xs
xsm
sm
md
lg

ถ้าหากเรา “นอนน้อย” จะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เราทุกคนต่างก็ย่อมรู้ดีว่า การนอนหลับให้เพียงพอนั้น จะช่วยให้ร่างกายมีทั้งความสดชื่น และพลังงานที่จะทำให้เราใช้ชีวิตประจำวันต่อไปได้อย่างไม่มีปัญหาได้ แต่หากเกิดเหตุที่ไม่สามารถทำให้นอนหลับได้อย่างเต็มอิ่มล่ะ จะเกิดผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง บอกเลยว่า ผลเสียจากการอดนอนนั้น มีหลายโรคตามมาเลยล่ะ

โรคอ้วน

การนอนน้อยจะทำให้ระบบเจริญเติบโตแปรปรวน ทำให้อิ่มช้า และมีความอยากอาหารที่มีไขมันมากขึ้น ซึ่งภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญ จึงสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา

โรคเบาหวาน

หากเรามีการนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน จะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลินในเลือดที่สูงขึ้น โดยโรคดังกล่าวนี้ จะเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการอะไรบ่งบอกมาก่อน จากนั้นก็ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ก็จะไม่ทราบว่าเป็นเบาหวาน จนกระทั่งโรคดำเนินไปมากแล้วจึงจะรู้ตัว ซึ่งนั่นก็อาจจะทำให้สายเกินไปก็ได้

โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง

การนอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ในวันต่อมาลดลง โดยมีการศึกษาพบว่าการนอนน้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวันในเด็กและวัยรุ่นสัมพันธ์กับการเรียนรู้คณิตศาสตร์และภาษาที่ลดลง ทำให้สมาธิลดลงความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียมากขึ้น และยังสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าด้วย นอกจากนี้การนอนหลับยังสัมพันธ์กับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

ขณะเดียวกันการนอนหลับไม่เพียงพอก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนลดลง และในระยะยาว มีการศึกษาว่าทำให้เกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน เป็นสาเหตุของโรคเบาหวานและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันในอนาคตได้

โรคหัวใจ

การนอนน้อยหรือนอนไม่เพียงพอ จะทำให้มีความดันเลือดสูงมากผิดปกติ มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากถึง 2 เท่า

โรคงูสวัด

ถ้าหากมีการพักผ่อนน้อย ก็อาจจะทำให้เชื้อไวรัสสามารถแทรกซึมเข้าไปในร่างกาย ในช่วงที่อ่อนแอได้ ซึ่งไวรัสที่มีชื่อว่า วาริเซลลา นี่เอง จะเข้าไปในช่วงที่ว่านี้ ซึ่งเมื่อไวรัสเข้าไปในปมประสาทแล้ว ก็จะถูกกระตุ้นในช่วงที่นอนน้อย จนทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้ในที่สุดนั่นเอง


เคล็ดลับที่ทำให้นอนดีขึ้น

- ออกกำลังกายในช่วงเย็น อย่างน้อยซักประมาณ 30 นาที หรือ 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน

-ลองกินกล้วยหอมสักผล เพราะมีกรดอะมิโน ที่ชื่อว่าทริปโตเฟน ที่มีส่วนช่วยคลายเครียดลดความกังวล

-หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก และ อาหารที่มีรสเผ็ดหรืออาหารหวานมาก และควรงดอาหารอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมงก่อนนอน

-งดการสูบบุหรี่ เพราะผลของนิโคตินจะทำให้เกิดการหลับยาก และตื่นบ่อย

- เข้านอนให้เป็นเวลา ไม่ควรนอนดึกมาก โดยระยะเวลาที่ควรเข้านอนคือ 21.00-23.00 น. รวมถึงตื่นนอนให้เป็นเวลาด้วย

-เข้านอนเมื่อร่างกายพร้อมที่จะนอน เข้านอนเมื่อรู้สึกง่วง ไม่อยู่ในภาวะตึงเครียด หรือไม่ฝืนนอน

-ควรจัดระเบียบห้องนอน และกำจัดสิ่งรบกวน เพื่อส่งผลต่อการนอนที่ดี

- ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจก่อนนอน อาจจะเป็นการอาบน้ำอุ่น เดินเบา ๆ ไปมา หรือ นั่งสมาธิ

-สิ่งนี้สำคัญมากที่สุด คือหลีกเลี่ยงกาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มกระตุ้นประสาททุกชนิด 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะสิ่งนี้อาจจะทำให้เกิดการนอนหลับที่ยากขึ้นได้นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์ และ ramachannel.com


กำลังโหลดความคิดเห็น