ตามไปดูถึงแนวคิดและการดำเนินธุรกิจสีเขียวของกลุ่มเอสซีจี ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน และที่จะก้าวต่อไปในอนาคตอย่างไร ซึ่งทำให้ กลุ่มเอสซีจี ได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ประจำปี 2558 ในระดับ 5 (เครือข่ายสีเขียว) ถึง 7 แห่ง
ก่อนหน้า เมื่อปีที่ผ่านมาเอสซีจีได้รับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียว ในระดับ 5 มาแล้วใน 2 ธุรกิจ คือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ในเอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ทั้งในส่วนโรงงานและส่วนเหมืองหินปูน เป็นรายแรกของประเทศไทย และ บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด ในเอสซีจี เคมิคอลส์ เป็นโรงงานปิโตรเคมีรายแรกเช่นเดียวกัน
สิ่งสำคัญยิ่งเพื่อให้องค์กรก้าวไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว จะต้องเริ่มต้นจากภายในองค์กรเองเป็นลำดับแรก ซึ่งทางเอสซีจี กำหนดแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนเอาไว้เป็นแผนแม่บทของการดำเนินธุรกิจ ทำให้ธุรกิจของเอสซีจี ผ่านระดับ 3 (ระบบสีเขียว) และเข้าสู่ในระดับ 4 (วัฒนธรรมสีเขียว) ได้ไม่ยาก
พอเกิดความเข้มแข็งภายในแล้วได้มีการต่อยอดสู่พันธมิตรคู่ธุรกิจ และนำมาสู่การได้รับรองในระดับ 5 (เครือข่ายสีเขียว) ภายใต้แนวคิดห่วงโซ่อุปทานสีเขียวที่มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ควบคู่ไปกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยเฉพาะชุมชนรอบโรงงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ เอสซีจีตระหนักถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะมีประโยชน์ต่อภาคสังคมโดยรวม จึงมีความมุ่งมั่นขยายประโยชน์นี้ให้กับผู้อื่นตลอดห่วงโซ่อุปทาน ปัจจุบันมีคู่ธุรกิจกว่า 8,000 ราย และส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่ยังมีข้อจำกัดทั้งด้านการเงิน บุคลากร รวมถึงความรู้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนองค์กรให้สอดคล้องกับกฎหมาย ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการยกระดับความสามารถให้พร้อมแข่งขันได้อย่างสมดุลตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงได้มีการจัดกลุ่มคู่ธุรกิจและกลยุทธ์ในการพัฒนา โดยที่คู่ธุรกิจทุกรายต้องแสดงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี คู่ธุรกิจให้บริการในกระบวนทุกผลิตต้องผ่านการตรวจประเมินรับรองระบบความปลอดภัยคู่ธุรกิจ และคู่ธุรกิจที่ขายสินค้าในขอบข่ายการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องผ่านการตรวจประเมินขึ้นทะเบียนการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งในปีที่ผ่านมาทางเอสซีจีได้มีการคัดสรรคู่ธุรกิจต้นแบบ 21 รายเข้าโครงการพัฒนาคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืน สร้างกระบวนการเรียนรู้โดยนำหลักการแก้ไขปัญอย่างเป็นระบบ (QC Story)มาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนา เช่น การลดของเสีย การลดและการจัดการพลังงาน การลดการใช้น้ำ การแก้ปัญหาคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการพัฒนาระบบ Inventory และ Logistics ทำให้มีคู่ธุรกิจเข้ามาร่วมโครงการทั้งสิ้น 92 ราย
ตัวอย่างด้านการอนุรักษ์พลังงานและลดก๊าซเรือนกระจก เอสซีจีริเริ่มสร้างต้นแบบการรวมกลุ่มผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้และแนวปฏิบัติให้มีการอนุรักษ์พลังงาน เช่นกลุ่มปูนรักษ์ชุมชนในพื้นที่ จ.สระบุรี เช่นเดียวกับคู่ธุรกิจต้นน้ำก็ได้ช่วยเหลือเพื่อให้ยกระดับทั้งด้านประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการพลังงาน รวมทั้งการจัดการมลพิษและลดสร้างก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตและป้อนสินค้าให้เอสซีจี
ขณะที่ลูกค้าส่วนใหญ่ในลักษณะ B2B ก็นำเครื่องมือต่างๆ มาใช้เพื่อให้มีการลดใช้พลังงาน เช่น Quality Funnction Delvvelopment (QFD), Conjoint Analysis, Failure Mode and Effect Analysis (FMEA) ส่วนกับชุมชนนอกจากการส่งเสริมให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ยังให้ความรู้เพื่อเกิดความตระหนักในการลดมลภาวะ เช่นให้มีนำขยะชุมชนมากำจัดในเตาเผาของโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ การผลิตไฟฟ้าจากน้ำในบริเวณฝายของโครงการรักษ์น้ำเพื่ออนาคต เป็นต้น
เอสซีจี คว้า 7 รางวัลระดับสูงสุด
หากโฟกัสไปที่รางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 5 (Green Industry Level 5) ระดับสูงสุดที่เรียกว่าเครือข่ายสีเขียว หรือ Green Network ล่าสุดประจำปี 2558 กลุ่มบริษัทเอสซีจี ได้รับมาทั้งสิ้น 7 รางวัล จากทั้งหมด 8 รางวัล ได้แก่ บ. ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด 3 ใบรับรอง บ. ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด 2 ใบรับรอง และ บ. ปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด 2 ใบรับรอง ทั้งหมดเป็นโรงงานปูนซีเมนต์ผลิตปูนตราช้างและปูนตราเสือ ซึ่งนับเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกของไทย ที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับสูงสุดครบทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้งในส่วนของโรงงานปูนซีเมนต์ เหมืองหินปูน และเหมืองดินดาน
นอกจากนี้ ยังได้รางวัลอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 4 วัฒนธรรมสีเขียว หรือ Green Culture อีก 8 รางวัล ในเครือซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง 5 รางวัล และเครือเคมิคอลส์ 3 รางวัล ได้แก่ บริษัท สยามซานิทารี่แวร์อินดัสทรี จำกัด บริษัท เดอะสยามเซรามิค กรุ๊ป อินดัสทรี่ส์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์กระเบื้อง (ลำปาง) จำกัด บริษัท กระเบื้องกระดาษไทย จำกัด (โรงงานท่าหลวง) บริษัท กระเบื้องกระดาษไทย จำกัด (โรงงานสระบุรี) บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม (สระบุรี) จำกัด บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด และ บริษัท นวอินเตอร์เทค จำกัด
รวมที่ได้ระดับ 5 และระดับ 4 กลุ่มเอสซีจีได้ 15 รางวัล จากทั้งหมด 50 รางวัล
8 สถานประกอบการที่ได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ประจำปี 2558 ในระดับ 5 (เครือข่ายสีเขียว)
1.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด โรงงานท่าหลวง ที่ จ.สระบุรี
2.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด โรงงานเขาวง ที่ จ.สระบุรี
3.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด เหมืองหินปูนและหินดินดาน ที่ จ.สระบุรี
4.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ที่ จ.สระบุรี
5.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด เหมืองหินปูนและหินดินดาน ที่ จ.สระบุรี
6.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด ที่ จ.นครศรีธรรมราช
7.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด เหมืองหินปูนและหินดินดาน ที่ จ.นครศรีธรรมราช
8.บริษัท เซฟสกิน เมดดิคอล แอนด์ ไซเอนทิฟิก (ประเทศไทย) จำกัด ที่ จ.สงขลา
มุ่งเป้า Green Supply Chain
ศิระ ศรีศุกรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด โรงงานท่าหลวงและโรงงานเขาวง กล่าวว่า นโยบายการดำเนินงานของ SCG จะมุ่งเน้นไปที่ด้าน Green Supply Chain ซึ่งดำเนินงานตามกรอบอุตสาหกรรมสีเขียว ในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นได้ร่วมเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรระดับสากล อาทิ World Business Council for Sustainable Development-Cement Sustainability Initiative : WBCSD-CSI เป็นรายแรกในประเทศไทยและดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดห่วงโซ่อุปทานสีเขียวที่มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ควบคู่ไปกับการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุมชนรอบโรงงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
“รางวัลที่ได้รับล้วนสะท้อนความสำเร็จด้านการดำเนินงานอุตสาหกรรมสีเขียว ทั้งระบบห่วงโซ่อุปทาน หรือ Total Green Supply Chain ของ SCG”
ศิระ มองว่า Green ไม่เพียงแต่จะช่วยเรื่องลดความเสี่ยงทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังช่วยทำให้เกิด Competitiveness ทั้งในส่วนของต้นทุนและการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจ ซึ่งหมายถึง สามารถสร้างคุณค่าได้ทั้งภายในองค์กร และส่งต่อไปยังภายนอกได้ด้วย
“ถ้ามองเหมือนต้นไม้ ก็คือ สามารถเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเปรียบเหมือนลำต้นจากการช่วยลดต้นทุน และ เพิ่ม Efficiency โดยทำใน 2 ส่วนคือ พลังงานกับเทคโนโลยี เป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ลดลงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานรวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อนำของเสียอุตสาหกรรมกลับไปใช้ใหม่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หรือพยายามให้มีของเสียน้อยที่สุด โดยมีเป้าหมายให้เป็นศูนย์"
นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างรายได้ใหม่ให้กับธุรกิจด้วยการผลิตสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีคุณลักษณะและราคาเหมือนๆ กับสินค้าทั่วไป แต่เพิ่มในเรื่องการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้ทดแทน ซึ่งจากเดิมสินค้าประเภทนี้มีราคาแพงและทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อยาก แต่มาวันนี้เอสซีจี ช่วยให้ลูกค้ามีต้นทุนที่ลดลง และมองเห็นผลประโยชน์ที่คุ้มค่าในระยะยาว
สำหรับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมนั้น มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 10% ภายในปี 2020 เมื่อเทียบกับปี 2007 และปัจจุบันสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย Zero waste to landfill แล้ว เมื่อปี 2012 ขณะที่ 100% ของเหมืองหินปูนภายใต้การดูแลของ SCG cement มีแผนฟื้นฟูสภาพพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึง 100% ของโรงงานของ SCG Cement ทุกโรง มีแผนงานชุมชนสัมพันธ์และการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และโรงงานปูนซีเมนต์ทุกโรงมีมาตรฐานการควบคุมมลพิษทางอากาศ และติดตั้งระบบบำบัดฝุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง มีการบริหารจัดการน้ำภายในโรงงานเป็นระบบปิด (Close water circuit system)
แนวปฎิบัติเอสซีจีที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
1.บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) - ให้ความสำคัญในการบริหารงานองค์กรที่มีความโปร่งใส
2.Green Mining และความหลากหลายทางด้านชีวภาพ (Bio-diversity) -ใช้แนวทาง green ตลอด Life cycle ตั้งแต่การทำเหมืองแบบ Semi open cut ไปจนถึงการฟื้นฟูเหมือง
3.พลังงานและภาวะโลกร้อน (Energy & Climate Change) - ลงทุนและพัฒนาปรับปรุงด้าน Green Operation Excellences ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอย่างมหาศาล ด้วยเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท สามารถประหยัดการใช้พลังงาน และลดการใช้พลังงานได้เป็นอย่างดี
4.การจัดการของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม (Waste Management) - ใช้หลัก 3R ในการกำจัดของเสียแทนการถมที่ คือ ลดการใช้ (Reduce) นำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse&Recycle) และทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิม (Replenish)
5.การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) - เช่นการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยผูกเงื่อนไขกับบริษัทคู่ค้า เป็นต้น
6.สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Products) - โดยการตั้งเป้าหมายว่า 1/3 ของสินค้าในเครือ SCG ทั้งหมดจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับตรา SCG Eco Value ทั้งหมด
7.อาคารสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Building) - การปรับปรุงอาคารสำนักงานใหญ่ใหม่ทั้งหมด โดยทั้งโครงสร้างและส่วนประกอบที่ต้องใช้ในการพัฒนาก่อสร้างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมดตามมาตรฐานระดับโลก ได้รับการรับรองจาก U.S. Green Building Council ประเภท LEED EB : OM Platinum สามารถลดการใช้น้ำและไฟฟ้าลงได้เป็นจำนวนมาก
8.การส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร (Human Development) - เช่น การให้ทุนการศึกษานักเรียนเรียนดี โครงการสนับสนุนกีฬาแบดมินตัน เป็นต้น
9.มาตรการเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพ (Occupational Health & Safety) - วางมาตรการในการทำงานและรับรอง เรื่องการดูแลความปลอดภัยในการทำงานของบริษัทในเครือและผู้รับเหมา
10.กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคม (Social Activities) - โครงการเพื่อช่วยเหลือสังคม โดยจับมือกับบริษัทคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันกับแต่ละกลุ่มธุรกิจของ SCG เพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์ตอบแทนกลับคืนสู่สังคม เช่น Partnership Model
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่เป็นกลไกนำไปสู่ความสำเร็จนั้น เอสซีจีเริ่มจาก
1.วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) - ที่ได้ส่งเสริมให้บุคลากรได้ยึดถือแนวปฏิบัติตามอุดมการณ์ 4 ประการ คือ รักมั่นในความเป็นธรรม/ มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ/ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน และ / ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งวัฒนธรรมองค์กร Open&Challenge ที่ส่งเสริมให้บุคลากรเปิดใจรับฟัง และ ท้าทายตัวเองเพื่อทำในสิ่งที่ดีกว่า
2.ภาวะผู้นำ (Leadership) - กำหนดให้ SCG เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม และเป็นแบบอย่างของบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องอาศัยผู้นำในการชักชวนและจับมือร่วมกันกับภาครัฐและเอกชนอื่นๆ ในสังคม ชุมชน และประชาชน สร้างให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
3.ความมุ่งมั่นตั้งใจ (Commitment) - จัดตั้งให้มีคณะกรรมการด้านต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีทีมงานผู้บริหารในแต่ละระดับร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย ฉะนั้น แนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะถูกถ่ายทอดลงมาเป็นลำดับ จากฝ่ายบริหารลงสู่ฝ่ายปฏิบัติการทั่วถึงทุกบริษัทใน SCG
สรุปว่าเอสซีจี ขยายแนวปฏิบัติการอุตสาหกรรมสีเขียวที่ขยายจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการยกระดับคู่ธุรกิจ การสร้างมาตรฐานและให้การรับรองความปลอดภัยคู่ธุรกิจ การยกระดับมาตรฐานการผลิตและการทำงานของพนักงาน การให้ความสำคัญกับคู่ค้าและลูกค้าด้วยการใส่ใจต่อความต้องการด้านเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างสรรค์สังคมอย่างยั่งยืน ผ่านการแบ่งปันประสบการณ์และความร่วมมือระหว่างองค์กรและชุมชน
ก่อนหน้า เมื่อปีที่ผ่านมาเอสซีจีได้รับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียว ในระดับ 5 มาแล้วใน 2 ธุรกิจ คือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ในเอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ทั้งในส่วนโรงงานและส่วนเหมืองหินปูน เป็นรายแรกของประเทศไทย และ บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด ในเอสซีจี เคมิคอลส์ เป็นโรงงานปิโตรเคมีรายแรกเช่นเดียวกัน
สิ่งสำคัญยิ่งเพื่อให้องค์กรก้าวไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว จะต้องเริ่มต้นจากภายในองค์กรเองเป็นลำดับแรก ซึ่งทางเอสซีจี กำหนดแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนเอาไว้เป็นแผนแม่บทของการดำเนินธุรกิจ ทำให้ธุรกิจของเอสซีจี ผ่านระดับ 3 (ระบบสีเขียว) และเข้าสู่ในระดับ 4 (วัฒนธรรมสีเขียว) ได้ไม่ยาก
พอเกิดความเข้มแข็งภายในแล้วได้มีการต่อยอดสู่พันธมิตรคู่ธุรกิจ และนำมาสู่การได้รับรองในระดับ 5 (เครือข่ายสีเขียว) ภายใต้แนวคิดห่วงโซ่อุปทานสีเขียวที่มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ควบคู่ไปกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยเฉพาะชุมชนรอบโรงงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ เอสซีจีตระหนักถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะมีประโยชน์ต่อภาคสังคมโดยรวม จึงมีความมุ่งมั่นขยายประโยชน์นี้ให้กับผู้อื่นตลอดห่วงโซ่อุปทาน ปัจจุบันมีคู่ธุรกิจกว่า 8,000 ราย และส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่ยังมีข้อจำกัดทั้งด้านการเงิน บุคลากร รวมถึงความรู้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนองค์กรให้สอดคล้องกับกฎหมาย ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการยกระดับความสามารถให้พร้อมแข่งขันได้อย่างสมดุลตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงได้มีการจัดกลุ่มคู่ธุรกิจและกลยุทธ์ในการพัฒนา โดยที่คู่ธุรกิจทุกรายต้องแสดงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี คู่ธุรกิจให้บริการในกระบวนทุกผลิตต้องผ่านการตรวจประเมินรับรองระบบความปลอดภัยคู่ธุรกิจ และคู่ธุรกิจที่ขายสินค้าในขอบข่ายการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องผ่านการตรวจประเมินขึ้นทะเบียนการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งในปีที่ผ่านมาทางเอสซีจีได้มีการคัดสรรคู่ธุรกิจต้นแบบ 21 รายเข้าโครงการพัฒนาคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืน สร้างกระบวนการเรียนรู้โดยนำหลักการแก้ไขปัญอย่างเป็นระบบ (QC Story)มาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนา เช่น การลดของเสีย การลดและการจัดการพลังงาน การลดการใช้น้ำ การแก้ปัญหาคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการพัฒนาระบบ Inventory และ Logistics ทำให้มีคู่ธุรกิจเข้ามาร่วมโครงการทั้งสิ้น 92 ราย
ตัวอย่างด้านการอนุรักษ์พลังงานและลดก๊าซเรือนกระจก เอสซีจีริเริ่มสร้างต้นแบบการรวมกลุ่มผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้และแนวปฏิบัติให้มีการอนุรักษ์พลังงาน เช่นกลุ่มปูนรักษ์ชุมชนในพื้นที่ จ.สระบุรี เช่นเดียวกับคู่ธุรกิจต้นน้ำก็ได้ช่วยเหลือเพื่อให้ยกระดับทั้งด้านประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการพลังงาน รวมทั้งการจัดการมลพิษและลดสร้างก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตและป้อนสินค้าให้เอสซีจี
ขณะที่ลูกค้าส่วนใหญ่ในลักษณะ B2B ก็นำเครื่องมือต่างๆ มาใช้เพื่อให้มีการลดใช้พลังงาน เช่น Quality Funnction Delvvelopment (QFD), Conjoint Analysis, Failure Mode and Effect Analysis (FMEA) ส่วนกับชุมชนนอกจากการส่งเสริมให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ยังให้ความรู้เพื่อเกิดความตระหนักในการลดมลภาวะ เช่นให้มีนำขยะชุมชนมากำจัดในเตาเผาของโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ การผลิตไฟฟ้าจากน้ำในบริเวณฝายของโครงการรักษ์น้ำเพื่ออนาคต เป็นต้น
เอสซีจี คว้า 7 รางวัลระดับสูงสุด
หากโฟกัสไปที่รางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 5 (Green Industry Level 5) ระดับสูงสุดที่เรียกว่าเครือข่ายสีเขียว หรือ Green Network ล่าสุดประจำปี 2558 กลุ่มบริษัทเอสซีจี ได้รับมาทั้งสิ้น 7 รางวัล จากทั้งหมด 8 รางวัล ได้แก่ บ. ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด 3 ใบรับรอง บ. ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด 2 ใบรับรอง และ บ. ปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด 2 ใบรับรอง ทั้งหมดเป็นโรงงานปูนซีเมนต์ผลิตปูนตราช้างและปูนตราเสือ ซึ่งนับเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกของไทย ที่ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับสูงสุดครบทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้งในส่วนของโรงงานปูนซีเมนต์ เหมืองหินปูน และเหมืองดินดาน
นอกจากนี้ ยังได้รางวัลอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 4 วัฒนธรรมสีเขียว หรือ Green Culture อีก 8 รางวัล ในเครือซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง 5 รางวัล และเครือเคมิคอลส์ 3 รางวัล ได้แก่ บริษัท สยามซานิทารี่แวร์อินดัสทรี จำกัด บริษัท เดอะสยามเซรามิค กรุ๊ป อินดัสทรี่ส์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์กระเบื้อง (ลำปาง) จำกัด บริษัท กระเบื้องกระดาษไทย จำกัด (โรงงานท่าหลวง) บริษัท กระเบื้องกระดาษไทย จำกัด (โรงงานสระบุรี) บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม (สระบุรี) จำกัด บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด และ บริษัท นวอินเตอร์เทค จำกัด
รวมที่ได้ระดับ 5 และระดับ 4 กลุ่มเอสซีจีได้ 15 รางวัล จากทั้งหมด 50 รางวัล
8 สถานประกอบการที่ได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ประจำปี 2558 ในระดับ 5 (เครือข่ายสีเขียว)
1.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด โรงงานท่าหลวง ที่ จ.สระบุรี
2.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด โรงงานเขาวง ที่ จ.สระบุรี
3.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด เหมืองหินปูนและหินดินดาน ที่ จ.สระบุรี
4.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ที่ จ.สระบุรี
5.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด เหมืองหินปูนและหินดินดาน ที่ จ.สระบุรี
6.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด ที่ จ.นครศรีธรรมราช
7.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด เหมืองหินปูนและหินดินดาน ที่ จ.นครศรีธรรมราช
8.บริษัท เซฟสกิน เมดดิคอล แอนด์ ไซเอนทิฟิก (ประเทศไทย) จำกัด ที่ จ.สงขลา
มุ่งเป้า Green Supply Chain
ศิระ ศรีศุกรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด โรงงานท่าหลวงและโรงงานเขาวง กล่าวว่า นโยบายการดำเนินงานของ SCG จะมุ่งเน้นไปที่ด้าน Green Supply Chain ซึ่งดำเนินงานตามกรอบอุตสาหกรรมสีเขียว ในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นได้ร่วมเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรระดับสากล อาทิ World Business Council for Sustainable Development-Cement Sustainability Initiative : WBCSD-CSI เป็นรายแรกในประเทศไทยและดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดห่วงโซ่อุปทานสีเขียวที่มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ควบคู่ไปกับการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุมชนรอบโรงงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
“รางวัลที่ได้รับล้วนสะท้อนความสำเร็จด้านการดำเนินงานอุตสาหกรรมสีเขียว ทั้งระบบห่วงโซ่อุปทาน หรือ Total Green Supply Chain ของ SCG”
ศิระ มองว่า Green ไม่เพียงแต่จะช่วยเรื่องลดความเสี่ยงทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังช่วยทำให้เกิด Competitiveness ทั้งในส่วนของต้นทุนและการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจ ซึ่งหมายถึง สามารถสร้างคุณค่าได้ทั้งภายในองค์กร และส่งต่อไปยังภายนอกได้ด้วย
“ถ้ามองเหมือนต้นไม้ ก็คือ สามารถเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเปรียบเหมือนลำต้นจากการช่วยลดต้นทุน และ เพิ่ม Efficiency โดยทำใน 2 ส่วนคือ พลังงานกับเทคโนโลยี เป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ลดลงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานรวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อนำของเสียอุตสาหกรรมกลับไปใช้ใหม่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หรือพยายามให้มีของเสียน้อยที่สุด โดยมีเป้าหมายให้เป็นศูนย์"
นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างรายได้ใหม่ให้กับธุรกิจด้วยการผลิตสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีคุณลักษณะและราคาเหมือนๆ กับสินค้าทั่วไป แต่เพิ่มในเรื่องการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้ทดแทน ซึ่งจากเดิมสินค้าประเภทนี้มีราคาแพงและทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อยาก แต่มาวันนี้เอสซีจี ช่วยให้ลูกค้ามีต้นทุนที่ลดลง และมองเห็นผลประโยชน์ที่คุ้มค่าในระยะยาว
สำหรับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมนั้น มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 10% ภายในปี 2020 เมื่อเทียบกับปี 2007 และปัจจุบันสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย Zero waste to landfill แล้ว เมื่อปี 2012 ขณะที่ 100% ของเหมืองหินปูนภายใต้การดูแลของ SCG cement มีแผนฟื้นฟูสภาพพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึง 100% ของโรงงานของ SCG Cement ทุกโรง มีแผนงานชุมชนสัมพันธ์และการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และโรงงานปูนซีเมนต์ทุกโรงมีมาตรฐานการควบคุมมลพิษทางอากาศ และติดตั้งระบบบำบัดฝุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง มีการบริหารจัดการน้ำภายในโรงงานเป็นระบบปิด (Close water circuit system)
แนวปฎิบัติเอสซีจีที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
1.บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) - ให้ความสำคัญในการบริหารงานองค์กรที่มีความโปร่งใส
2.Green Mining และความหลากหลายทางด้านชีวภาพ (Bio-diversity) -ใช้แนวทาง green ตลอด Life cycle ตั้งแต่การทำเหมืองแบบ Semi open cut ไปจนถึงการฟื้นฟูเหมือง
3.พลังงานและภาวะโลกร้อน (Energy & Climate Change) - ลงทุนและพัฒนาปรับปรุงด้าน Green Operation Excellences ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอย่างมหาศาล ด้วยเงินประมาณ 20,000 ล้านบาท สามารถประหยัดการใช้พลังงาน และลดการใช้พลังงานได้เป็นอย่างดี
4.การจัดการของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม (Waste Management) - ใช้หลัก 3R ในการกำจัดของเสียแทนการถมที่ คือ ลดการใช้ (Reduce) นำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse&Recycle) และทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิม (Replenish)
5.การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) - เช่นการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยผูกเงื่อนไขกับบริษัทคู่ค้า เป็นต้น
6.สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Products) - โดยการตั้งเป้าหมายว่า 1/3 ของสินค้าในเครือ SCG ทั้งหมดจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับตรา SCG Eco Value ทั้งหมด
7.อาคารสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Building) - การปรับปรุงอาคารสำนักงานใหญ่ใหม่ทั้งหมด โดยทั้งโครงสร้างและส่วนประกอบที่ต้องใช้ในการพัฒนาก่อสร้างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมดตามมาตรฐานระดับโลก ได้รับการรับรองจาก U.S. Green Building Council ประเภท LEED EB : OM Platinum สามารถลดการใช้น้ำและไฟฟ้าลงได้เป็นจำนวนมาก
8.การส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร (Human Development) - เช่น การให้ทุนการศึกษานักเรียนเรียนดี โครงการสนับสนุนกีฬาแบดมินตัน เป็นต้น
9.มาตรการเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพ (Occupational Health & Safety) - วางมาตรการในการทำงานและรับรอง เรื่องการดูแลความปลอดภัยในการทำงานของบริษัทในเครือและผู้รับเหมา
10.กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคม (Social Activities) - โครงการเพื่อช่วยเหลือสังคม โดยจับมือกับบริษัทคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันกับแต่ละกลุ่มธุรกิจของ SCG เพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์ตอบแทนกลับคืนสู่สังคม เช่น Partnership Model
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่เป็นกลไกนำไปสู่ความสำเร็จนั้น เอสซีจีเริ่มจาก
1.วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) - ที่ได้ส่งเสริมให้บุคลากรได้ยึดถือแนวปฏิบัติตามอุดมการณ์ 4 ประการ คือ รักมั่นในความเป็นธรรม/ มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ/ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน และ / ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งวัฒนธรรมองค์กร Open&Challenge ที่ส่งเสริมให้บุคลากรเปิดใจรับฟัง และ ท้าทายตัวเองเพื่อทำในสิ่งที่ดีกว่า
2.ภาวะผู้นำ (Leadership) - กำหนดให้ SCG เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม และเป็นแบบอย่างของบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องอาศัยผู้นำในการชักชวนและจับมือร่วมกันกับภาครัฐและเอกชนอื่นๆ ในสังคม ชุมชน และประชาชน สร้างให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
3.ความมุ่งมั่นตั้งใจ (Commitment) - จัดตั้งให้มีคณะกรรมการด้านต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีทีมงานผู้บริหารในแต่ละระดับร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย ฉะนั้น แนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะถูกถ่ายทอดลงมาเป็นลำดับ จากฝ่ายบริหารลงสู่ฝ่ายปฏิบัติการทั่วถึงทุกบริษัทใน SCG
สรุปว่าเอสซีจี ขยายแนวปฏิบัติการอุตสาหกรรมสีเขียวที่ขยายจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการยกระดับคู่ธุรกิจ การสร้างมาตรฐานและให้การรับรองความปลอดภัยคู่ธุรกิจ การยกระดับมาตรฐานการผลิตและการทำงานของพนักงาน การให้ความสำคัญกับคู่ค้าและลูกค้าด้วยการใส่ใจต่อความต้องการด้านเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างสรรค์สังคมอย่างยั่งยืน ผ่านการแบ่งปันประสบการณ์และความร่วมมือระหว่างองค์กรและชุมชน