ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนทั้งโลก หากทุกคนใส่ใจกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง แม้จะเป็นกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ ที่เราทำกันอยู่ทุกวัน ก็อาจลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในวงกว้างได้ เราจึงมีวิธีลดภาวะโลกร้อนในแบบที่คุณทำตามได้ในชีวิตประจำวัน
1. ถอดปลั๊กไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า รู้ไหมว่าการใช้ไฟฟ้าในบ้านมีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 16%
2. หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการตากผ้าแทนการอบผ้าในเครื่องซักผ้า
3. การรีดผ้า ควรรีดครั้งละมาก แทนการรีดทีละตัว เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า
4. ปิดแอร์ แล้วหันมาใช้พัดลมหรือเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทมากขึ้น
5. เวลาไปห้างสรรพสินค้าอย่าเปิดประตูทิ้งไว้ เพราะแอร์จะทำงานหนักมากกว่าปกติ
6. ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ นอกจากได้ออกกำลังกายแล้วยังประหยัดได้ด้วย การกดลิฟต์หนึ่งครั้งจะเป็นการเสียค่าไฟถึงครั้งละ 7 บาท
7. ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น โดยเปิดเฉพาะดวงที่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ
8. ลดๆ การเล่นเกมลงบ้าง เพราะนอกจากสายตาจะเสียแล้ว ยังเปลืองไฟมาก
9. ตู้เย็นเก่า เพราะกินไฟมากกว่าตู้เย็นใหม่ถึง 2 เท่า ควรเปลี่ยนใหม่ดีกว่า
10. เปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่าและประหยัดกว่าหลอดปกติ 40%
11. ยืดอายุตู้เย็นด้วยการไม่นำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น และหลีกเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็นได้ไม่ทั่วถึงอาหาร
12. ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นเป็นประจำ เพราะตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ
13. ใช้รถเมล์ รถไฟฟ้าแทนการใช้รถส่วนตัว
14. ใช้จักรยาน หรือเดินไปก็ดี ได้ออกกำลังกายไปในตัวด้วย
15. ใช้กระดาษแต่ละแผ่นอย่างประหยัดกระดาษรียูสหนังสือพิมพ์ เพราะกระดาษเหล่านั้นมาจากการตัดต้นไม้
16. เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว เอาไปบริจาค เพราะในบางบริษัทมีการรับบริจาคเสื้อที่ใช้แล้ว จะนำไปหลอมทำเป็นเส้นใยใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นวิธีช่วยลดก๊าซเรือนกระจกถึง 71%
17. ลดใช้พลาสติก โดยเลือกใช้ของที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่น กระเป๋าผ้า หรือกระติกน้ำ
18. พยายามทานอาหารให้หมด เพราะเศษอาหารเหล่านั้นก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนต่อโลกเพิ่มขึ้น
19. ร่วมกันประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool เพื่อช่วยประหยัดน้ำมัน และยังเป็นการลดจำนวนรถติดบนถนนได้อีกทางด้วย
20. พยายามลดเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว เพราะมูลของสัตว์เหล่านั้นจะปล่อยก๊าซมีเทน
ที่มา: หนังสือ “หยุดโลกร้อน: ก่อนน้ำแข็งขั้วโลกละลายและน้ำท่วมโลก