กระแสการยอมรับเรื่องแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) ได้พัฒนาไปถึงขั้นมีการจัดทำรายงานบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR Report)
ขณะเดียวกัน เมื่อดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งหมายถึงการสร้างคุณประโยชน์และไม่สร้างความเสียหายต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นเหตุให้เกิดผล คือ “ความยั่งยืน” (Sustainability)
ดังนั้น กระบวนการขับเคลื่อนองค์กรอย่างมี CSR คือ คำนึงถึงการเกิดผลเชิงบวกทั้งด้านเศรษฐกิจ (Profit) สังคม (People) และ สิ่งแวดล้อม (Environment) ก็เท่ากับว่ากำลังพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Sustainable Development)
มาตรฐานสากลในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมที่มุ่งให้มีการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและคุณธรรม เพื่อให้เกิดผลดีทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงให้พิสูจน์ความจริงจัง จริงใจด้วยการเปิดเผยข้อมูลด้านต่างๆ ให้สังคมรับรู้
ก็ด้วยการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainable Development Report) ซึ่งนิยมใช้แนวทางการทำรายงานแห่งความยั่งยืนขององค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากลที่รู้จักกันในนาม GRI (Global Reporting Initiative)
รายงานที่ว่านี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งขององค์กรที่มี CSR และมุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน ก็จะใช้สื่อสารข้อมูลสำคัญของผลการดำเนินงานที่กิจการได้คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน และสิ่งแวดล้อม)
GRI เป็นองค์กรอิสระ ก่อตั้งขึ้นโดยเครือข่าย Ceres ร่วมกับสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) มีสำนักงานอยู่ที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ การทำงานในลักษณะเครือข่ายที่มีผู้มีส่วนได้เสียมากกว่า 30,000 ราย และที่เป็นองค์กร (Organizational Stakeholders) ทั่วโลกมีมากกว่า 600 องค์กรจากทั้งภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา รวมทั้งสมาคมการค้าต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือร่วมมือกันพัฒนากรอบและแนวปฏิบัติในการจัดทำรายงานความยั่งยืน
กรอบการรายงานความยั่งยืนที่ประกอบด้วยแนวปฏิบัติหลัก สำหรับการจัดทำรายงานความยั่งยืน ที่เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2543 เรียกว่า ฉบับ G1 และเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ได้ปรับปรุงเป็นฉบับ G3.1 ที่ใช้ในปัจจุบัน
ทุกวันนี้ปัจจุบัน มีองค์กรธุรกิจเกือบ 5,000 แห่งทั่วโลกได้จัดทำรายงานความยั่งยืนตามกรอบการรายงานของ GRI เผยแพร่สู่สังคมโลก อาทิ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก แอฟริกาใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย
ในประเทศไทย มีองค์กรที่ได้จัดทำรายงานความยั่งยืนตามกรอบการรายงานของ GRI ออกเผยแพร่แล้วจำนวน 18 แห่ง ได้แก่ เอสซีจี.เคมีคอลล์, เครือซิเมนต์ไทย, บมจ.ปตท., ปตท.สผ., พฤกษาเรียลเอสเตท, ปตท.เคมีคอล, กสท.โทรคมนาคม, บมจ.บ้านปู, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ, บมจ.บางจากปิโตรเลียม, บมจ.ธนาคารทิสโก้, การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, บมจ.การบินไทย, ไทยออยล์, บมจ.ผลิตไฟฟ้า และโรบินสัน
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ได้ให้ความเห็นถึงแนวโน้มการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย ในงานสัมมนาเรื่อง Sustainability Reporting: "An Effective Tool for Corporate Communication in Sustainability Era" เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ศกนี้ ว่า “ความต้องการในตัวรายงานแห่งความยั่งยืน หรือรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม ถือเป็นช่องทางสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ นับว่ามีอัตราที่เติบโตขึ้นมาก โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ลงทุนสถาบันที่จะใช้ข้อมูลเรื่องบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม มาประกอบการลงทุนและการทำธุรกรรมกับบริษัทและองค์กรที่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง”
จะเห็นได้ว่าเมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ลงทุนสถาบันจำนวน 5 แห่ง ซึ่งบริหารเม็ดเงินรวมกันเกือบ 7 ล้านล้านบาท ได้ประกาศจุดยืนร่วมกันในการให้ความสำคัญที่จะพิจารณาความเหมาะสมในการทำธุรกรรมกับบริษัทและองค์กรที่ไม่ให้ความสำคัญกับบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม หรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน
การเปิดเผยข้อมูลกระบวนการบริหารธุรกิจผ่านการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน จึงเท่ากับการเปิดเผยแนวทางและจุดยืนการดำเนินธุรกิจด้วยหลัก CSR ซึ่งนับวันจะถูกใช้เป็นตัวชี้วัดความน่าคบค้าของนักลงทุนที่ต้องการผลความสำเร็จที่ยั่งยืนนั่นเอง
ข้อคิด...
ความเคลื่อนไหวที่มีพัฒนาของทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) และ สถาบันไทยพัฒน์ ผนึกกำลังกันส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และธุรกิจที่สนใจใฝ่ดี มีการจัดทำรายงานความยั่งยืนที่อิงแนวปฏิบัติของ GRI ซึ่งก็คือรายงานการดำเนินธุรกิจด้วยหลัก CSR ที่สมบูรณ์นั่นเอง
จากการที่ 3 สถาบันดังกล่าว ได้ร่วมกันจัดทำและเผยแพร่เอกสารแนวทางการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน เมื่อกลางปี พ.ศ.2555 ก็จะช่วยให้เห็นแนววิธีการจัดทำข้อมูลรายงานการดำเนินงานของกิจการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยอ้างอิงจากกรอบการรายงานของ GRI ที่ประกอบด้วย เนื้อหา คุณภาพ ขอบเขตของการรายงาน มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล เกณฑ์วิธีตัวชี้วัด และการวัดระดับการรายงาน
โดยเฉพาะเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา สถาบันไทยพัฒน์ ได้ลงนามข้อตกลงกับ GRI ในการเป็นหุ้นส่วนฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง หรือ Certified Training Partner ของ GRI ในประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่จัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านการรายงานแห่งความยั่งยืน โดยครอบคลุมพื้นที่ดำเนินการไปถึงประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียด้วย
บทบาทของสถาบันไทยพัฒน์ในส่วนนี้จะช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการให้การประกอบการของตนเองมีความยั่งยืน สามารถพัฒนากระบวนการรายงานในการสื่อสารกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และการดำเนินงานที่เป็นจริงอย่างจริงใจก็จะส่งผลต่อความยั่งยืน ในแนวทางนี้มีการติดตามอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีส่งผ่านข้อมูลไปยังผู้มีอำนาจตัดสินใจเพื่อใช้ปรับแต่งนโยบายและกลยุทธ์ รวมถึงการปรับปรุงการดำเนินงาน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการขององค์กร
รายงานแห่งความยั่งยืน จึงเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนและยกระดับความเก่งและดี คือมีบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการของจริงครับ
suwatmgr@gmail.com
ขณะเดียวกัน เมื่อดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งหมายถึงการสร้างคุณประโยชน์และไม่สร้างความเสียหายต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นเหตุให้เกิดผล คือ “ความยั่งยืน” (Sustainability)
ดังนั้น กระบวนการขับเคลื่อนองค์กรอย่างมี CSR คือ คำนึงถึงการเกิดผลเชิงบวกทั้งด้านเศรษฐกิจ (Profit) สังคม (People) และ สิ่งแวดล้อม (Environment) ก็เท่ากับว่ากำลังพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Sustainable Development)
มาตรฐานสากลในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมที่มุ่งให้มีการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและคุณธรรม เพื่อให้เกิดผลดีทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงให้พิสูจน์ความจริงจัง จริงใจด้วยการเปิดเผยข้อมูลด้านต่างๆ ให้สังคมรับรู้
ก็ด้วยการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainable Development Report) ซึ่งนิยมใช้แนวทางการทำรายงานแห่งความยั่งยืนขององค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากลที่รู้จักกันในนาม GRI (Global Reporting Initiative)
รายงานที่ว่านี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งขององค์กรที่มี CSR และมุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน ก็จะใช้สื่อสารข้อมูลสำคัญของผลการดำเนินงานที่กิจการได้คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน และสิ่งแวดล้อม)
GRI เป็นองค์กรอิสระ ก่อตั้งขึ้นโดยเครือข่าย Ceres ร่วมกับสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) มีสำนักงานอยู่ที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ การทำงานในลักษณะเครือข่ายที่มีผู้มีส่วนได้เสียมากกว่า 30,000 ราย และที่เป็นองค์กร (Organizational Stakeholders) ทั่วโลกมีมากกว่า 600 องค์กรจากทั้งภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา รวมทั้งสมาคมการค้าต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือร่วมมือกันพัฒนากรอบและแนวปฏิบัติในการจัดทำรายงานความยั่งยืน
กรอบการรายงานความยั่งยืนที่ประกอบด้วยแนวปฏิบัติหลัก สำหรับการจัดทำรายงานความยั่งยืน ที่เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2543 เรียกว่า ฉบับ G1 และเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ได้ปรับปรุงเป็นฉบับ G3.1 ที่ใช้ในปัจจุบัน
ทุกวันนี้ปัจจุบัน มีองค์กรธุรกิจเกือบ 5,000 แห่งทั่วโลกได้จัดทำรายงานความยั่งยืนตามกรอบการรายงานของ GRI เผยแพร่สู่สังคมโลก อาทิ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก แอฟริกาใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย
ในประเทศไทย มีองค์กรที่ได้จัดทำรายงานความยั่งยืนตามกรอบการรายงานของ GRI ออกเผยแพร่แล้วจำนวน 18 แห่ง ได้แก่ เอสซีจี.เคมีคอลล์, เครือซิเมนต์ไทย, บมจ.ปตท., ปตท.สผ., พฤกษาเรียลเอสเตท, ปตท.เคมีคอล, กสท.โทรคมนาคม, บมจ.บ้านปู, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ, บมจ.บางจากปิโตรเลียม, บมจ.ธนาคารทิสโก้, การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, บมจ.การบินไทย, ไทยออยล์, บมจ.ผลิตไฟฟ้า และโรบินสัน
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ได้ให้ความเห็นถึงแนวโน้มการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย ในงานสัมมนาเรื่อง Sustainability Reporting: "An Effective Tool for Corporate Communication in Sustainability Era" เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ศกนี้ ว่า “ความต้องการในตัวรายงานแห่งความยั่งยืน หรือรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม ถือเป็นช่องทางสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ นับว่ามีอัตราที่เติบโตขึ้นมาก โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ลงทุนสถาบันที่จะใช้ข้อมูลเรื่องบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม มาประกอบการลงทุนและการทำธุรกรรมกับบริษัทและองค์กรที่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง”
จะเห็นได้ว่าเมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ลงทุนสถาบันจำนวน 5 แห่ง ซึ่งบริหารเม็ดเงินรวมกันเกือบ 7 ล้านล้านบาท ได้ประกาศจุดยืนร่วมกันในการให้ความสำคัญที่จะพิจารณาความเหมาะสมในการทำธุรกรรมกับบริษัทและองค์กรที่ไม่ให้ความสำคัญกับบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม หรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน
การเปิดเผยข้อมูลกระบวนการบริหารธุรกิจผ่านการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน จึงเท่ากับการเปิดเผยแนวทางและจุดยืนการดำเนินธุรกิจด้วยหลัก CSR ซึ่งนับวันจะถูกใช้เป็นตัวชี้วัดความน่าคบค้าของนักลงทุนที่ต้องการผลความสำเร็จที่ยั่งยืนนั่นเอง
ข้อคิด...
ความเคลื่อนไหวที่มีพัฒนาของทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) และ สถาบันไทยพัฒน์ ผนึกกำลังกันส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และธุรกิจที่สนใจใฝ่ดี มีการจัดทำรายงานความยั่งยืนที่อิงแนวปฏิบัติของ GRI ซึ่งก็คือรายงานการดำเนินธุรกิจด้วยหลัก CSR ที่สมบูรณ์นั่นเอง
จากการที่ 3 สถาบันดังกล่าว ได้ร่วมกันจัดทำและเผยแพร่เอกสารแนวทางการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน เมื่อกลางปี พ.ศ.2555 ก็จะช่วยให้เห็นแนววิธีการจัดทำข้อมูลรายงานการดำเนินงานของกิจการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยอ้างอิงจากกรอบการรายงานของ GRI ที่ประกอบด้วย เนื้อหา คุณภาพ ขอบเขตของการรายงาน มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล เกณฑ์วิธีตัวชี้วัด และการวัดระดับการรายงาน
โดยเฉพาะเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา สถาบันไทยพัฒน์ ได้ลงนามข้อตกลงกับ GRI ในการเป็นหุ้นส่วนฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง หรือ Certified Training Partner ของ GRI ในประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่จัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านการรายงานแห่งความยั่งยืน โดยครอบคลุมพื้นที่ดำเนินการไปถึงประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียด้วย
บทบาทของสถาบันไทยพัฒน์ในส่วนนี้จะช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการให้การประกอบการของตนเองมีความยั่งยืน สามารถพัฒนากระบวนการรายงานในการสื่อสารกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และการดำเนินงานที่เป็นจริงอย่างจริงใจก็จะส่งผลต่อความยั่งยืน ในแนวทางนี้มีการติดตามอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีส่งผ่านข้อมูลไปยังผู้มีอำนาจตัดสินใจเพื่อใช้ปรับแต่งนโยบายและกลยุทธ์ รวมถึงการปรับปรุงการดำเนินงาน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการขององค์กร
รายงานแห่งความยั่งยืน จึงเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนและยกระดับความเก่งและดี คือมีบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการของจริงครับ
suwatmgr@gmail.com