู้อื่น
หากเรื่อง “ทศพิธราชธรรม” ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติของพระราชาหรือผู้นำองค์กรที่ประกอบด้วย ทาน, ศีล, บริจาค, ความซื่อตรง, ความอ่อนโยน, ความเพียร, ความไม่โกรธ, ความไม่เบียดเบียน, ความอดทน, ความเที่ยงตรง
จะเห็นได้ว่ามีหัวข้อเกี่ยวกับ CG หรือจริยธรรมอยู่ 3 ข้อ ขณะที่การทำทานและบริจาคก็เป็นบทบาทด้าน CSR
4.ทำไมหลัก CG และ SD จึงมีความสำคัญในปัจจุบัน
เพราะการคบค้ากับองค์กรที่มีคุณภาพและมีความดีเป็นความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ได้แก่ผู้ลงทุน ลูกค้า คู่ค้า หรือคู่ธุรกิจ รวมทั้งพนักงานและชุมชน (สังคม)
องค์กรจึงต้องระวังการเกิดความเสี่ยง (หลักการหนึ่งในการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน) ในการรักษาชื่อเสียง (Reputation risk) คือความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์ ท้าทายต่อการรับรู้ของสังคมว่าองค์กรดีจริงหรือไม่ ควรสนับสนุนหรือไม่ โดยเฉพาะยุคโซเชียลมีเดีย ดังนั้น การป้องกันความเสี่ยง คือ การมี CG และมีจริยธรรม
5.การสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กรต้องเริ่มจากบทบาทผู้นำ
ผู้นำที่มีความเชื่อและเห็นคุณค่า จะผลักดันให้เกิดสิ่งสำคัญและนวัตกรรมในองค์กร อาจกำหนดนโยบาย จัดระบบการทำงาน สนับสนุนบุคลากร และการเงิน รวมถึงต้องแก้ไขอุปสรรคที่อาจมีขึ้น บทบาทภาวะผู้นำสูงสุดจึงจำเป็นมาก โดยเฉพาะเป็นเรื่องที่มีการริเริ่มและต้องดำเนินการทั่วทั้งองค์กร
จะเห็นว่า SD เป็นภาพใหญ่ขององค์กร ตลาดหลักทรัพย์ฯจึงกระตุ้นและส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนเห็นประโยชน์ของการพัฒนาองค์กรให้ได้ตามเกณฑ์สากล จนติดอันดับในดัชนีความยั่งยืนของโลกหรือ DJSI
จากการคุยกับผู้นำกิจการ มีการแนะนำและสนับสนุน ผลปรากฏว่าจากที่เคยมีบจ.ไทยติดอันดับ DJSI เพียง 2 บริษัท 4 ปี ต่อมาเพิ่มเป็น 12 นั่นเพราะผู้นำเห็นคุณค่าในการยกระดับองค์กร
ตัวอย่างบริษัทที่มีผู้นำที่มุ่งมั่นเอาจริง เช่น “บ้านปู” มีคุณชนินท์ ว่องกุศลกิจ ที่เชื่อมั่นเรื่องนี้นอกจากเอาจริงต่อการส่งเสริม CG ที่มุ่งมั่นสู่ SD ในองค์กรยังมาเป็นวิทยากรให้ตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่ไทยออยล์ก็มีผู้นำองค์กรที่สนับสนุนเต็มที่ มีการตั้งหน่วยงานส่งเสริม SD มีนโยบายและการพัฒนาประเด็นที่คะแนนยังไม่ดีพอ ก็สนใจลงทุนและพัฒนาจนได้รับยกย่องต่อเนื่อง เครือปูนซิเมนต์ไทย ผู้บริหารก็มีแนวทางสนับสนุนอย่างเป็นแบบอย่างที่ดี
6.คุณสมบัติของผู้นำ ที่มีจริยธรรม ต้องเป็นแบบอย่างให้คนศรัทธาจึงต้องมีคุณลักษณะ 4 ข้อ
-มองการณ์ไกล (Vision) ทิศทางสู่ความก้าวหน้า
-ความสามารถ (Competent) +เฉลียวฉลาด (intelligence) เพื่อให้งานสำเร็จด้วยดี
-สร้างแรงบันดาลใจ ด้วยมิติมนุษยสัมพันธ์เป็นการสร้างผู้ตามที่ดี
-ความซื่อตรง (Integrity) และมีจริยธรรม
โดยสรุป จริยธรรมเป็นเรื่องที่ผู้นำองค์กรต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ทั้งในฐานะผู้ขับเคลื่อนจรรยาบรรณธุรกิจและเป็นแบบอย่างให้บุคลากรในองค์กรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ อันจะส่งเสริมให้เป็นองค์กรแห่งความดีและมีความยั่งยืน
“จากการคุยกับผู้นำกิจการ มีการแนะนำและสนับสนุน ผลปรากฏว่าจากที่เคยมีบจ.ไทยติดอันดับ DJSI เพียง2 บริษัท 4 ปีต่อมาเพิ่มเป็น 12 นั่นเพราะผู้นำเห็นคุณค่าในการยกระดับองค์กร”
ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
ประธานกรรมการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น ได้ส่งเสริมหลัก CG หรือธรรมาภิบาล มาตั้งแต่เปิดดำเนินงาน จึงมีผลในการสร้างความเข้มแข็ง เป็นที่เชื่อมั่น เป็นประโยชน์ต่อสังคม และส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนที่มีคุณภาพ
จากภาวการณ์ที่ดำเนินมาถึงปัจจุบันขอตั้งประเด็นในมุมมองที่กว้างขึ้น 6 ประเด็นเพื่อเชื่อมโยงความสำคัญที่อยู่ในกระแสความสนใจ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD), ธรรมาภิบาล (CG), จริยธรรม และความเป็นผู้นำ
1.ความเชื่อมโยงของ CG กับ SD
การบริหารกิจการด้วยหลักธรรมาภิบาล (CG) มีผลดีแน่ เพราะนอกจากมีคุณภาพด้วยตัวเองแล้ว ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในหลายมิติ การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD) ซึ่งเป็นการดำเนินงานเพื่อช่วยโลกและสังคมยั่งยืน มีผลให้องค์กรยั่งยืน ทั้งนี้ โดยใช้หลักการพัฒนา 3 มิติ คือ ESG ได้แก่ E (Environmental) เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม S (Social) การสร้างคุณค่าต่อสังคม และG (Governance) มีธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสนับสนุนเศรษฐกิจและธุรกิจให้ก้าวหน้ายั่งยืน
ด้วยการบริหารจัดการสำคัญ 3 ด้าน คือ การบริหารความเสี่ยง การบริหารห่วงโซ่อุปทานและการบริหารนวัตกรรม
2.การส่งต่อจากบทบาทคณะกรรมการสู่การปฏิบัติทั้งองค์กรในเรื่อง CG
ความสำคัญอยู่ที่บทบาทของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ดังที่สถาบัน IOD กระตุ้นให้ตระหนักใน “การกำกับดูแลกิจการที่ดี” บริษัทจึงจะต้องกำกับดูแลให้องค์กรขับเคลื่อนไปโดยคำนึงถึง หลัก 5 ประการ ได้แก่ (1) สิทธิและความเท่าเทียมของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย (2) การดูแลไม่ให้มีความขัดแย้งของผลประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ (3) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (4) การควบคุมและบริหารความเสี่ยง (5) มีจริยธรรมธุรกิจหรือจรรยาบรรณตามที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรทั้งนี้ ต้องถ่ายทอดแนวคิดสู่การปฏิบัติของพนักงานทั้งองค์กรที่คำนึงถึง Core Values (ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร)
3.ทำไมจึงเชื่อมั่นหลัก CG หรือหลักจริยธรรม
คณะกรรมการและผู้บริหารต้องมีความเชื่อใจและทำด้วยใจมุ่งมั่น โดยไม่มองว่าเป็นเพียงหลักที่ทำตามกระแสสากล แต่เป็นเรื่องเข้ากับวัฒนธรรมไทย และหลักคำสอนของสังคมไทยเราเอง เช่น สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนาที่สอนให้ทำความดีมีเมตตา เอื้อเฟื้อและไม่เบียดเบียนผู้อื่น
หากเรื่อง “ทศพิธราชธรรม” ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติของพระราชาหรือผู้นำองค์กรที่ประกอบด้วย ทาน, ศีล, บริจาค, ความซื่อตรง, ความอ่อนโยน, ความเพียร, ความไม่โกรธ, ความไม่เบียดเบียน, ความอดทน, ความเที่ยงตรง
จะเห็นได้ว่ามีหัวข้อเกี่ยวกับ CG หรือจริยธรรมอยู่ 3 ข้อ ขณะที่การทำทานและบริจาคก็เป็นบทบาทด้าน CSR
4.ทำไมหลัก CG และ SD จึงมีความสำคัญในปัจจุบัน
เพราะการคบค้ากับองค์กรที่มีคุณภาพและมีความดีเป็นความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ได้แก่ผู้ลงทุน ลูกค้า คู่ค้า หรือคู่ธุรกิจ รวมทั้งพนักงานและชุมชน (สังคม)
องค์กรจึงต้องระวังการเกิดความเสี่ยง (หลักการหนึ่งในการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน) ในการรักษาชื่อเสียง (Reputation risk) คือความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์ ท้าทายต่อการรับรู้ของสังคมว่าองค์กรดีจริงหรือไม่ ควรสนับสนุนหรือไม่ โดยเฉพาะยุคโซเชียลมีเดีย ดังนั้น การป้องกันความเสี่ยง คือ การมี CG และมีจริยธรรม
5.การสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กรต้องเริ่มจากบทบาทผู้นำ
ผู้นำที่มีความเชื่อและเห็นคุณค่า จะผลักดันให้เกิดสิ่งสำคัญและนวัตกรรมในองค์กร อาจกำหนดนโยบาย จัดระบบการทำงาน สนับสนุนบุคลากร และการเงิน รวมถึงต้องแก้ไขอุปสรรคที่อาจมีขึ้น บทบาทภาวะผู้นำสูงสุดจึงจำเป็นมาก โดยเฉพาะเป็นเรื่องที่มีการริเริ่มและต้องดำเนินการทั่วทั้งองค์กร
จะเห็นว่า SD เป็นภาพใหญ่ขององค์กร ตลาดหลักทรัพย์ฯจึงกระตุ้นและส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนเห็นประโยชน์ของการพัฒนาองค์กรให้ได้ตามเกณฑ์สากล จนติดอันดับในดัชนีความยั่งยืนของโลกหรือ DJSI
จากการคุยกับผู้นำกิจการ มีการแนะนำและสนับสนุน ผลปรากฏว่าจากที่เคยมีบจ.ไทยติดอันดับ DJSI เพียง 2 บริษัท 4 ปี ต่อมาเพิ่มเป็น 12 นั่นเพราะผู้นำเห็นคุณค่าในการยกระดับองค์กร
ตัวอย่างบริษัทที่มีผู้นำที่มุ่งมั่นเอาจริง เช่น “บ้านปู” มีคุณชนินท์ ว่องกุศลกิจ ที่เชื่อมั่นเรื่องนี้นอกจากเอาจริงต่อการส่งเสริม CG ที่มุ่งมั่นสู่ SD ในองค์กรยังมาเป็นวิทยากรให้ตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่ไทยออยล์ก็มีผู้นำองค์กรที่สนับสนุนเต็มที่ มีการตั้งหน่วยงานส่งเสริม SD มีนโยบายและการพัฒนาประเด็นที่คะแนนยังไม่ดีพอ ก็สนใจลงทุนและพัฒนาจนได้รับยกย่องต่อเนื่อง เครือปูนซิเมนต์ไทย ผู้บริหารก็มีแนวทางสนับสนุนอย่างเป็นแบบอย่างที่ดี
6.คุณสมบัติของผู้นำ ที่มีจริยธรรม ต้องเป็นแบบอย่างให้คนศรัทธาจึงต้องมีคุณลักษณะ 4 ข้อ
-มองการณ์ไกล (Vision) ทิศทางสู่ความก้าวหน้า
-ความสามารถ (Competent) +เฉลียวฉลาด (intelligence) เพื่อให้งานสำเร็จด้วยดี
-สร้างแรงบันดาลใจ ด้วยมิติมนุษยสัมพันธ์เป็นการสร้างผู้ตามที่ดี
-ความซื่อตรง (Integrity) และมีจริยธรรม
โดยสรุป จริยธรรมเป็นเรื่องที่ผู้นำองค์กรต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ทั้งในฐานะผู้ขับเคลื่อนจรรยาบรรณธุรกิจและเป็นแบบอย่างให้บุคลากรในองค์กรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ อันจะส่งเสริมให้เป็นองค์กรแห่งความดีและมีความยั่งยืน
“จากการคุยกับผู้นำกิจการ มีการแนะนำและสนับสนุน ผลปรากฏว่าจากที่เคยมีบจ.ไทยติดอันดับ DJSI เพียง2 บริษัท 4 ปีต่อมาเพิ่มเป็น 12 นั่นเพราะผู้นำเห็นคุณค่าในการยกระดับองค์กร”
ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
ประธานกรรมการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย