“การพัฒนากิจการในตลาดทุนจะต้องเน้นการสร้างวัฒนธรรรม CSR คือไม่ละเลยประโยชน์และผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสีย”
ก.ล.ต. ให้ความสำคัญกับการพัฒนา CSR อย่างไร
ตลาดทุนมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ก.ล.ต. จึงเริ่มวางรากฐานให้ตลาดทุนเติบดตและพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนจะต้องบริหารงานโดยมิได้มุ่งเฉพาะผลดีในเชิงพาณิชย์ หรือประโยชน์เฉพาะบุคคลบางกลุ่มแต่อย่างเดียว แต่ต้องมุ่งสู่เป้าหมายที่กว้างไกลออกไปให้ครอบคลุมถึงสังคม สิ่งแวดล้อมและโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ด้วย
กล่าวคือ มีเป้าหมายด้าน CSR ตลอดจนการทำ CSR ฝังในกระบวนการทำงาน ดังนั้น ก.ล.ต. จึงสนับสนุนให้กิจการในตลาดทุนซึ่งมีบริษัทจดทะเบียนเป็นกลไกหลักดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก CSR เพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนทั่วโลกซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก CSR มากขึ้น รวมทั้งการสร้างและปลูกฝังวัฒนธรรม CSR ขึ้นในองค์กร ยังจะส่งผลให้ประชาชนในวงกว้างมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สังคมดีขึ้นตามมาด้วย
CSR ของบริษัทจดทะเบียนควรเป็นอย่างไร
การทำ CSR ของบริษัทจดทะเบียนมี 2 ด้านหลักๆ คือ CSR ใกล้ตัว และ CSR in process โดย CSR ใกล้ตัว เริ่มจากการทำ CSR ในองค์กร เช่น บริษัทจะต้องเข้าใจปัญหาของพนักงานให้ความรู้ทางการเงินแก่พนักงาน รวมถึงการจัดให้มี clinic coaching เป็นรายบุคคล และ CSR in process คือการทำ CSR ที่อยู่ในกระบวนการทำงาน ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนควรจะมีการดำเนินการดังต่อไปนี้
1.ประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ต่อต้านการผูกขาดและการทุ่มตลาด เช่น การสมยอมราคาการประมูลงาน การกำหนดกติกาเพื่อบีบบังคับคู่แข่งอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น โดยมีนโยบายและวิธีปฏิบัติให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องนี้
2.เคารพสิทธิมนุษยชน โดยการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ชุมชนรอบข้าง ด้วยการเคารพในคุณค่าของมนุษย์ เอาใจใส่ดูแลสุขและทุกข์ ช่วยเหลือยามมีทุกข์ภัยและไม่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน
3.ปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ กีดกัน หรือลำเอียงในการจ้างงาน หรือเลื่อนตำแหน่ง ไม่ใช้แรงงานเด็ก ไม่ข่มขู่บังคับให้ทำงานมีการให้ความคุ้มครองด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการอย่างเหมาะสม
4.รับผิดชอบต่อผู้บริโภค เช่น กำหนดราคาสินค้าและบริการอย่างสมเหตุสมผล ไม่บิดเบือน โฆษณาเกินจริง ไม่ให้ข้อมูลคลุมเครือ รวมทั้งควรจะผลิตสินค้าหรือบริการที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
5.จัดการสิ่งแวดล้อม รู้ว่าการประกอบธุรกิจของบริษัทก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อมเรื่องใดบ้าง มากน้อยเพียงใด และมีการกำหนดมาตรการแก้ไข รวมทั้งพัฒนากระบวนการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบ พร้อมกับปกป้องฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความยั่งยืนให้บริษัท
6.พัฒนาชุมชนหรือสังคม สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกิจการกับชุมชนและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัท ทั้งที่เป็นชุมชนและสังคมที่ตั้งอยู่ติดกับสถานประกอบการ รวมถึงที่ตั้งอยู่ห่างไกลออกไป เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
7.คิดค้นและเผยแพร่นวัตกรรมที่ได้จากการดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้ที่เกี่ยวข้อง สร้างนวัตกรรมจากการปรับกระบวนการผลิต กระบวนการทำงานเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ก.ล.ต. มีคำแนะนำอย่างไรเกี่ยวกับการพิจารณาให้รางวัล CSR Awards
เนื่องจากปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีจำนวนมากขึ้น การเพิ่มประเภทรางวัล เช่น รางวัลดาวรุ่ง รางวัลการปรับปรุงแบบก้าวกระโดด นอกเหนือจาก the best ของแต่ละกลุ่มบริษัทจดทะเบียน จะช่วยกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจแก่บริษัทที่มีความตั้งใจในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ก.ล.ต. มีมาตรการหรือกลไกใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริม CSR ของบริษัทจดทะเบียนอย่างไร
ก.ล.ต. อยู่ระหว่างผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้าน CSR ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56 - 1 ) และรายงานประจำปี สำหรับบริษัทที่จะออกและเสนอขายหลักทรัพย์ใหม่ จะให้มีการเปิดเผยข้อมูล CSR ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ( แบบ 69 - 1 ) เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะสะท้อนถึงนโยบายการดำเนินงานของบริษัทว่าได้มีการคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะทำให้ผู้ลงทุนได้มีข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น
ในขณะที่บริษัทจดทะเบียนก็จะสอบทานตนเองได้ว่าดำเนินการตามหลัก CSR ตรงกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรแล้วหรือไม่ อีกนัยหนึ่งเมื่อทำดี มี CSR แล้วก็เป็นโอกาสดีที่จะเผยแพร่ให้ทราบกันโดยทั่วไป เพราะนอกจากผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังมีองค์กรที่ให้ความสำคัญและทำการประเมินในเรื่องนี้ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก
อย่างไรก็ดี ความสำเร็จในเรื่อง CSR นี้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูง หรือ CEO ของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งท่านเหล่านี้จะต้องเป็นผู้ริเริ่มผลักดัน และสนับสนุนให้ผู้บริหารและพนักงานปฏิบัติตามทั้งในเรื่องของการดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก CSR และการเปิดเผยข้อมูล
แนวโน้มการพัฒนา หลักเกณฑ์ด้าน CSR ในตลาดทุนไทยไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นอย่างไร
บทบาทของ ก.ล.ต. ในเรื่องนี้ เริ่มต้นจากความพยายามผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Governance) คือ การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน ทั้ง ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ได้ร่วมกันดำเนินการผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนมี CG ที่ดีได้ตามมาตรฐานสากล
ปี 2549 คณะกรรมการ ก.ล.ต. เล็งเห็นความสำคัญของการผลักดันเรื่อง CSR ในตลาดทุนไทย จึงได้จัดตั้งคณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน (คณะทำงาน CSR) เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนเห็นความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างมี CSR และต่อมา มีการจัดตั้งสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม หรือ CSRI โดยภาคตลาดทุน มีการออกมาตรการกระตุ้น เช่น การจัดพิธีมอบรางวัล CSR Awards และการจัดทำคู่มือการปฏิบัติ เช่น เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม
เมื่อกระแสการพัฒนาอย่างยั่งยืนเริ่มเป็นที่พูดถึงในระดับนานาชาติ ประเด็นที่พูดถึงกัน คือ การพัฒนาที่มุ่งแต่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดผลดีในเชิงรายได้ แต่ส่งผลเชิงลบต่อสภาพแวดล้อมและสังคมตามมา เช่น ปัญหามลพิษต่างๆ อากาศเสีย น้ำเสีย การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ จึงมีเสียงเรียกร้องจากสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อไปยังผู้ลงทุนว่า ธุรกิจจะมุ่งเน้นแต่เพียงทำให้ตนเองมีผลกำไรดีและมี CG ดี ก็อาจไม่เพียงพอแล้ว แต่จะต้องใส่ใจสภาพสังคมสิ่งแวดล้อม รวมถึงดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
กลุ่มนักลงทุนสถาบันทั่วโลกกว่า 600 แห่ง ใช้ “หลักปฏิบัติการลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ PRI (The Principles for Responsible Investment)” ที่มุ่งหวังผลตอบแทนทางสังคมและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อว่า ESG ซึ่งหมายถึง สิ่งแวดล้อม (E-Environment) สังคม (S-Social) และ บรรษัทภิบาล (G-Corporate Governance) คือตัวแปรหลักที่เป็นได้ทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อผลตอบแทนการลงทุนระยะยาว การใช้ ESG วิเคราะห์การลงทุนจึงสะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันมีแรงผลักดันอย่างจริงจังจากด้านผู้ลงทุนต่างๆ เพื่อการเติบโตของการลงทุนที่ยั่งยืน
แผนกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ด้าน CSR ของ ก.ล.ต. เป็นอย่างไร
ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศ ก.ล.ต. มีมิติการทำงานเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนถึง 3 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 ความยั่งยืนขององค์กร ก.ล.ต. มิติที่ 2 ความยั่งยืนของตลาดทุนไทย และ มิติที่ 3 การทำให้ตลาดทุนเป็นเครื่องมือที่สร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศชาติ ขอเน้นย้ำว่า การดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงเป็นเรื่องที่จำเป็น และไม่ยากเกินไปหากจะเริ่มจากสิ่งรอบตัวและพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
ตั้งแต่ปี 2554 ก.ล.ต.ได้แสดงบทบาทในด้านความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่พนักงาน พันธมิตร ผู้ร่วมตลาด ไปจนถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม พนักงานได้รับการกระตุ้นให้มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้ การใช้หลอดประหยัดไฟฟ้า การแบ่งโซนเปิด-ปิดสวิตซ์ไฟ การปิดเครื่องปรับอากาศหลัง 18.00 น. การใช้งานกระดาษทั้งสองหน้า การจัดถึงขยะแยกประเภทเพื่อความสะดวกในการกำจัดและการจัดหารถตู้โดยสารให้พนักงานเดินทางมาทำงานด้วยกัน เป็นต้น
ในส่วนของการเชิญชวนให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ดำเนินกิจกรรม CSR ตามหลักมาตรฐานสากล Global Reporting Initiative ( GRI ) และจัดทำรายงานตามหลัก GRI เปิดเผยการดำเนินการด้าน CSR นี้ต่อสาธารณชน หรือที่มักเรียกกันว่ารายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Report) ทาง ก.ล.ต. เองก็ได้เดินหน้าดำเนินการไปด้วยพร้อมกัน
ในปี 2556 ก.ล.ต. สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนเผยแพร่รายงาน CSR Report ตามหลัก GRI ในรายงานจะนำเสนอข้อมูลใน 3 มิติ ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ ผลผลิต และการบริการขององค์กร(Economic) ได้แก่ รายได้ กำไรสุทธิ สัดส่วนการส่งออก อัตราส่วนรายได้ต่อพนักงาน ด้านสิ่งแวดล้อม(Enviroment) ได้แก่ การใช้พลังงาน การใช้น้ำ ของเสีย มลพิษทางอากาศ และด้านสังคม (Social) ได้แก่ สัดส่วนพนักงานชายหญิง แรงงานภายในประเทศ จำนวนพนักงาน อัตราการลาออก เป็นด้น และ ก.ล.ต. ก็จะเผยแพร่รายงาน CSR Report ตามหลัก GRI ด้วย
ก.ล.ต. ให้ความสำคัญกับการพัฒนา CSR อย่างไร
ตลาดทุนมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ก.ล.ต. จึงเริ่มวางรากฐานให้ตลาดทุนเติบดตและพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนจะต้องบริหารงานโดยมิได้มุ่งเฉพาะผลดีในเชิงพาณิชย์ หรือประโยชน์เฉพาะบุคคลบางกลุ่มแต่อย่างเดียว แต่ต้องมุ่งสู่เป้าหมายที่กว้างไกลออกไปให้ครอบคลุมถึงสังคม สิ่งแวดล้อมและโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ด้วย
กล่าวคือ มีเป้าหมายด้าน CSR ตลอดจนการทำ CSR ฝังในกระบวนการทำงาน ดังนั้น ก.ล.ต. จึงสนับสนุนให้กิจการในตลาดทุนซึ่งมีบริษัทจดทะเบียนเป็นกลไกหลักดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก CSR เพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนทั่วโลกซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก CSR มากขึ้น รวมทั้งการสร้างและปลูกฝังวัฒนธรรม CSR ขึ้นในองค์กร ยังจะส่งผลให้ประชาชนในวงกว้างมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สังคมดีขึ้นตามมาด้วย
CSR ของบริษัทจดทะเบียนควรเป็นอย่างไร
การทำ CSR ของบริษัทจดทะเบียนมี 2 ด้านหลักๆ คือ CSR ใกล้ตัว และ CSR in process โดย CSR ใกล้ตัว เริ่มจากการทำ CSR ในองค์กร เช่น บริษัทจะต้องเข้าใจปัญหาของพนักงานให้ความรู้ทางการเงินแก่พนักงาน รวมถึงการจัดให้มี clinic coaching เป็นรายบุคคล และ CSR in process คือการทำ CSR ที่อยู่ในกระบวนการทำงาน ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนควรจะมีการดำเนินการดังต่อไปนี้
1.ประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ต่อต้านการผูกขาดและการทุ่มตลาด เช่น การสมยอมราคาการประมูลงาน การกำหนดกติกาเพื่อบีบบังคับคู่แข่งอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น โดยมีนโยบายและวิธีปฏิบัติให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องนี้
2.เคารพสิทธิมนุษยชน โดยการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ชุมชนรอบข้าง ด้วยการเคารพในคุณค่าของมนุษย์ เอาใจใส่ดูแลสุขและทุกข์ ช่วยเหลือยามมีทุกข์ภัยและไม่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน
3.ปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ กีดกัน หรือลำเอียงในการจ้างงาน หรือเลื่อนตำแหน่ง ไม่ใช้แรงงานเด็ก ไม่ข่มขู่บังคับให้ทำงานมีการให้ความคุ้มครองด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการอย่างเหมาะสม
4.รับผิดชอบต่อผู้บริโภค เช่น กำหนดราคาสินค้าและบริการอย่างสมเหตุสมผล ไม่บิดเบือน โฆษณาเกินจริง ไม่ให้ข้อมูลคลุมเครือ รวมทั้งควรจะผลิตสินค้าหรือบริการที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
5.จัดการสิ่งแวดล้อม รู้ว่าการประกอบธุรกิจของบริษัทก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อมเรื่องใดบ้าง มากน้อยเพียงใด และมีการกำหนดมาตรการแก้ไข รวมทั้งพัฒนากระบวนการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบ พร้อมกับปกป้องฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความยั่งยืนให้บริษัท
6.พัฒนาชุมชนหรือสังคม สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกิจการกับชุมชนและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัท ทั้งที่เป็นชุมชนและสังคมที่ตั้งอยู่ติดกับสถานประกอบการ รวมถึงที่ตั้งอยู่ห่างไกลออกไป เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
7.คิดค้นและเผยแพร่นวัตกรรมที่ได้จากการดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้ที่เกี่ยวข้อง สร้างนวัตกรรมจากการปรับกระบวนการผลิต กระบวนการทำงานเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ก.ล.ต. มีคำแนะนำอย่างไรเกี่ยวกับการพิจารณาให้รางวัล CSR Awards
เนื่องจากปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีจำนวนมากขึ้น การเพิ่มประเภทรางวัล เช่น รางวัลดาวรุ่ง รางวัลการปรับปรุงแบบก้าวกระโดด นอกเหนือจาก the best ของแต่ละกลุ่มบริษัทจดทะเบียน จะช่วยกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจแก่บริษัทที่มีความตั้งใจในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ก.ล.ต. มีมาตรการหรือกลไกใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริม CSR ของบริษัทจดทะเบียนอย่างไร
ก.ล.ต. อยู่ระหว่างผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้าน CSR ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56 - 1 ) และรายงานประจำปี สำหรับบริษัทที่จะออกและเสนอขายหลักทรัพย์ใหม่ จะให้มีการเปิดเผยข้อมูล CSR ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ( แบบ 69 - 1 ) เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะสะท้อนถึงนโยบายการดำเนินงานของบริษัทว่าได้มีการคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะทำให้ผู้ลงทุนได้มีข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น
ในขณะที่บริษัทจดทะเบียนก็จะสอบทานตนเองได้ว่าดำเนินการตามหลัก CSR ตรงกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรแล้วหรือไม่ อีกนัยหนึ่งเมื่อทำดี มี CSR แล้วก็เป็นโอกาสดีที่จะเผยแพร่ให้ทราบกันโดยทั่วไป เพราะนอกจากผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังมีองค์กรที่ให้ความสำคัญและทำการประเมินในเรื่องนี้ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก
อย่างไรก็ดี ความสำเร็จในเรื่อง CSR นี้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูง หรือ CEO ของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งท่านเหล่านี้จะต้องเป็นผู้ริเริ่มผลักดัน และสนับสนุนให้ผู้บริหารและพนักงานปฏิบัติตามทั้งในเรื่องของการดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก CSR และการเปิดเผยข้อมูล
แนวโน้มการพัฒนา หลักเกณฑ์ด้าน CSR ในตลาดทุนไทยไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นอย่างไร
บทบาทของ ก.ล.ต. ในเรื่องนี้ เริ่มต้นจากความพยายามผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Governance) คือ การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน ทั้ง ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ได้ร่วมกันดำเนินการผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนมี CG ที่ดีได้ตามมาตรฐานสากล
ปี 2549 คณะกรรมการ ก.ล.ต. เล็งเห็นความสำคัญของการผลักดันเรื่อง CSR ในตลาดทุนไทย จึงได้จัดตั้งคณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน (คณะทำงาน CSR) เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนเห็นความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างมี CSR และต่อมา มีการจัดตั้งสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม หรือ CSRI โดยภาคตลาดทุน มีการออกมาตรการกระตุ้น เช่น การจัดพิธีมอบรางวัล CSR Awards และการจัดทำคู่มือการปฏิบัติ เช่น เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม
เมื่อกระแสการพัฒนาอย่างยั่งยืนเริ่มเป็นที่พูดถึงในระดับนานาชาติ ประเด็นที่พูดถึงกัน คือ การพัฒนาที่มุ่งแต่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดผลดีในเชิงรายได้ แต่ส่งผลเชิงลบต่อสภาพแวดล้อมและสังคมตามมา เช่น ปัญหามลพิษต่างๆ อากาศเสีย น้ำเสีย การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ จึงมีเสียงเรียกร้องจากสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อไปยังผู้ลงทุนว่า ธุรกิจจะมุ่งเน้นแต่เพียงทำให้ตนเองมีผลกำไรดีและมี CG ดี ก็อาจไม่เพียงพอแล้ว แต่จะต้องใส่ใจสภาพสังคมสิ่งแวดล้อม รวมถึงดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
กลุ่มนักลงทุนสถาบันทั่วโลกกว่า 600 แห่ง ใช้ “หลักปฏิบัติการลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ PRI (The Principles for Responsible Investment)” ที่มุ่งหวังผลตอบแทนทางสังคมและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อว่า ESG ซึ่งหมายถึง สิ่งแวดล้อม (E-Environment) สังคม (S-Social) และ บรรษัทภิบาล (G-Corporate Governance) คือตัวแปรหลักที่เป็นได้ทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อผลตอบแทนการลงทุนระยะยาว การใช้ ESG วิเคราะห์การลงทุนจึงสะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันมีแรงผลักดันอย่างจริงจังจากด้านผู้ลงทุนต่างๆ เพื่อการเติบโตของการลงทุนที่ยั่งยืน
แผนกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ด้าน CSR ของ ก.ล.ต. เป็นอย่างไร
ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศ ก.ล.ต. มีมิติการทำงานเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนถึง 3 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 ความยั่งยืนขององค์กร ก.ล.ต. มิติที่ 2 ความยั่งยืนของตลาดทุนไทย และ มิติที่ 3 การทำให้ตลาดทุนเป็นเครื่องมือที่สร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศชาติ ขอเน้นย้ำว่า การดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงเป็นเรื่องที่จำเป็น และไม่ยากเกินไปหากจะเริ่มจากสิ่งรอบตัวและพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
ตั้งแต่ปี 2554 ก.ล.ต.ได้แสดงบทบาทในด้านความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่พนักงาน พันธมิตร ผู้ร่วมตลาด ไปจนถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม พนักงานได้รับการกระตุ้นให้มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้ การใช้หลอดประหยัดไฟฟ้า การแบ่งโซนเปิด-ปิดสวิตซ์ไฟ การปิดเครื่องปรับอากาศหลัง 18.00 น. การใช้งานกระดาษทั้งสองหน้า การจัดถึงขยะแยกประเภทเพื่อความสะดวกในการกำจัดและการจัดหารถตู้โดยสารให้พนักงานเดินทางมาทำงานด้วยกัน เป็นต้น
ในส่วนของการเชิญชวนให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ดำเนินกิจกรรม CSR ตามหลักมาตรฐานสากล Global Reporting Initiative ( GRI ) และจัดทำรายงานตามหลัก GRI เปิดเผยการดำเนินการด้าน CSR นี้ต่อสาธารณชน หรือที่มักเรียกกันว่ารายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Report) ทาง ก.ล.ต. เองก็ได้เดินหน้าดำเนินการไปด้วยพร้อมกัน
ในปี 2556 ก.ล.ต. สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนเผยแพร่รายงาน CSR Report ตามหลัก GRI ในรายงานจะนำเสนอข้อมูลใน 3 มิติ ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ ผลผลิต และการบริการขององค์กร(Economic) ได้แก่ รายได้ กำไรสุทธิ สัดส่วนการส่งออก อัตราส่วนรายได้ต่อพนักงาน ด้านสิ่งแวดล้อม(Enviroment) ได้แก่ การใช้พลังงาน การใช้น้ำ ของเสีย มลพิษทางอากาศ และด้านสังคม (Social) ได้แก่ สัดส่วนพนักงานชายหญิง แรงงานภายในประเทศ จำนวนพนักงาน อัตราการลาออก เป็นด้น และ ก.ล.ต. ก็จะเผยแพร่รายงาน CSR Report ตามหลัก GRI ด้วย