xs
xsm
sm
md
lg

กรีนบอนด์ นับวันยิ่งเติบโต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ของโลกโดยภาพรวมเกิดภาวะซบเซาตามสภาวะเศรษฐกิจของโลก และปัญหาทางการเมืองที่อึมครึม ตั้งแต่สหรัฐอเมริกาไปถึงยุโรปและลุกลามมาถึงจีน หรือแม้แต่รัสเซียพี่เบิ้มในภูมิภาคเอเชียที่คานอำนาจของสหรัฐฯ

แต่ตลาดตราสารหนี้ที่เรียกกันว่า กรีน บอนด์ (Green Bond) กลับมีแนวโน้มการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน จนน่าสงสัยว่าอะไรคือปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตสวนตลาดของกรีน บอนด์
ประการที่ 1 การสนองตอบรับความต้องการรูปแบบใหม่ของนักลงทุนด้านกรีน หรือ Green investor ที่แสดงว่าได้รับผิดชอบต่อสังคมผ่านการลงทุนในตราสารหนี้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่นโครงการเกษตรอินทรีย์ที่ใช้พลังงานลม หรือการผลิตที่มีผลกระทบต่อมลภาวะต่ำมาก
ในปี 2012 กรีน บอนด์ ออกมาจำหน่ายราว 3,000 ล้านดอลลาร์ คาดว่าปี 2014 จะเพิ่มเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในเวลาเพียงปีเดียว โดยกรีน บอนด์ทุกรายการเป็น investment grade และยอดการจองซื้อมากกว่าปริมาณที่ออกตราสาร 2-3 เท่าตัวทีเดียว
ในราว 50% เป็นการออกตราสารหนี้จากภาคเอกชน แตกต่างจากปี 2013 ที่ผู้ออกตราสารเกือบทั้งหมดเป็นองค์กรระหว่างประเทศ อย่างเช่น ธนาคารโลกจะเพิ่มเป็นกว่า 50,000 - 80,000 ล้านดอลลาร์ เทียบกับปริมาณตราสารหนี้ในตลาดทั่วโลกรวมแล้วประมาณ 80 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ การนำไปลดภาวะ Greenhouse effect

เมื่อนำตัวเลขการออกกรีน บอนด์ ไปเทียบกับรายจ่ายของการจัดการลด Greenhouse effect ยังถือว่าน้อยมาก และหากเทียบกับรายจ่ายภาษีที่ชาวเยอรมันจ่ายอุดหนุนให้เกิดพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ถือว่าเป็นการอุดหนุนที่มีจำนวนมากที่สุดในยุโรป จะพบว่ากรีน บอนด์คิดเป็น 2-3 เท่าของเงินอุดหนุนดังกล่าว
ประการที่ 2 ตลาดกรีน บอนด์ อาจจะเริ่มอย่างสะเปะสะปะ แต่ไม่ได้เริ่มจากไม่มีอะไรเลย กรีน บอนด์ เป็นกรณีศึกษาที่ทำให้เห็นภาพว่าตลาดเติบโตขึ้นอย่างไร และตลาดจำเป็นต้องปรับการดำเนินการต่อไปอย่างไร สิ่งที่ตามมาจึงไปตามครรลองที่เหมาะสม เพราะเริ่มจากผู้ซื้อและผู้ขายด้วยความสมัครใจ นักลงทุนภาครัฐจากสวีเดนเป็นกลุ่มแรกที่สนใจลงทุนในส่วนนี้ และขยายออกไปสู่กลุ่มเอกชนด้วยเป็นมูลรวมกว่าพันล้านดอลลาร์
หลังจากนั้น นักลงทุนใหม่ๆ ก็เข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้น เมื่อยักษ์ใหญ่อย่างยูนิลีเวอร์ออกกรีน บอนด์ และมีผู้ซื้อกว่า 40% มาจากนักลงทุนนอกอังกฤษ และทำให้เกิดความพยายามผ่อนปรน ช่วยอำนวยความสะดวกแก่บริษัทเอกชนอื่นเข้ามาสู่ตลาดการออกตราสารหนี้นี้ พร้อมกับช่วยกันจัดระเบียบให้ตลาดนี้มีมาตรฐานเพื่อให้เกิดความสะดวกกับผู้ลงทุนด้วย
ประการที่ 3 การทำให้ตลาดกรีน บอนด์ เติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไป มาจากการสนับสนุนตลาดให้มีสภาพคล่องจากธนาคารโลกที่เข้ามาออกตราสารหนี้แบบนี้ พร้อมกับมีองค์กรใหม่ๆ ออกตราสารหนี้แบบนี้เป็นครั้งแรกมากขึ้น เช่น โตโยต้า กิจการน้ำมัน
ประการที่ 4 ตลาดยังต้องการความชัดเจนว่า กรีน บอนด์ มีขอบเขตอย่างไร ครอบคลุมแค่ไหน บอนด์แบบไหนไม่รวมอยู่ในคำว่ากรีน
นอกจากนั้น กิจการแบบไหนไม่เข้าข่าย เช่น กิจการน้ำมันทำลายสิ่งแวดล้อมตรง ๆ ออกกรีน บอนด์ได้หรือไม่ ซึ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องมีระบบการคัดกรองให้ชัดเจน ใกล้เคียงกับระบบ Credit Rating System เพื่อให้ตลาดเลิกเคลือบแคลงว่า กรีน บอนด์เทียมมาอาศัยช่องว่างในตลาด
กำลังโหลดความคิดเห็น