งานเปิดตัว โครงการ CSR DAYปีนี้ นับว่าน่าสนใจเพราะอยู่ตัวถึงขนาดเข้าสู่ระยะที่ 4 แล้ว และเฟสใหม่ที่แถลงเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ศกนี้ จะมุ่งให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่บริษัทจดทะเบียนหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้สามารถจัดทำรายงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือCSR-in process คือมีความเก่งและดีที่อยู่ในกระบวนการทำธุรกิจ หรืออุตสาหกรรม
รายงานที่ว่านี้ ตามกระแสโลกที่มองในมิติผลลัพธ์ของ CSR จะเรียกว่า “รายงานเพื่อความยั่งยืน” โดยใช้หัวข้อและตัวชีวิตตามแนวการรายงานระดับสากลของ Global Reporting Initiative (GRI) ซึ่งมีการปรับปรุงใหม่เป็นฉบับ 3.1
นี่เป็นบทบาทริเริ่มของสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) หน่วยงานในสังกัดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสถาบันไทยพัฒน์ ได้ร่วมกันเดินหน้าโครงการ CSR DAY อย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายผลจากการจัดอบรมให้ความรู้ด้าน CSR แก่องค์กรธุรกิจต่างๆ มาแล้วกว่า 300 ครั้ง และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 12,000 คน ใน 3 เฟส ที่ผ่านมา
เริ่มต้นจากเฟส 1 เมื่อปี 2552 นั้นเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่อง CSR เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความคิดและมีส่วนร่วม หรือ “Employee Engagement”
พอมาเฟส 2 ก็เป็นการให้ความรู้ด้าน CSR แก่ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัท โดยจัดเป็น “Directors Program” และเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3 ก็มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ ISO 26000 และการจัดทำรายงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือรายงานแห่งความยั่งยืน ทั้งแก่บริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำหรับโครงการ CSR DAY เฟส 4 แกนนำการจัดกิจกรรมคาดว่าจะมีผู้บริหารกิจการเข้าร่วมเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 100 แห่ง และนอกจากกิจกรรมที่ออกแบบไว้สำหรับพนักงานและผู้บริหารทั้ง 2 ระดับที่ต่อเนื่องมาจาก 3 เฟสแล้ว ในรอบปี 2555-2556 จะครอบคลุมการเข้าให้คำปรึกษาเชิงลึกในการจัดทำรายงานเพื่อความยั่งยืน ให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรการเขียนรายงานด้าน CSR มาแล้วจำนวน 20 บริษัท และจะเปิดรับบริษัทจดทะเบียนที่สนใจจะเข้าร่วมการจัดทำรายงานเพิ่มเติมอีก 20 บริษัทในต้นปี 2556 เพื่อให้องค์กรสามารถริเริ่มจัดทำรายงานฉบับแรก ตามกรอบการรายงานสากลของ GRIฉบับ 3.1 ด้วย
งานนี้ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า ทีมที่ปรึกษาที่ได้รับการอบรมและรับรองจาก GRI พร้อมจะให้คำปรึกษาแก่บริษัทจดทะเบียน ให้มีความรู้ความเข้าใจและความพร้อมในการจัดทำรายงานด้าน CSR รวมทั้งแนะแนวทางการเลือกตัวบ่งชี้การดำเนินงานที่เหมาะสมกับองค์กร การรวบรวมข้อมูลเพื่อการรายงาน การตรวจสอบบริบทความยั่งยืน การตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล และการประเมินระดับของการรายงานตามกรอบของ GRI
“กิจการที่ทำดี แต่การสื่อสารเผยแพร่ข้อมูลไม่ได้มาตรฐานก็จะทำให้คุณค่าด้อยลง สถาบันไทยพัฒน์จึงได้ศึกษาสถาบันต่างๆ ที่มีเครื่องมือในการจัดการข้อมูลและมีการเผยแพร่ที่ดีก็พบว่าหลักเกณฑ์ของ GRI น่าสนใจมาก”
สำหรับโครงการ CSR DAY ในเฟสที่ 4 ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และ บมจ. บางจากปิโตรเลียม ซึ่งมีผลงานโดดเด่นในการดำเนินงานด้าน CSR และได้รับรางวัล CSR AWARDS จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาแล้วทั้งสองแห่ง
ส่วน พีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ซึ่งให้การสนับสนุนโครงการนี้ เล่าให้ฟังว่า “ผลจากการจัดกิจกรรมในโครงการ CSR DAY 3ระยะที่ผ่านมา ช่วยให้เกิดช่องทางการมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ขององค์กร ตั้งแต่ การสำรวจกิจกรรม CSR ในระดับบุคคล การนำเสนอกิจกรรม CSR ระดับองค์กร เป็นผลให้เกิดความผูกพันร่วมในหมู่พนักงาน (Employee Engagement) ซึ่งเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนงาน CSR ให้สำเร็จ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร”
ขณะที่ วัฒนา โอภานนท์อมตะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า กระแสการยอมรับในระดับนานาชาติยุคปัจจุบันต้องการคบค้ากับองค์กรที่ไม่ได้มุ่งทำกำไรสูงสุด แม้การบริหารให้กิจการเจริญเติบโตก็จำเป็น แต่ต้องคำนึงถึงการสร้างคุณค่าแก่สังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย การมุ่งแต่กำไรสูงสุดอย่างยุคอดีตจะไม่เป็นที่ยอมรับ
“โครงการ CSR DAY เฟสที่ 4 นี้ บางจากได้ให้การสนับสนุนต่อเนื่อง ซึ่งมุ่งกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัท หรือ Directors Program ในลักษณะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้นเรื่องความเข้าใจหลักการและขอบเขตของ CSR การวางนโยบาย CSR ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจการ และแนวปฏิบัติ CSR ที่เหมาะสมกับองค์กร”
ข้อคิด...
นับเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีในการขับเคลื่อนแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือ CSR ที่สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ สถาบันไทยพัฒน์ มีเป้าหมายให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นดำเนินกิจการในแนวทาง CSR ซึ่งผลลัพธ์ปลายทางก็คือ “ความยั่งยืน”
แนวทางนี้คือ การรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการ (CSR-in process) แปลว่าทั้งกลยุทธ์และกลวิธีดำเนินการของธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมจะคำนึงถึงการสร้างคุณค่า และไม่สร้างผลกระทบที่เสียหายต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในกิจการ และภายนอกกิจการ
เรียกว่า บริหารจัดการด้วยความเก่งและดี
แนวทางเช่นนี้ก็จะได้ใจ เป็นที่น่าเชื่อใจของนักลงทุน และยังเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมและธุรกิจอีกด้วย
เมื่อการขับเคลื่อน 3 ระยะแรกมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการมี CSR ขององค์กรแก่พนักงานผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการ และผู้ดำเนินกิจกรรม CSR แล้ว เพื่อไม่ให้เรื่อง CSR ไปตกหนัก หรือเป็นภารกิจเฉพาะฝ่ายสื่อสารองค์กร หรือประชาสัมพันธ์
การเดินหน้า เฟส 4 ที่มุ่งไปที่กรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงก็ยิ่งจำเป็น เพื่อให้ตระหนักรู้ว่า โลกยุคนี้ให้ความสำคัญกับการบริหารกิจการด้วยการมี CSR อยู่ในอุดมการณ์ขององค์กร ผู้บริหารระดับสูงจะได้ปูธงนำ และสนับสนุนการแสดงจุดยืนการบริหารกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่จะสร้างผลลัพธ์ 3 มิติ ทั้งด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
เมื่อมีหลักสูตร “การบริหารความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” และแนะแนวการจัดทำ “รายงานด้าน CSR” เพื่อเผยแพร่ต่อสังคม หัวข้อการเขียนและตัวชี้วัดในการประเมินผลก็จะเป็นแนวทางกำกับแนวทางการปฏิบัติขององค์กรไปในตัว
เพราะถ้าไม่ทำจริงจะมีอะไรไปรายงานล่ะ!
กระบวนการนี้จึงนำไปสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) ที่กำลังเป็นเป้าหมายขององค์กรธุรกิจชั้นนำระดับโลก
suwatmgr@gmail.com
รายงานที่ว่านี้ ตามกระแสโลกที่มองในมิติผลลัพธ์ของ CSR จะเรียกว่า “รายงานเพื่อความยั่งยืน” โดยใช้หัวข้อและตัวชีวิตตามแนวการรายงานระดับสากลของ Global Reporting Initiative (GRI) ซึ่งมีการปรับปรุงใหม่เป็นฉบับ 3.1
นี่เป็นบทบาทริเริ่มของสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) หน่วยงานในสังกัดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสถาบันไทยพัฒน์ ได้ร่วมกันเดินหน้าโครงการ CSR DAY อย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายผลจากการจัดอบรมให้ความรู้ด้าน CSR แก่องค์กรธุรกิจต่างๆ มาแล้วกว่า 300 ครั้ง และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 12,000 คน ใน 3 เฟส ที่ผ่านมา
เริ่มต้นจากเฟส 1 เมื่อปี 2552 นั้นเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่อง CSR เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความคิดและมีส่วนร่วม หรือ “Employee Engagement”
พอมาเฟส 2 ก็เป็นการให้ความรู้ด้าน CSR แก่ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัท โดยจัดเป็น “Directors Program” และเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3 ก็มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ ISO 26000 และการจัดทำรายงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือรายงานแห่งความยั่งยืน ทั้งแก่บริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำหรับโครงการ CSR DAY เฟส 4 แกนนำการจัดกิจกรรมคาดว่าจะมีผู้บริหารกิจการเข้าร่วมเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 100 แห่ง และนอกจากกิจกรรมที่ออกแบบไว้สำหรับพนักงานและผู้บริหารทั้ง 2 ระดับที่ต่อเนื่องมาจาก 3 เฟสแล้ว ในรอบปี 2555-2556 จะครอบคลุมการเข้าให้คำปรึกษาเชิงลึกในการจัดทำรายงานเพื่อความยั่งยืน ให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรการเขียนรายงานด้าน CSR มาแล้วจำนวน 20 บริษัท และจะเปิดรับบริษัทจดทะเบียนที่สนใจจะเข้าร่วมการจัดทำรายงานเพิ่มเติมอีก 20 บริษัทในต้นปี 2556 เพื่อให้องค์กรสามารถริเริ่มจัดทำรายงานฉบับแรก ตามกรอบการรายงานสากลของ GRIฉบับ 3.1 ด้วย
งานนี้ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า ทีมที่ปรึกษาที่ได้รับการอบรมและรับรองจาก GRI พร้อมจะให้คำปรึกษาแก่บริษัทจดทะเบียน ให้มีความรู้ความเข้าใจและความพร้อมในการจัดทำรายงานด้าน CSR รวมทั้งแนะแนวทางการเลือกตัวบ่งชี้การดำเนินงานที่เหมาะสมกับองค์กร การรวบรวมข้อมูลเพื่อการรายงาน การตรวจสอบบริบทความยั่งยืน การตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล และการประเมินระดับของการรายงานตามกรอบของ GRI
“กิจการที่ทำดี แต่การสื่อสารเผยแพร่ข้อมูลไม่ได้มาตรฐานก็จะทำให้คุณค่าด้อยลง สถาบันไทยพัฒน์จึงได้ศึกษาสถาบันต่างๆ ที่มีเครื่องมือในการจัดการข้อมูลและมีการเผยแพร่ที่ดีก็พบว่าหลักเกณฑ์ของ GRI น่าสนใจมาก”
สำหรับโครงการ CSR DAY ในเฟสที่ 4 ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และ บมจ. บางจากปิโตรเลียม ซึ่งมีผลงานโดดเด่นในการดำเนินงานด้าน CSR และได้รับรางวัล CSR AWARDS จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาแล้วทั้งสองแห่ง
ส่วน พีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ซึ่งให้การสนับสนุนโครงการนี้ เล่าให้ฟังว่า “ผลจากการจัดกิจกรรมในโครงการ CSR DAY 3ระยะที่ผ่านมา ช่วยให้เกิดช่องทางการมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ขององค์กร ตั้งแต่ การสำรวจกิจกรรม CSR ในระดับบุคคล การนำเสนอกิจกรรม CSR ระดับองค์กร เป็นผลให้เกิดความผูกพันร่วมในหมู่พนักงาน (Employee Engagement) ซึ่งเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนงาน CSR ให้สำเร็จ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร”
ขณะที่ วัฒนา โอภานนท์อมตะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า กระแสการยอมรับในระดับนานาชาติยุคปัจจุบันต้องการคบค้ากับองค์กรที่ไม่ได้มุ่งทำกำไรสูงสุด แม้การบริหารให้กิจการเจริญเติบโตก็จำเป็น แต่ต้องคำนึงถึงการสร้างคุณค่าแก่สังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย การมุ่งแต่กำไรสูงสุดอย่างยุคอดีตจะไม่เป็นที่ยอมรับ
“โครงการ CSR DAY เฟสที่ 4 นี้ บางจากได้ให้การสนับสนุนต่อเนื่อง ซึ่งมุ่งกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัท หรือ Directors Program ในลักษณะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้นเรื่องความเข้าใจหลักการและขอบเขตของ CSR การวางนโยบาย CSR ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจการ และแนวปฏิบัติ CSR ที่เหมาะสมกับองค์กร”
ข้อคิด...
นับเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีในการขับเคลื่อนแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือ CSR ที่สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ สถาบันไทยพัฒน์ มีเป้าหมายให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นดำเนินกิจการในแนวทาง CSR ซึ่งผลลัพธ์ปลายทางก็คือ “ความยั่งยืน”
แนวทางนี้คือ การรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการ (CSR-in process) แปลว่าทั้งกลยุทธ์และกลวิธีดำเนินการของธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมจะคำนึงถึงการสร้างคุณค่า และไม่สร้างผลกระทบที่เสียหายต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในกิจการ และภายนอกกิจการ
เรียกว่า บริหารจัดการด้วยความเก่งและดี
แนวทางเช่นนี้ก็จะได้ใจ เป็นที่น่าเชื่อใจของนักลงทุน และยังเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมและธุรกิจอีกด้วย
เมื่อการขับเคลื่อน 3 ระยะแรกมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการมี CSR ขององค์กรแก่พนักงานผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการ และผู้ดำเนินกิจกรรม CSR แล้ว เพื่อไม่ให้เรื่อง CSR ไปตกหนัก หรือเป็นภารกิจเฉพาะฝ่ายสื่อสารองค์กร หรือประชาสัมพันธ์
การเดินหน้า เฟส 4 ที่มุ่งไปที่กรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงก็ยิ่งจำเป็น เพื่อให้ตระหนักรู้ว่า โลกยุคนี้ให้ความสำคัญกับการบริหารกิจการด้วยการมี CSR อยู่ในอุดมการณ์ขององค์กร ผู้บริหารระดับสูงจะได้ปูธงนำ และสนับสนุนการแสดงจุดยืนการบริหารกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่จะสร้างผลลัพธ์ 3 มิติ ทั้งด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
เมื่อมีหลักสูตร “การบริหารความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” และแนะแนวการจัดทำ “รายงานด้าน CSR” เพื่อเผยแพร่ต่อสังคม หัวข้อการเขียนและตัวชี้วัดในการประเมินผลก็จะเป็นแนวทางกำกับแนวทางการปฏิบัติขององค์กรไปในตัว
เพราะถ้าไม่ทำจริงจะมีอะไรไปรายงานล่ะ!
กระบวนการนี้จึงนำไปสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) ที่กำลังเป็นเป้าหมายขององค์กรธุรกิจชั้นนำระดับโลก
suwatmgr@gmail.com