การแก้ไขปัญหาเรื่องโลกร้อนไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะภาวะเรือนกระจก ซึ่งพบว่าความพยายามทำแบบตรงไปตรงมา แทบไม่ได้ผลความคืบหน้าจนเกิดการพัฒนาหรือฟื้นฟูมากนัก
การแก้ไขนั้นก้าวไปถึงขั้นต้องหายาแรงมาจัดการในด้านการใช้พลังงานทดแทนอย่างเด่นชัด เพื่อให้ได้ผลจริง โดยเฉพาะเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงสังคมของผู้ใช้ทั่วโลก ทั้งนี้ เพราะผู้บริโภคใช้จ่ายเงินในการอุปโภคและบริโภคล้วนแต่ต้องใช้พลังงาน จึงควรจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ
ในการศึกษาพบว่า การลดละพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 80-90% จากปี 1990 ไม่เพียงพอที่จะบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดกับสภาพอากาศของโลกได้
นอกจากนั้น หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ผลไม่ได้ปรากฏทันที ทำให้ผู้บริโภคไม่เชื่อในผลลัพธ์ที่จะเกิด และยังมองว่าการบริหารโลกร้อนทำยาก ทำไปก็ไม่สำเร็จ
ยิ่งกว่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่ต้องนำเข้ายิ่งมาก เพราะผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งเป็นพวกนิยมสินค้าในประเทศ ต่อต้านสินค้านำเข้า ที่เรียกว่า Locavore เช่น ในอังกฤษ เดนมาร์ก หรือประเทศทางยุโรป
การดำเนินการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มน้ำดื่มบรรจุขวด ซึ่งลำพังเพียงน้ำดื่มไม่ได้มีผลลัพธ์มากมาย เทียบกับสินค้าทั้งหมด และไม่ได้แสดงผลครบวงจรตั้งแต่การใช้น้ำรด ใช้ปุ๋ยสร้างการเติบโตของอาหาร ประเภทของพลังงานที่ใช้ในการผลิตหีบห่อ และช่องทางการขนส่งที่สร้างคาร์บอนไดออกไซด์
ความท้าทายจึงไม่ได้อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเท่านั้น หากแต่อยู่ที่การรับรู้ผลกระทบสุดท้ายที่เกิดขึ้นภายหลัง การสื่อสารจึงต้องมีการปรับให้เน้นประสิทธิผลอย่างแท้จริง โดยเฉพาะข้อมูลที่ครบถ้วนที่มาจากการวัดผลและการประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งไม่อาจจะทำได้จริง หรือมีวิธีการวัดผลในแต่ละประเทศ แต่ละกิจการที่แตกต่างกัน ไม่มีบรรทัดฐานแน่นอนที่ได้รับการยอมรับร่วมกันเรื่องก๊าซเรือนกระจกและ Carbon Footprint ตลอดจนแนวทางที่กิจการต่างๆ ควรจะนำข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดให้กับผู้บริโภค และหาทางเพิ่มจำนวนผู้บริโภค
ทางด้านกฎหมาย บรรทัดฐานที่จะนำไปใช้ในการกำกับดูแลที่เชื่อมโยงไปถึงผู้บริโภคก็ยังไม่ชัดเจน เท่ากับที่ใช้กับผู้ประกอบการ ทำให้ผู้บริโภคมีความรับผิดชอบน้อยมากต่อการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต รวมทั้งการควบคุมของรัฐบาลจะมีความจำเป็นที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
หากแนวทางเหล่านี้ชัดเจน เป็นที่เชื่อว่า เกมธุรกิจการบริหารก๊าซเรือนกระจกน่าจะดีขึ้นในอนาคต การตระหนักของผู้ประกอบการอาจจะเกิดขึ้นจากความพยายามเปลี่ยนธุรกิจสู่ green business ซึ่งในระยะหลังๆ เริ่มมีการแสดงความรับผิดชอบและยอมรับเองจากผู้ประกอบการมากขึ้น เช่น บริษัท Innocent Drinking ในอังกฤษ ที่ผลิตน้ำผลไม้แบบสมูทตี้ เริ่มจัดตั้งระบบการวิเคราะห์ carbon footprint ของตนเอง และระบุว่าการขนส่งผลไม้เมืองร้อนจากอเมริกากลางเข้ามา สร้างผลภาวะมากที่สุดในกิจการขวดพลาสติกที่ใช้บรรจุสมูทตี้ เป็นการนำน้ำมันจากใต้ดินมาใช้ที่สร้างความเสียหายต่อมลภาวะมากที่สุดแหล่งหนึ่ง จนต้องหันมาใช้ขวดพลาสติกรีไซเคิล 100% ทำให้ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจกได้ 28% ในระหว่างกระบวนการผลิต และ 8.5% เมื่อผลิตออกมาเป็นสินค้าแล้ว
กรณีของห้างเทสโก้ในอังกฤษ ได้พัฒนามาตรการด้วยการทำฉลากแสดงระดับการสร้างก๊าซคาร์บอน ให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงผลกระทบทางระบบนิเวศวิทยา และสิ่งแวดล้อมจากพฤติกรรมการใช้สินค้าที่ผิดวิธี
มีการประเมินและวิเคราะห์ว่ามันฝรั่งยี่ห้อวอกเกอร์ที่มีการขนส่งและนำมาผลิตเป็นมันฝรั่งทอด จากการผลิต, การขนส่ง, การขาย, การบริโภคและการกำจัดในที่สุด (จากถุง) ในการฝังกลบ มีส่วนในการผลิตและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับมันฝรั่งอยู่ที่ประมาณ 75 กรัมของคาร์บอน หากกระบวนการดำเนินการด้วยแนวทางที่ไม่เหมาะสม
แต่จุดอ่อนของเรื่องนี้ยังคงมีอยู่ว่าผู้บริโภคมีความรู้เพียงเล็กน้อยมาก ที่ตัดสินใจจะนำข้อมูลเหล่านี้ ในประเด็นที่ว่า 75g ของ CO2 เป็นจำนวนมากหรือน้อยแค่ไหน อันตรายหรือไม่
ประเด็นดังกล่าว เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาเท่านั้น หากทำให้ข้อมูลที่ส่งให้ผู้บริโภคมีเพียงพอ เกิดประสิทธิผล ยังประกันไม่ได้ว่าจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของพวกเขาได้หรือไม่ ตัวอย่างดูได้จากขณะนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาทางโภชนาการและแคลอรีของอาหารที่ผู้บริโภคกินมากกว่าที่ผู้บริโภคได้เคยมีมาก่อนมากมาย ผู้บริโภคสามารถดูผลกระทบโดยรวมที่สะท้อนถึงนิสัยการรับประทานอาหารของผู้บริโภค
แม้ว่าผลที่ได้จะชี้ว่า ผู้บริโภคหลายคนหันมารับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น แต่สถิติยังชี้ไปที่การแพร่ระบาดของโรคอ้วนทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา สิ่งนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยอย่างมากในความสามารถของผู้ประกอบการที่จะพึ่งพาการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภคเพียงอย่างเดียวได้หรือไม่ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลที่ทำให้มั่นใจว่าจะมีการวัด Carbon Footprint ของกิจการได้อย่างถูกต้อง
ผู้บริโภค ตัวแปรที่แท้จริง
เป็นการคาดหวังว่า การขัดแย้งและความสับสนเกี่ยวกับ Carbon Footprint จะหมดไปเสียที ขณะที่หลายกิจการและร้านค้าปลีกนำร่องไปแล้ว เพื่อให้เกิดบัญชีระบุระดับคาร์บอนสำหรับผลิตภัณฑ์ของการวัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ Carbon Footprint ควรจะรวมถึงการวัดผลจากผู้บริโภคแต่ละราย เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของคาร์บอนจากกระบวนการในการผลิตและการขนส่ง
ในอนาคต คาดว่าจะมีผู้ประกอบการอีกมากมายที่จะสนองตอบกับการเรียกร้องต่างๆ ที่ให้เกิดการปรับปรุงข้อมูลประจำตัวด้านสิ่งแวดล้อมของกิจการที่ไม่น่าเชื่อถือได้ถึงการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตัวอย่างเช่นผงซักฟอกสีเขียวที่สร้างความสับสนของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นว่าจริงหรือไม่
นอกจากนั้น รัฐบาลหลายประเทศยังใช้รูปแบบของ Carbon footprinting เป็นข้ออ้างเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจากการแข่งขันระหว่างประเทศ ผ่านกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม และกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลกได้แค่ไหน ซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ปริมาณ หรือจำนวนของตัวแปรภาคบังคับที่ผู้บริโภคจะถูกบังคับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น วันนี้ผู้บริโภคแต่ละคนสามารถพิจารณาถึงปริมาณของแคลอรีในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาทางโภชนาการและส่วนผสม
แต่ในอนาคตผู้บริโภคก็อาจจะถูกบังคับให้ใช้ปริมาณคาร์บอนที่เข้าสู่การพิจารณาเช่นกัน ทางเลือกของผู้บริโภคจะกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้นในฐานะผู้บริโภค โดยเฉพาะในมุมของจริยธรรม และอาจจะถูกบังคับให้หาเหตุผลเข้าข้างตนเองระหว่างสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละสภาพแวดล้อมและเป็นที่ยอมรับทางสังคม
ตัวอย่าง เช่นผู้บริโภคในเดนมาร์กจะซื้อมะเขือเทศที่ผลิตในประเทศตน เพราะคิดว่ามีรสชาติที่ดีที่สุด และดูแลระบบนิเวศ จึงเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ หรือจะซื้อมะเขือเทศที่ปลูกในประเทศสเปนเป็นทางเลือก ในขณะที่ยังไม่แปรรูปและส่งไปเดนมาร์กเพื่อผลิตสินค้า แต่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีปริมาณน้อยมาก (มะเขือเทศเดนมาร์กมีการปลูกโดยทั่วไปในเรือนกระจกที่ไม่ได้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมี Carbon Footprint ค่อนข้างสูง)
ผู้บริโภคจำนวนมากเลือกที่จะทำแค่ซื้อสินค้าด้วยแนวทางที่ง่ายที่สุดหรือดีที่สุด เหมาะกับความสำคัญและประเด็นของจริยธรรมส่วนบุคคล ในอนาคตความคิดนี้อาจขยายตัวออกไป ไม่เพียงรวมถึงการซื้อพลังงาน แต่ทุกกรณีของการซื้อสินค้าของผู้บริโภค