xs
xsm
sm
md
lg

สูตรสำเร็จกิจการเพื่อสังคม ต้นตำรับจากอังกฤษ/ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

จากนี้ไปสังคมไทยน่าจะได้รับรู้และมีโอกาสสนับสนุนบทบาทขององค์กร ที่เรียกว่า “กิจการเพื่อสังคม” หรือ Social Enterprise มากขึ้น จนคาดว่าคำเรียก SE ที่บ่งบอกลักษณะพิเศษขององค์กรประเภทนี้จะเป็นที่รู้จักว่า เป็นนวัตกรรมทางสังคมรูปแบบหนึ่งที่ต้องมีจิตสำนึก CSR เป็นรากแก้ว
ดูจากเข้าใจความหมายของกิจการเพื่อสังคม จะเห็นได้ว่าเป็นแนวทางที่ดีในการเป็นกลไกช่วยแก้ปัญหาสังคมด้วยวิธีการทางธุรกิจโดยไม่ต้องเป็นภาระงบประมาณของรัฐ หรือคอยให้เงินสนับสนุนองค์กรการกุศลในรูปแบบเดิมๆ ซึ่งมีความไม่แน่นอน
กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศอังกฤษมีคำอธิบายว่า SE คือ “องค์กรที่มีรูปแบบการดำเนินงานในเชิงธุรกิจ แต่มีเป้าหมายทางสังคมเป็นหลัก และรายได้จากการดำเนินงานธุรกิจจะนำกลับมาสู่การพัฒนาสังคมและพัฒนาองค์กรให้เติบโตขึ้น เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมเป็นหลัก มิใช่ความมั่งคั่งของเจ้าของและผู้ถือหุ้น”
ขณะที่ในประเทศไทยสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) ระบุว่า SE คือ “กิจการที่มีเป้าหมายหลักเพื่อการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านกลไกการค้าหรือการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆอันหลากหลาย เพื่อนำมาใช้ในการตอบสนองความท้าทายที่มีอยู่หรือกำลังจะเกิดขึ้นของสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยหวังให้เกิดการส่งผลการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันเตรียมออกกฏหมายและสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย ให้เป็นกลไกแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกันในประเทสที่พัฒนาแล้ว
ยิ่งกว่านั้นธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ได้ออกสลากพิเศษเพื่อระดมทุนรวม 2000 ล้านบาทสำหรับปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยด้านการเงินแก่กิจการเพื่อสังคม(SE) ให้มีแหล่งเงินทุนสนับสนุนความคิดดีๆให้เกิดขึ้น
ทุกวันนี้ แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ CSR มีพัฒนาการและต่อยอดไปหลายบริบทส่วนที่แตกหน่อก่อร่างสร้างตัวเป็นกิจการเพื่อสังคม (SE) “ที่ใช้กลยุทธ์เคล้ายธุรกิจแต่มีเป้าหมายเพื่อช่วยแก้ปัญหาสังคม และมีความมั่งคงยั่งยืน.” เป็นตัวอย่าง ความสำเร็จทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
บ็อบ โดเฮอร์ตี้ หัวหน้าภาคการตลาดและรองคณบดี คณะการจัดการมหาวิทยาลัยยอร์ค จากสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผู้บริหาร Divine Chocolate ระบุว่าที่นี่ใช้ป็นกรณีศึกษาที่ดี เนื่องจากเป็นกิจการเพื่อสังคมชั้นแนวหน้าของโลก ที่มีจุดยืนทางการค้าที่เป็นธรรม
Adwoa Asiaana จากหมู่บ้าน Amankwatia เธอเป็นชาวไร่โกโก้ และเป็นสมาชิกของสหกรณ์ Kuapa Kokoo ที่ประเทศกาน่า
ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตของ Divine Chocolate ที่มีวางจำหน่ายไปทั่วโลก รวมถึง Tops ซูเปอร์มาร์เก็ต
ที่ประเทศอังกฤษ มีความก้าวหน้าในการพัฒนากิจการเพื่อสังคมระดับหัวแถวของยุโรปจนมีกิจการประเภทนี้ประมาณ 7 หมื่นราย แถมรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนกิจการ SE ซึ่งนับเป็นภาคส่วนที่ 3 เพิ่มเติมภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนที่เราคุ้นเคย
บริติช เคานซิลประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอังกฤษที่มุ่งส่งเสริมด้านการศึกษา ศิลปะและสังคมถึงขนาดมีฝ่ายกิจการเพื่อสังคม เมื่อเร็วๆนี้มีการจัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Balancing Commercial and Social Objectives in Social Enterprise เพื่อเรียนรู้กลยุทธ์ในการพัฒนากิจการเพื่อสังคมให้เติบโตโดยยังคงสมดุลระหว่างภาคธุรกิจและภาคสังคมตั้งแต่ขั้นตอนการนำเสนอบริการ การจัดการงบประมาณ การบริหารบุคลากร และประเมินผล
วิทยากร คือ บ็อบ โดเฮอร์ตี้ หัวหน้าภาคการตลาดและรองคณบดี คณะการจัดการมหาวิทยาลัยยอร์ค จากสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผู้บริหาร Divine Chocolate จนเป็นกิจการเพื่อสังคมชั้นแนวหน้าของโลก
Divine Chocolate เป็นกรณีศึกษาที่ดีของ ธุรกิจช็อกโกแลต ที่มีจุดยืนทางการค้าที่เป็นธรรม (Fairtrade) ตั้งแต่เริ่มกิจการในปีค.ศ.1998 ก็ส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกโกโก้ซึ่งรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ Kuapa Kokoo ในประเทศกาน่าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของอังกฤษ Divine Chocolate
นั้นจึงเป็นต้นแบบกิจการเพื่อสังคมของอังกฤษอาณาจักรและทั่วโลกที่ใช้รูปแบบธุรกิจในการช่วยแก้ปัญหาสังคมด้วยการเพิ่มรายได้เกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ในขณะที่สร้างรายได้และกำไรให้แก่ผู้ประกอบการ ด้านเกษตรกรก็ได้เงินปันผลในฐานะผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน
น่าคิดนะครับว่าประเทศกาน่า เป็นผู้ผลิตและส่งออกช็อกโกแลตรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก แต่เกษตรกรในฐานะผู้เพาะปลูกโกโก้กลับยากจนเพราะมีรายได้ไม่เป็นธรรม จนเกิดปัญหาแรงงานเด็กและคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ตามมา เมื่อ Divine Chocolate ถือกำเนิดขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตและจำหน่ายช็อกโกแลตเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้เพาะปลูกอย่างยั่งยืน ผ่านระบบสหกรณ์ Kuapa Kokoo ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น กว่า 45% ในปัจจุบัน
แต่Divine Chocolate ก็ต้องฝ่าฟันกับอุปสรรคทางการค้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นขาใหญ่ในตลาดมายาวนานอย่างมาร์ส แคดบูรี่ หรือเนสท์เล่ และการระดมทุนเพื่อการผลิตในตอนแรก โชคดีที่ Divine Chocolate เป็นกิจการเพื่อสังคมแห่งแรกที่ธนาคารปล่อยกู้ให้เพราะมีการประกันเงินกู้โดยภาครัฐ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ Divine Chocolate คือคุณภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืนคือ 1.ด้วยโมเดลธุรกิจที่ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย 2.บริษัทมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับเกษตรกรเหล่านี้ จนได้รับผลผลิตโกโก้ที่มีคุณภาพดีที่สุด 3.ความแตกต่างที่โดดเด่นคืออร่อยและมีคุณค่าโดยใช้ส่วนผสมโกโก้แท้กว่า 28% ขณะที่เจ้าอื่นๆ ในตลาดที่ใช้โกโก้แท้ 20% ในผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตนม
ผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงที่ดีแก่กลุ่มเกษตรกรในกาน่าจากการขับเคลื่อนของ Divine Chocolate ยังกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดช็อกโกแลต โดยทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง แคดบูรี่ และเนสท์เล่ต้อง หันมาผลิตช็อกโกแลตด้วยกติกาธุรกิจ Fairtrade มากขึ้น จนทำให้มูลค่าตลาดช็อกโกแลต Fairtrade เพิ่มขึ้นกว่าร้อยเท่าภายในช่วงเวลา 15 ปี
ปัจจุบัน Divine Chocolate เป็นผู้ผลิตช็อกโกแลตแท่งให้แก่สตาร์บัคส์ ที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก และสินค้าของ Divine Chocolate ยังมีวางจำหน่ายที่ Oxfam shops และซูเปอร์มาร์เกตชั้นนำทั่วโลก รวมทั้ง Sainsbury ของอังกฤษ และ Wholefoods ของสหรัฐอเมริกาด้วย โดยเฉพาะในประเทศไทยมีจำหน่ายที่ Dean& Deluca และ Tops ซูเปอร์มาร์เก็ต
ข้อคิด...
จากการได้สัมภาษณ์ บ๊อบ โคเฮอร์ตี้ ผู้ปลุกปั้น Divine Chocolate จนเป็นกิจการเพื่อสังคมที่สำเร็จอย่างงดงาม เป็นเพราะความเป็นนักกลยุทธ์การบริหาร
1.การสร้างคุณสมบัติแบบ Fair Trade ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญ ตั้งแต่สร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีใจและมีแรงในการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ ก็ต้องมีจ่ายค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม
2.การใช้พลังจากกติกาสังคมโลกที่โดยองค์กรอิสระของเยอรมนี พิจารณากระบวนการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่เป็นธรรมต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งระบบสินค้า ช่วยยืนยันการน่าสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ทำธุรกิจอย่างถูกต้องเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
แม้ว่าในยุโรปคนจะซื้อเพราะ “เห็นใจ” แต่ในประเทศอังกฤษบอกได้ว่าซื้อเพราะ “ภูมิใจ” ที่สนับสนุนกิจกรรม SE ซึ่งมีวัตถุประสงค์ช่วยสังคม โดยรับซื้อวัตถุดิบในราคาเป็นธรรม ที่สูงกว่าอัตราทั่วไปทำธุรกิจอย่างถูกต้อง จ่ายค่าแรงที่เป็นธรรม
3.ได้รับความร่วมมือจากเจ้าของกิจการที่มีจิตสำนึกเพื่อสังคม เป็นช่วงแรกก่อตั้งเจ้าของบอดี้ช็อป ช่วยนำ Divine Chocolate ไปโชว์ที่ร้านและจัดรายการโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย เป็นการเสริมความมั่นใจให้ผู้บริโภค
ที่สำคัญอาจารย์บ๊อบ สรุปว่า กิจการเพื่อสังคมต้องกำหนดพันธกิจเพื่อสังคม (Social Mission) ที่ชัดเจนมีแผนธุรกิจที่เห็นอนาคตที่ให้ผลคุ้มค่าเพื่อดึงดูดนักลงทุน และกิจการมีความแตกต่างด้วยนวัตกรรม
suwatmgr@gmail.com
กำลังโหลดความคิดเห็น