การสัมมนา CSR Thailand 2012 ประจำปีนี้ กำหนดหัวเรื่องว่า “License to operate : ปรับให้ทัน...สังคมเปลี่ยน” นับเป็นบทบาทที่ CSR Club ของสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยใช้เวทีนี้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลจากการอภิปรายเพื่อกระตุ้นการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมธุรกิจ และทัศนคติผู้บริโภคที่มีแนวโน้มในการเลือกสนับสนุนธุรกิจที่มี CSR ครบเครื่อง
ผมเชื่อว่าต้องมีคนสงสัยแน่ว่า CSR มันไปเกี่ยวอะไรกับ License to operate หรือ “ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ”
แต่น่าจะหายสงสัยเมื่อเข้าใจว่านี่เป็นคำเปรียบเปรยในมิติ “ผลลัพธ์” ของการที่กิจการธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) คือกระบวนการต่างๆ ในการทำธุรกิจ เช่นการลงทุน การผลิต การขนส่ง และการตลาด ล้วนคำนึงถึงการสร้างคุณค่าและไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมซึ่งหมายถึงผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือที่เรียกว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” (Stakeholders) ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า (ซัพพลายเออร์) ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้วยคุณลักษณะขององค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ที่เริ่มจากภายในกระบวนการ (CSR-in process) เช่นนี้ก็จะบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาลมุ่งให้เกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพ และคุณธรรม โดยให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ใน 3 มิติ ได้แก่ ผลดีทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่กำหนดในนโยบายและยุทธศาสตร์องค์กร
ขณะเดียวกันองค์กรประเภทนี้ก็ยังมีกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ที่มิได้หวังผลทางธุรกิจ (CSR-after process) เช่น การบริจาคเงิน หรือสิ่งของเพื่อการศึกษา กีฬา วัฒนธรรม ช่วยเหลือสังคมผู้ด้อยโอกาส หรือโครงการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
องค์กรที่มีความ “เก่งและดี” จนเป็นที่ยอมรับของสังคมเช่นนี้แหละก็เป็นที่ยอมรับและสนับสนุนจากผู้บริโภค และนักธุรกิจ นักลงทุน ประหนึ่งว่าเป็น “กิจการที่สังคมอยากให้มีอยู่”
เราจึงเห็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวนหนึ่งมีมูลค่าแบรนด์องค์กร (Corporate Brand Value) สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีมาก ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นความนิยมเชื่อถือของสังคมธุรกิจที่มีต่อคุณค่ากิจการนั่นเอง
บนเวทีอภิปรายตอนหนึ่ง ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ได้จุดประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับพัฒนาการของบทบาท CSR ว่า
“เมื่อ 10 ปีที่แล้ว คนมักพูดว่า CSR เป็นเรื่องของความสมัครใจ แต่มาถึงวันนี้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดถือเป็นหัวข้อขั้นพื้นฐานหนึ่งในหลักเกณฑ์ CSR”
แนวโน้มของการผนวกหลัก CSR เข้าไปในกระบวนการดำเนินธุรกิจ และเกณฑ์คุณภาพผลิตภัณฑ์
“เราจะปฏิเสธว่า CSR กับกระบวนการทางธุรกิจแยกกันไม่ได้อีกต่อไป”
ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า บริษัท หรือ องค์กรธุรกิจได้นำเอาบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไปมาพิจารณาปรับแนวทางการบริหารกิจการหรือไม่ ?
เพราะทุกวันนี้ เหตุปัจจัยการที่องค์กรธุรกิจต้องแสดงให้สังคมเห็นว่ามี CSR อย่างจริงใจ คือ มีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่เกิดจากแรงกดดันของภาคประชาสังคม หรือ เอ็นจีโอ เท่านั้น
แต่สังคมธุรกิจยุคใหม่ ทั้งผู้บริโภค คู่ค้า หรือซัพพลายเออร์ หรือแม้แต่พนักงาน และผู้ถือหุ้น ก็มีแนวโน้มมากขึ้นในการตั้งคำถามถึงความเป็นกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม หรือมี CSR แค่ไหน เพื่อเป็นตัวเลือกในการคบ-ค้าด้วย
ปรากฎการณ์เช่นนี้ ผู้ส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศในประชาคมยุโรปเริ่มรับรู้แล้วว่า ธุรกิจที่เป็นลูกค้าจะไม่สั่งซื้อหากไม่มีสิ่งยืนยันความมีมาตรฐานคุณภาพและมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ ความมี CSR
กระแสความตื่นตัวของผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าจากผู้ผลิตที่มี CSR จะเป็นพลังกดดันให้ผู้ประกอบธุรกิจเห็นคล้อยตามในการเลือกคบ-ค้ากับธุรกิจที่ดี ซึ่งกำลังส่งสัญญาณไปในระดับโลกและจะเริ่มมีผลกระทบในประเทศไทยให้เข้าสู่วิถีทาง “ผู้ใฝ่ดี” เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมและลดวิกฤตของสภาวะแวดล้อม
ผมเชื่อว่าต้องมีคนสงสัยแน่ว่า CSR มันไปเกี่ยวอะไรกับ License to operate หรือ “ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ”
แต่น่าจะหายสงสัยเมื่อเข้าใจว่านี่เป็นคำเปรียบเปรยในมิติ “ผลลัพธ์” ของการที่กิจการธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) คือกระบวนการต่างๆ ในการทำธุรกิจ เช่นการลงทุน การผลิต การขนส่ง และการตลาด ล้วนคำนึงถึงการสร้างคุณค่าและไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมซึ่งหมายถึงผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือที่เรียกว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” (Stakeholders) ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า (ซัพพลายเออร์) ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้วยคุณลักษณะขององค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ที่เริ่มจากภายในกระบวนการ (CSR-in process) เช่นนี้ก็จะบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาลมุ่งให้เกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพ และคุณธรรม โดยให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ใน 3 มิติ ได้แก่ ผลดีทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่กำหนดในนโยบายและยุทธศาสตร์องค์กร
ขณะเดียวกันองค์กรประเภทนี้ก็ยังมีกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ที่มิได้หวังผลทางธุรกิจ (CSR-after process) เช่น การบริจาคเงิน หรือสิ่งของเพื่อการศึกษา กีฬา วัฒนธรรม ช่วยเหลือสังคมผู้ด้อยโอกาส หรือโครงการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
องค์กรที่มีความ “เก่งและดี” จนเป็นที่ยอมรับของสังคมเช่นนี้แหละก็เป็นที่ยอมรับและสนับสนุนจากผู้บริโภค และนักธุรกิจ นักลงทุน ประหนึ่งว่าเป็น “กิจการที่สังคมอยากให้มีอยู่”
เราจึงเห็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวนหนึ่งมีมูลค่าแบรนด์องค์กร (Corporate Brand Value) สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีมาก ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นความนิยมเชื่อถือของสังคมธุรกิจที่มีต่อคุณค่ากิจการนั่นเอง
บนเวทีอภิปรายตอนหนึ่ง ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ได้จุดประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับพัฒนาการของบทบาท CSR ว่า
“เมื่อ 10 ปีที่แล้ว คนมักพูดว่า CSR เป็นเรื่องของความสมัครใจ แต่มาถึงวันนี้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดถือเป็นหัวข้อขั้นพื้นฐานหนึ่งในหลักเกณฑ์ CSR”
แนวโน้มของการผนวกหลัก CSR เข้าไปในกระบวนการดำเนินธุรกิจ และเกณฑ์คุณภาพผลิตภัณฑ์
“เราจะปฏิเสธว่า CSR กับกระบวนการทางธุรกิจแยกกันไม่ได้อีกต่อไป”
ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า บริษัท หรือ องค์กรธุรกิจได้นำเอาบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไปมาพิจารณาปรับแนวทางการบริหารกิจการหรือไม่ ?
เพราะทุกวันนี้ เหตุปัจจัยการที่องค์กรธุรกิจต้องแสดงให้สังคมเห็นว่ามี CSR อย่างจริงใจ คือ มีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่เกิดจากแรงกดดันของภาคประชาสังคม หรือ เอ็นจีโอ เท่านั้น
แต่สังคมธุรกิจยุคใหม่ ทั้งผู้บริโภค คู่ค้า หรือซัพพลายเออร์ หรือแม้แต่พนักงาน และผู้ถือหุ้น ก็มีแนวโน้มมากขึ้นในการตั้งคำถามถึงความเป็นกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม หรือมี CSR แค่ไหน เพื่อเป็นตัวเลือกในการคบ-ค้าด้วย
ปรากฎการณ์เช่นนี้ ผู้ส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศในประชาคมยุโรปเริ่มรับรู้แล้วว่า ธุรกิจที่เป็นลูกค้าจะไม่สั่งซื้อหากไม่มีสิ่งยืนยันความมีมาตรฐานคุณภาพและมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ ความมี CSR
กระแสความตื่นตัวของผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าจากผู้ผลิตที่มี CSR จะเป็นพลังกดดันให้ผู้ประกอบธุรกิจเห็นคล้อยตามในการเลือกคบ-ค้ากับธุรกิจที่ดี ซึ่งกำลังส่งสัญญาณไปในระดับโลกและจะเริ่มมีผลกระทบในประเทศไทยให้เข้าสู่วิถีทาง “ผู้ใฝ่ดี” เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมและลดวิกฤตของสภาวะแวดล้อม